หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
ประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี
เรื่อง : อริยสัจสี่

             คุณครูวีระได้อาราธนานิมนต์อาตมาเนี่ย ปรารภถึงเรื่องอริยสัจ พอเป็นแนวที่พวกเราผู้ฟังทั้งหลายฟังเข้าใจง่าย ๆ และปฏิบัติง่าย ๆ คำที่ว่าอริย ตัวนี้แปลว่าปราบ ยะตัวนี้แปลว่าข้าศึกสัจจะแปลว่าของจริงของจริงที่เป็นเหตุ จะให้ผู้ปฏิบัติเข้าไปถึง เป็นพระอริยเจ้า คำที่ว่าเป็นพระอริยเจ้า ก้อย่างที่แปลให้ฟังว่า อร แปลว่าไปปราบ ยะแปลว่าข้าศึกเมื่อปฏิบัติเข้าไปถึงแล้ว จะเป็นผู้ปราศจากข้าศึก ที่นี้คำว่าสัจจะคือของจริง มรรคคือทางที่ปฏิบัติให้ไปเสียจากทุกข์ นี้ก็เป็นจริง นิโรธคือผลของการปฏิบัติถึง เรียกว่าความดับทุกข์ก็เป็นของจริง คำที่ว่าทุกข์กับสัจก็เป็นของจริงนี้ ทุกข์กับสัจมันเป็นของจริงมีอยู่ในโลกนี้ แต่คำที่ว่าทุกข์กับสัจจะหรือทุกขสมุทัย ทุกขสัจทุกข์สมุทัยนี้ ถ้าจะพูดแล้วก็อาจจะกินใจความกว้างหรือเกินยืดยาวเหมือนกันนั่นแหละ อย่างเราเกิดมาอาศัยอะไรเป็นเครืองนำพาจึงเป็นเหตุให้เกิดเมื่อมีเดแล้วต้องมีทุกข์ ถ้าเราจะว่ากันไปทำนองนี้มันก็ยืดยาว แต่อยากจะพูดโดยเฉพาะ อย่างพระพุทธอริยเจ้าท่านสอนกันในยุคสมัยครั้งพุทธกาล ท่านหมายคำที่ว่า ทุกขสมุทัย คือสมุทัยเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ อย่างสมุทัยมาจากไหน โคตรของสมุทัยก็คือตัณหาสาม ตัณหาทั้งสามนั้นแหละเป็นโคตรใหญ่ของสมุทัย แต่เมื่อจะพูดกันโดยส่วนรวมแล้วก็ได้แก่อาสวะกิเลศเครื่องดองจิตนั่นแหละ วนอาสวะกิเลสเครืองดองจิตและตัณหามาจากไหน ก็มาจากอวิชชา อวิชชาตัวนี้แหละมันเป็นตัวห่อจิต ทำให้จิตมืดไม่มีประภัสสรไม่มีปัญญา ตัวนี้เป็นตัวเหตุใหญ่ เป็นต้นตอเป็นฐานรองรับจิตรเพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงได้สอนให้บรรดาผู้ปฏิบัติทั้งหลาย ผู้ต้องการอยากจะหนีทุกข์ ให้พิจารณาให้เห็นทุกข์ คำที่ว่าทุกข์ คำที่ว่าทุกข์มันก็ทุกข์ในกาย และก็มีทุกข์ในทางจิต อย่างทุกข์ในทางกายพวกเราก็คงพอมองเห็นได้ชัดว่า ทุกข์สัจที่มีอยู่ในทางกายของเรานี้ อาตภาพร่างกายมันเป็นก้อนทุกข์ มันทุกข์ยังไงบ้างไม่ต้องพูดมากก็เข้าใจกันอยู่แล้วว่ามันทุกข์ มันทุกข์เนื่องจากว่ามันมีโรคภัยไข้ป่วยอะไรต่าง ๆ เมื่อมันปรากฏขึ้นแล้วมันก็เป็นทุกข์ ตัวอย่างพระพุทธเจ้าท่านบอกว่า จักขุโรโคมีตาก็ย่อมมีโรค เมื่อมีโรคมันก็เป็นไปเพื่อทุกข์มีอย่างนี้ จนกระทั่งโสตะ โรโคมีหูมันก็มีโรคก็เช่นกัน กายะโรโคมีจมูกมันก็มีโรค ชิวามีลิ้นมีปากมันก็มีโรค กายะโรโคมีอาตภาพร่างกายมันก็ย่อมมีโรค ยังไปถึงมโนโรโคมีดวงจิตรใจก็ยังมีโลกเสียอีก โรคของจิตใจมันก็เป็นไปอีกอย่างหนึ่ง เมื่อเล่ากันถึงเรื่องโรคที่ปรากฏเกิดขึ้นมันไม่ใช่ของสบาย มันเป็นของทุกข์พวกเราก็มองเห็นชัดประจักษ์ที่เดียว อันนี้จึงว่าร่างกายนี้เป็นก้อนทุกข์ อย่าว่าเพียงว่าแต่ร่างกายของเราเป็นก้อนทุกข์เพียงนี้เลย แม้แต่สิ่งประกอบที่จะช่วยเหลือให้ร่างกายเนี่ย เป็นไปหรือมีชีวิติหรือมีสภาวะธาตุทั้งหลายที่ประชุมกันอยู่นี้ ไม่ใช่แยกความสามัคคีกันหรือถูกดูดอย่างหนึ่งว่าไม่ให้แตกสลาย มันก็เป็นของอยาก
            ตัวอย่างบรรดาพวกเราทุกท่านที่มุ่งหวังอยากจะบำรุงร่างกายซึ่งเป็นเครื่องมือของพวกเรา ซึ่งจะประกอบในสิ่งที่เราต้องการนี้ให้คงที่ ให้เป็นเครื่องมือที่ดีสมกันกับแก่งาน หรือเมื่อประกอบงานแล้วให้สำเร็จลุล่วงไป เมื่อพวกเราผู้ต้องการอย่างนี้จำเป็นที่เดียวที่จะต้องลำบาก ลำบากยังไงบ้าง แม้แต่บรรดาพระภิกษุสงฆ์ เจ้าสามเณรผู้ที่อยู่วงศ์ของพระศาสนา ถึงแม้จะมีอาชีพแปลกจากคฤหัสค์ ก็คงจะมองเห็นได้ว่า ยังประกอบด้วยทุกข์อยู่ นี้พูดถึงเรื่องทุกข์ในกาย ที่นี้ทางฆารวาสแล้วเล่า ทุกสิ่งทุกอย่างพวกเราทุกท่าน ที่พากันประกอบหรือแสวงหาเพื่อต้องการสิ่งต่าง ๆ เพื่อต้องการจะมาบำรุงให้ร่างกายนี้มีกำลังวังชา ให้เป็นเครื่องมือที่ดีประกอบในสิ่งต้องการต่อไปให้สำเร็จรุล่วงฉันนี้มันก็เป็นการที่เรียกว่าประกอบซึ่งด้วยทุกข์โดยตรงอยู่แล้ว เมื่อมองให้ชัดไปแล้ว มันเป็นทุกข์เสาะแสวงหาเครื่องอุปโภคบริโภค พูดโดยส่วนรวมแล้วก็มาอยู่ตรงนี้ อันนี้ก็แสดงให้เห็นว่าเป็นเรื่องทุกข์ เนื่องจากมีร่างกาย เมื่อเราไม่ประกอบอย่างนี้ ร่างกายที่เป็นเครื่องมือที่เราจะประกอบในสิ่งที่ต้องการนี้ ไม่มีทางใดที่สำเร็จลุล่วงไปได้ จำเป็นที่เดียวที่เราจะต้องดำเนินอย่างนี้ นี้เป็นบาทเบื้องต้น

             ที่นี้ต่อไปเล่าถึงเรื่องความทุกข์ในทางจิตใจ พระพุทธเจ้าพระองค์ก็บอกว่า การทุกข์ในทางจิตใจได้แก่พวกกิเลสตัณหา มันก่อกวนทำความเดือดร้อนอย่างพวกเรามองเห็นชัดประจักษ์ที่สุด ตัวอย่างจิตของพวกเราจะสงบลงไปไม่ได้ ก็เนื่องจากอาสวะกิเลสตัณหาเหล่านี้ มันเป็นศัตรูเป็นข้าศึกแก่ใจ เพราะเหตุนั้นพระพุทธเจ้าพระองค์จึงบอกว่า สิ่งที่ก่อกวนอยู่ ณ ภายในนี้ ท่านเปรียบเหมือนกันกับพญามาร มันคอยก่อกวนทำความเดือดร้อยให้แก่จิตใจไม่มีที่สิ้นสุด เพราะปัจจุบันจิตใจของบุคคลผู้เป็นปุชนย่อมเป็นผู้มีจิตใจอันอ่อนแอ พร้อมทั้งกำลังฝ่ายต่ำเขามีอำนาจเหนือจิตใจอีกด้วย ย่ำยีจิตใจคลายกันกับว่าให้หมดกำลังลง จิตใจก็ย่อมจำนนต่อกำลังของกิเลสตัณหา ผลสุดท้ายจิตใจก็กลายเป็นเครื่องมือของเราอีกต่อหนึ่ง เมื่อหากเป็นเครื่องมือของอำนายฝ่ายต่ำอีกต่อหนึ่งตามธรรมดาอำนาจฝ่ายต่ำก็ย่อมจะคุกคามจิตใจหรือบังคับบัญชาไปตามคำสั่งหรือสิ่งที่ต้องการของเจ้าของจิตใจอีกต่อหนึ่ง นี้จึงเป็นเหตุให้ได้ความเดือดร้อนเป็นทุกข์อยู่ที่นี้ นี้เป็นส่วนโลกของจิตใจนะ เพราะเหตุนั้นองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคพระองค์บอกว่าเมื่อเราพิจารณาเหตุแล้วว่า ตัวนี้เป็นสาเหตุใหญ่แห่งทุกข์ ตัวนี้เองเป็นตัวก่อกวนความสงบสุขไม่ให้มีความสงบสุข เพิ่มพูนความทุกข์ให้สูงขึ้น เมื่อเห็นชัดประจักษ์แล้ว องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์จึงได้วางแนวปฏิบัติเอาไว้ แนวปฏิบัติอันนั้นมีอะไรบ้าง พระองค์จึงได้บอกว่า อตัถังคิคะมรรคแปด เป็น เป็นแนวทางของพระอริยเจ้า ที่จะนำมาประกอบ อัตถังคิคะมรรคแปดได้แก่อะไร อย่างที่พวกเราได้ศึกษากัน หรือได้เทศนาสู่ฟังว่า สัมมาทิฏฐิคือความเห็นชอบ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ทั้งสองอย่างนี้ได้แก่ปัญญาที่นี้สัมมากัมมันตะ การทำการงานชอบ สัมมาวาจา เจรจาชอบ สัมมาอาชีโว เลี้ยงชีพชอบทั้งสามนี้เรียกว่าศีล ที่นี้สัมมาสติ สัมมาสมาธิกับสัมมาวายามะ เลี้ยงชีพชอบทั้งสามองค์นี้เรียกว่าสมาธิ สรุปแล้ว อัตพังคิคะมรรคแปดเนี่ยมันจะมีอยู่ในศีลสมาธิปัญญา แต่เรื่องศีลสมาธิปัญญา ศีลก็ดีสมาธิก็ดีปัญญาก็ดี จะสมบูรณ์พูนสุขขึ้นได้ก็เนื่องจากสติเมื่อบุคคลผู้ไม่มีสติอันสมบูรร์การรักษาศีลก็ไม่สมบูรณ์ เมื่อบุคคลผู้ไม่มีสติประกอบศีลให้สมบูรณ์แล้วเป็นเครื่องอุดหนุน เป็นฐานรองรับ สมาธิก็ไม่เกิด สมาธิที่จะตั้งตัยวอยู่ได้โดยสมบูรณ์จะต้องอาศัยสติเป็นตัวประคองจิตจึงจะเป็นเหตุให้เกิดปัญญา แม้แต่ปัญญาที่จะเกิดขึ้นได้สมบูรณ์ ก็ต้องอาศัยสติเป็นตัวประกอบด้วยถ้าไม่อย่างนั้นก็เกิดปัญญาไม่ได้ สรุปแล้วศีล สมาธิ ปัญญาทั้งสามจะสมบูรณ์ขึ้นมาได้ ต้องอาศัยสติเป็นตัวประกอบเป็นตัวนำ เมื่อมาได้ความชัดแล้วว่าสตินี้เป็นตัวสำคัญพระพุทธเจ้าพระองค์จึงได้สอนบรรดาพุทธมามกะ ในครั้งสมัยพระองค์ยังมีชีวิตอยู่ ให้บรรดาพวกท่านทั้งหลายเล่านั้น ได้ดำเนินในทางหลักสติ คือตัวระลึกรู้ พยายามระลึกรู้อย่างที่เคยเทศนาสู่ฟัง ระลึกทั้งอดีตและระลึกรู้ทั้งทางอดีตใกล้และให้ระลึกรู้ในปัจจุบัน ว่าสิ่งทั้งปวงที่เราทำลงไปแล้ว สิ่งทั้งปวงว่าเราพูดลงไปแล้วนะทั้งหมดนั้นท่านให้ระลึก การระลึกนั้นให้ระลึกยังไง ให้ระลึกถึงโทษและคุณท่านจึงได้ว่าหลักอย่าที่อาตมาเคยเทศนาให้ฟังในปฏิประฐานสูตรเป็นเครื่องรับรองว่า กายานุสปัสนาสติปฐาน ให้ระลึกรู้อาการเคลื่อนไหวของกายทั่วไปแต่คำที่ว่ระลึกในอาการเคลื่อนไหวของกายทั้วไปเป็นเพียงแค่นี้ ก็ไม่เห็นมีค่าพระองค์จึงสอนให้พิจารณาถึงเรื่องเวทนา เมื่อการแสดงบทบาทเช่นนี้โดยปราศจากสติแล้ว มีความเสียหายยังไงบ้าง เมื่อเราพิจารณาถึงสิ่งที่เราแสดงออกมานั้น โดยปราศจากสติ มีโทษเจือยู่นั้นรู้สึกว่าเสียใจหรือดีใจ เมื่อเราพูดออกไปสติไปได้กำกับคำพูดเรา เราพูดไปโดยธรรมชาติ ใครเอยไปถึงเรื่องอะไรก้ไปแบบลอยลมไม่มีหลักจับอย่างมั่นคงหรือไม้หลักปักขี้ควายอะไรในทำนองนี้ เมื่อหากไปเป็นอย่างนั้นคำพดของเรา มันอยู่ในกรอบแห่งพระธรรมของพระพุทธเจ้าไหม ในหลักที่พระองค์เรียกว่า สุภาษิตวาจาก็ดี สัมมาวาจาก็ดี ปิยะวาจาก็ดี คำที่ว่าสุภาษิตวาจา วาจาที่พูดโดยไม่ไร้ค่า สัจจะวาจาเป็นวาจาที่จริง ปิยะวาจาเป็นวาจาที่อ่อนหวาน ทั้งสามนี้เป็นข้อที่จะญัตติในทางวาจาเมื่อเราไม่มีสติประกอบเพ่งเรงหรอืมองหลักธรรมทั้งสามนี้เป็นเครื่องประกอบในวาจาแล้ว การพูดก็สักแต่ว่าพูดปล่อยไปโดยอารมณ์หรือพูดไปโดยอาศัยธรรมชาติ ก็ไม่เห็นจะมีค่า ก็ไม่ถูกตามหลักธรรม เมื่อเราพิจารณาคำพูดของเราที่พูด เมื่อหากเรามาพิจารณาแล้วก็มีข้อผิดพลาดอยู่มากเพราะนั่นไม่เหมาะสมกับเพศ ไม่เหมาะกับวัยไม่เหมาะสมกับฐานะก็อาจจะเลยเถิด เป็นสิ่งที่น่าเกลียดแก่ท่านผู้ฟังทั้งหลาย เมื่อเรานึกมาแล้วรู้สึกเสียใจ เป็นสิ่งที่จะมาทำความเดือดร้อนให้แก่เราและคนอื่นเพราะเหตุนั้นเวทนาคือการเสวย เมื่อเราพูดดีเราทำดีการเสวยคือสุข เราพูดชั่วเราทำชั่วการเสวยนั้นคือความทุกข์ ทุกข์สุขทั้งสองเป็นส่วนเวทนาประกอบในองค์ เพราะเหตุนั้นส่วนกายานุสสปัสนาสติปฐาน การเคลื่อนไหวของกายที่แสดงออกก็ดี วาจาที่เปล่งมาหรือบังคับออกมาด้วยกำลังของกายก็ดี อภิศัยจิตเป็นตัวสั่งก็ดี ทั้งหมดนี้อาศัยเวทนาคือเสวยเนื่องมาจากผลของการกระทำเนื่องมาจากผลของคำพูด เนื่องมาจาโทษของการกระทำ เนื่องมาจากโทษของคำพูด สิ่งทั้งปวงนั้นแลเป็นสิ่งที่เราควรจะระลึกเป็นส่วนเวทนาเข้ามาประกอบแล้ว เราจะได้อาการของเราให้เหมาะสม นี้เป็นส่วนกายานุสสปัสนาสติปัญฐาน เป็นส่วนภายในการยากายสุนปัสติวีหรติ เมื่อให้รู้ส่วนภายในแล้วให้รู้ส่วนภายนอกด้วย คำทีว่ารู้ส่วนภายนอกก็ให้รู้ส่วนของคนอื่น เขาพูดมาแล้วตั้งแต่อดีตก็ดีเราระลึกได้ เราระลึกแล้วเห็นว่าเมื่อเขาพูดดีก็ดี เขาทำดีก็ดี ปรากฏว่าเขาได้รับความชมเชยยังไงบ้าง ตัวของเขาได้รับความปิติหรือความดียังไงบ้าง ตกลงคำพูที่ชั่วการการะทำที่ชั่วมีโทษยังไงบ้าง โทษคุณในการกระทำดีกระทำชั่วพูดดีพูดชั่ว มียังไงบุคคลตั้งแต่อดีตไกล ต่อมาอดีตใกล้ ต่อมาในวันนี้ คนเขาแสดงบทบาทในชันเชิง ตลอกการกระทำออกในทางกายและพูดออกทางวาจา ซึ่งเรามองเห็นบรรดาคนอื่นที่เขาทำนั้น ในเมื่อเขาไม่มีสติจับหรือในเมื่อเขาไม่มองถึงเรื่องที่เขาทำ ว่าเขาทำนี้เขาอาศัยจุดอะไรเป็นหลักบันทัดฐาน ที่เขาขีดไว้นี้เข้าไปหาจุดอะไร เมื่อหากไม่มีสติจ้องสำหรับลากเช่น อาการของกายพร้อมวาจาเข้าสู่จุดนี้ โดยความขาดสติการพูดทั้งเผลเลอ การลุกขึ้นนั่งลง ยิบยกวางของทั้งหมด มันก็เป็นอันว่าไม่เรียบร้อยกิจการงานที่สำเร็จก็ไม่เรียบร้อย บางทีอาจจะไม่เรียบร้อยบางทีเป็นอันตรายให้รับความทุกข์หรือถ้าไม่อย่างนั้นคนอื่นที่เห็นเข้าท่านผู้เป็นนักปราชญ์บัณฑิตเมื่อท่านเห็นท่านไม่ชอบใจ แม้ตัวของเรามองเห็นก็ไม่ชอบใจ เพราะเหตุนั้นสิ่งระลึกของเห็นทั้งหมดนี้ มันจะเป็นสิ่งทำให้เป็นรั้วกั้นไม่ใหกล้าทำในสิ่งที่ชั่วพูดในสิ่งที่ชั่วนี้เป็นเรื่องของคนอื่น ตลอดคุณโทษซึ่งเป็นส่วนที่เขาจะได้เสวย เราก็นำมาประกอบนี้เป็นเรื่องของคนอื่น พระพุทธเจ้าพระองค์ท่านสอนอย่างนี้ นี้เป็นเรื่องการระลึกในการระลึกในส่วนทางกายกับวาจา แต่ที่นี้ในทางส่วนจิตใจแล้วเรา ท่านก็บอกว่า จิตตาสุสสปัสนาสติปฐาน ให้ระลึกรู้อยู่ในจิตคือตัวผู้รู้ จิตมันรู้ทั้งทางดีและทางชั่วสุขทุกข์มันรู้ สุขมันก็รู้ทุกข์มันก็รู้ มีความกำหนัดก็รู้ไม่มีความกำหนัดก็รู้ โกรธก็รู้ไม่โกรธก็รู้ มีความโลภเจตนาก็รู้ไม่โลภก็รู้ ทีมีนรับรู้นี้แหละเรียกว่าจิต คือตัวรับรู้ นอกจากรับรู้อันนี้แล้วยังรู้สิ่งต่าง ๆ ที่ผ่านเข้ามาในวิถีประสาทมีประสาทตา เมื่อกระทบกับรูป ประสาทหูกระทบกับเสียง จมูกกระทบกับกลิ่น ลิ้นกระทบรสชาติของอาหารกายถูกต้องกับสัมผัสมันก็รู้ ที่มันรับรู้นี้แหละเรียกว่าจิต เมื่อหากระลึกว่า เมื่อจิตคิดยังไงให้รู้ดีก็รู้ชั่วก็รู้เป็นบุญก็รู้เป็นบาปก็รู้ รู้เพียงแค่นี้ยังไม่มีค่า พระองค์เจ้าจึงได้สอนว่า ธัมมานุสปัสนาสติปฐานเป็นองค์ประกอบด้วย ธัมมารมณ์คือบุญกับบาป ไม่ใช่บุญไม่ใช่บาป นี้เป็นส่วนของเรามองให้เห็นชัดเพราะว่าตัวที่บัญชามันบัญชามาจากจิต เมื่อจิตสกปรกจิตไม่ดี สั่งออกมาภายนอกสกปรกไม่ดี พูดอย่างง่ายก็คือว่า เมื่อจิตไม่เป็นศีลเมื่อจิตไม่เป็นธรรม เมื่อจิตเป็นบาปการสั่งออกมาก็เป็นบาป เมื่อจิตเป็นบุญคือบุญ จิตมีศีลมีธรรมการสั่งออกมาหรือการประกอบก็เป็นไปเพื่อบุญเป็นไปเพื่อธรรมหมดเราจะมองเห็นได้ชัดเจนอย่างจิตประกอบด้วยโทสะ คำพูดก็เป็นอาการของโทสะกิริยาทางกายที่แสดงก็เป็นอาการของโทสะทั้งหมด เพราะภายนอกที่แสดงมันส่อขึ้นไปถึงภายใน เมื่อภายในไม่ดีภายนอกก็ไม่ดีนี้เป็นส่วนของเราที่มองเห็นไชัดประจักษ์ อันนี้เป็นสิ่งที่เรามองเห็นได้ชัด แม้ผู้บำเพ็ญภาวนายิ่งเห็นได้ชัดยิ่ง เมื่อจิตของเราคิดประวัติเข้าไปสู่ส่วนที่เป็นในทางกิเลส จิตนั้นจะเศร้าหมองจิตนั้นจะเป็นทุกข์ จิตนั้นจะไม่มีพลังเป็นจิตที่อ่านแอมองเห็นชัดในผู้ปฏิบัติเหลือเกิน นี้เป็นส่วนของเราเองจึงได้เรียกว่า จิตตานุสปัสนาหรือธัมมานุปัสสนาสติปฐาน ต่อจากนั้นองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าสอนให้รู้ภายในและให้รูภายนอก พระองค์จึงได้วางหลักว่า จิตตา หรือธัมมาทั้งสองนี้ ถ้าเป็นส่วนภายนอก ส่วนภายนอกนั้นได้แก่เรื่องของคนอื่นเหมือนกัน เรื่องของคนอื่นเขาก็ทำดีก็ดีเขาจะทำชั่วก็ดีเราก็มองเห็นชัด เขาทำดีหรือเขาทำชั่วเขาพูดดีหรือเขาพูดชั่ว อาการที่ทำที่พูดทั้งหมดมันไม่ใช่เป็นเพราะใจ เพราะระบบส่วนภายนอกมันประกอบกับขึ้น มันต้องมีตัวที่มีอำนาจเหนืออยู่ทีปรากฏ ณ ภายใน ส่งแสดงออกมาภายนอกจึงเป็นได้อย่างนี้ โทษทั้งหลายเหล่านี้นั้นขึ้นก็เนื่องจากตั้งภายใน คุณทั้งหลายเกิดขึ้นก็เนื่องจากตัวภายในเพราะเหตุนั้นพระพุทธเจ้าสั่งสอนให้อบรมจิตนี้ให้เป็นศีลให้เป็นธรรม ให้จิตของเรารู้ดีรู้ทางที่เป็นบาปรู้ท่างที่เป็นบุญรู้ว่าบุญนี้จะอำนวยผลให้เป็นยังไงรู้ว่าบาปนี้จะให้โทษอย่างไรให้ประจักษ์ เมื่อหาไม่ประจักษ์จิตไม่กว่าบาปจิตไม่ต้องการบุญแล้ว ถึงแม้จะบังคับให้ทำก็คงจะบังคับได้ชั่วคราวเพราะจิตไม่เข้าใจจริงจิตยังไว่ ที่จะทำให้ใจจริงรู้จริงไดจะทำยังไง ท่านก็บอกวาให้ดำเนินในมรรคาปฏิบัติ เข้ามาปฏิบัติเข้ามากำจัดสิ่งที่มันดองนำพาจิตใจของเราที่ให้เป็นไปเนี่ย ให้มันเหยีดไปหรือให้หมดไป สิ่งที่นำพาทั้งหลายได้แก่อะไร ก็ได้แก่ตัวสมุทัยสัจ ตัวสมุทัยสัจนั้นคืออะไร ตัวอย่างที่เล่าสู่ให้ฟังโคตรใหญ่ได้แก่ตัณหา พูดแล้วก็ได้แก่กิเลสอาสวะเครื่องดับจิต เครื่องทั้งหมดที่ดองจิตให้จิตทั้งหลายมีพิษสง หรือระส่ำระส่ายเป็นไปตามอำนาจของตัวสั่ง บังคับจิตให้อยู่คงที่ บังคับจิตไม่ให้เป็นไปตามอำนาจของเขาเรียกว่าผู้ปฏิบัติ คำที่ว่าปฏิบัติยกรูปเปรียบอย่างง่ายคล้ายกันกับว่า ขอโทษนะแต่ไม่ใช่ดูถูก

             สมมุติว่าในครอบครัวหนึ่งมีคุณพ่อคุณแม่เป็นผู้ปกครองเด็ก สมมุติอย่าง่ายนะสมมุติว่าอย่างคุณพ่อเป็นคนที่ไม่ดี คุณแม่ก็มองเห็นว่า ถ้าปล่อยลูกมันเป็นอย่างพ่อก็เสียหาย หรือคุณพ่อเขาชวนไปคุณแม่ก็หานะโยบายอะไรคัดค้านอะไรเหล่านี้เป็นต้น หรือคุณพ่อว่าคุณแม่ไม่ดีคุณพ่อก็หานโยบายอบรมสั่งสอนเอาลุกให้ดี พยายามหานโยบายเอาลูกเข้ามาใกล้ชิดตัวเอง จะได้อบรมสั่งสอนอะไรในทำนองนี้
            ฉันใดก็ดีในเรื่องจิต มันก็เวลานี้ตกอยู่ในอำนาจของอำนาจฝ่ายต่ำได้แก่กิเลสตัณหา แต่พระองค์เจ้าได้สอนให้บรรดาพุทธมามกะในยุคสมัยนั้นได้สร้างตะบะธรรม กำลังอันที่ดีที่จะเข้ามาปฏิบัติได้แก่ตัวสติ เมื่อหากมีตัวสติเข้าไปค้านหรือรั้งเอาไว้ ไม่ให้จิตตกไปสู่อำนาจฝ่ายตัวนั่นบังคับ เอาไว้ ๆ ให้อยู่ในอำนาจตบะธรรมคือตัวสติพยายามบังคับเอาไว้เสมอ ๆ ตัวที่มาชักชวนหรือนำพกจิตให้ลุ่มหลงให้เป็นไปตามอำนาจของมัน มันก็ดึงไปไม่ได้เมื่อหากมันสั่งจิตใจให้เป็นไปตามอำนาจของมันอย่างนั้นก็จะอ่อนกำลังลงเป็นลำดับ แล้วพวกเราผู้ปฏิบัติก็สะสมอาวุธอันมีค่าได้แก่ ธัมวุทธจากครูบาอาจารย์ หยายามหาพลสมัคอาสาได้แก่ความดีที่พวกเราสร้างสะสมอบรมเป็นพลสมัคอาสานักรบช่วยเข้าไปช่วยเป็นกำลังกำจัดสิ่งที่ไม่ดีออกจากจิตทำให้จิตของเรานี้เป็นไทขึ้นมาได้ มีอิสระเต็มที่ไม่ได้เป็นทาสใครแล้ว พร้อมทั้งอำนาจส่วนที่สร้างสมอบรมขึ้นมาเป็นเครื่องเข้าไปบวกติดให้จิตนี้มีพลังเหนือขึ้นมาได้ เนือหากสามารถทำได้อย่างนี้ก็เรียกว่าเป็นผู้ทำรายสิ่งที่ก่อกวนเป็นผู้ทำลายสาเหตุที่จะให้เกิดทุกข์ให้หมดไป เมื่อสาเหตุที่จะให้เกิดทุกข์ท่านก็เรียกว่านิโรธ เป็นผลนำโรธะปัจจัยนะคือความดับสิ้นเสียซึ่งทุกข์ ความดับไปเสียซึ่งทุกข์คือนิโรธ นิพพาน คำที่ว่าดับหรือหมดนิโรธแปลว่าดับไม่ใช่ดับหมด สุขไม่มีทุกข์ไม่มีจิตไม่มีไม่ใช่อย่างนั้น คำที่ดับได้แก่ดับอาสวะตัณหา ดับสิ่งก่อกวนสิ่งก่อกวนตามเข้ามาไม่ได้ทำลายได้หมดแล้ว เหลือแต่ดวงจิตที่บริสุทธิ์ผุดผ่องสิ่งที่เหลือเป็นคู่กับจิตนั้นเล่า พออาศัยตามพระธรรมคือตัวผู้รู้อันวิเศษ ตัวผู้รู้เป็นอันวิเศษนั้นแหละมันเข้าไปบวกอยู่กับจิต เป็นจิตผู้รู้เป็นผู้มีพลัง เป็นจิตที่เป็นไทมีอิสระในตัวเต็มที่ จิตนั้นประกอบด้วยความสุขไม่มีความทุกข์ เพราะหมดสิ่งก่อกวน ที่นี้จึงได้เรียกว่านิโรธ ที่นี้จะอธิบายย้อนหลังอีกว่า บางที่ในตำนานหรือครูบาอาจารย์ท่านอธิบายในหลักว่า อริยสัจธรรม ทั้งสี่ มีอยู่กับบุคคลทุกจำพวก ใครจะดูก็ตามไม่ดูก็ตามอริยสัจธรรมทั้งสี่ย่อมมีอยู่อย่างนั้นยกรูปเปรียบคล้าย ๆ กันกับประทีปหรือตะเกียง เมื่อจุดได้แล้วไฟยังไม่ดังใคร่จะดูก็ชั่งไม่ดูก็ตาม ไฟนั้นย่อมส่องแสงอยู่นั้นตลอดเวลา ใครจะดูไม่ดูก็ชั่งมันหากมีอยู่อย่างนั้น โดยมากในตำนานและครูบาอาจารย์ก็พูดอย่างนี้เต็มปากออกมา แต่สำหรับอาตมาเองไม่เห็นด้วย จะขอให้พวกเรานักพุทธมามกะผู้มีเหตุผลหรือว่านักเหตุผลทั้งหลายพิจารณาเอาเองสำหรับอาตมาเองนะขอพูดกันเพียงแค่นี้แยกออกเป็นสอง ทุกข์สัจกับสมุทัยสัจเหตุให้เกิดทุกข์มีอยู่ในปุถุชน แต่ส่วนมรรคปฏิปทาซึ่งเป็นอริยมรรค ของพระอริยเจ้าพร้อมนิโรธไม่มีในปุถุชน ต่อเมื่อทำการปฏิบัติเสร็จเรียบร้อยดีแล้ว สิ่งก่อกวนที่จะให้เกิดทุกข์และตัวทุกข์ไม่มีในพระอริยเจ้า พระกริยเจ้ามีนิโรธนิโรธตัวนิโรธและมรรคือตัวปัญญาเข้าไปกอบอยู่กับจิต นิโรธคือความสุขอันนั้นเป็นคู่อยู่กับจิตอันนั้นเป็นสมบัติของพระอริยเจ้า เพราะเหตุนั้นอาตมาท้าทายให้บรรดาพวกเราพิจารณาว่า ที่อาตมาเห็นองค์อริยสัจสองที่เบื้องต้น เป็นปุถุชนมีอยู่ในปุถุชนมีอยู่ในปุถุชน เป็นสัญญาลักษณ์ของปุถุชนไม่ใช่สัญญาลักษณ์ของพระอริยเจ้า แต่เมื่อพระอริยเจ้าท่านทำการปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ออกแล้ว ก็เหลืออยู่แต่องค์มรรคตัวยอดสุดเรียกว่าปัญญาจะพูดในหนึ่งก็คือสติกับปัญญา แล้วมีความสุขเป็นผลเรียกว่านิโรธแปดนี้ทีเพียงแค่นี้ ที่นี้เรื่องของพระอริยเจ้า สัญญาลักษณ์อันแท้จริงก็คือ มรรคกันนิโรธแปดเป็นสัญญาลักษณ์เครื่องหมาย เรื่องทุกข์กับสมุทัยไม่มีในท่าน ยกรูปเปรียบก็คล้ายกันกับผ้าที่มีมลทินอยู่สองจุด แต่เมื่อทำมลิทินมีจุดด่างดำเพราะจุดด่างดำหมดไปแล้วจะเอาจุดด่างดำอันเก่ามาพูดว่ามีอยู่ ๆ ก็ไม่ได้ จะเอานิมิตเดิมมาพูดว่ามี ๆ ก็ไม่ได้ เพราะว่านิมิตเดิมซึ่งที่ปรากฏอยู่สายตาอันนั้นมันตกไปแล้วมันหมดแล้ว มีเหลืออยู่แค่ว่าสัญญาความจำว่าเคยมีแต่แล้วดับแล้วบัดนี้มันไม่มี แต่เมื่อผ้าที่สกปรกอยู่ผ้าไม่สะอาดก็จัดว่าผ้าสะอาดไม่ได้ เมื่อหกซักแล้วจึงจะสะอาดผ้าที่ไม่สะอาดก็เหมือนใจปุถุชน ผ้าที่สะอาดปราศจากมลทินเหมือนจิตใจของพระอริยเจ้า ฉะนั้นความสะอาดเป็นเหมือนจิตใจของพระอริยเจ้า ความสะอาดหมดจดจึง จริงจังนะเป็นสัญญาลักษณ์ของพระพุทธ ความสกปรกของจิตมหายความว่าอาสวะกิเลสยังคุกคามอยู่เป็นสัญญาของปุถุชน แต่ความสะอาดเพียงนิดหนึ่งทำลายสังโยคได้สามตัว สังโยคคือเสนะเครื่องผูกรักหมัดอันลึกรัดแน่นหนาสามตัวตกได้แก่ สัยยะทิฏฐิ วิจิจฉา ลีสมัตถะปราต ทั้งสามอันเรียกว่าผู้สะอาดผู้สมควร เปรียบเหมือนกันกับว่าผ้าสะอาดพอสม อันนี้ก็จัดเป็นอรยเจ้าพอสมควรแต่ไม่ใช่ผู้ถึงนิพพานเป็นผุ้ตกกระแสของนิพพานนั้นเองนี้ก็มีเพียงแค่นี้ เพราะเหตุนั้นขอฝากบรรดาให้พวกเราผุ้ปฏิบัติหรือนกัเหตุผลที่มุ่มาดปรารถนาจะเป็นพุทธบริษัทแท้ เอาเหตุผลอันนี้ไปพิจารณาดูว่า ในหลักฐานที่ท่านเขียนบทคำสอนว่า อริยสัจธรรมทั้งสี่มีอยู่บุคคลทุกจำพวก จะดูก็ช่างไม่ดูก็ตามมีอยู่เหมือนกันกับตะเกียงที่จุดตั้งไว้แล้ว ใครจะดูก็ช่างไม่ดูก็ตามมันชัชวาลของมันอยู่ยังนั้นตลอดกาล อันนี้จะถูกไม่กับคำที่อาตมาว่าอริยสัจธรรมแยกออกเป็นสอง ขั้นต่ำมีสองมีทุกข์สมุทัย ทุกข์สมุทัยเป็นของปุถุชน นิโรธกับมรรคเป็นของพระอริยเจ้าเชื่อกันไม่ได้ เป็นส่วนของใครของมันอาตมาว่าอย่างนี้ แต่นั้นอาตมาขอฝากให้เราคิดกันดู นี้อาตมาอธิบายในเรื่องอริยสัจพอเค้า ๆ ถ้าอธิบายให้มากก็ยืดยาวก็เพียงแค่นี้ อาตมาขอยุติเพียงแค่นี้ เอวัง…..



หน้าแรกธรรมะ
กระดานข่าว
ลงสมุดเยี่ยม
อ่านสมุดเยี่ยม
ผู้เขียน


เชื่อมโยงกัลยานิมิตร >>
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว / สมเด็จพระมหาสมณเจ้า / พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร / พุทธประวัติ, พุทธโอวาท / ธรรมะพุทธองค์ / พุทธศิลป์ โดย อ.เฉลิมชัย / ธรรมะจากพระป่า / กองทัพธรรมพระกัมมัฏฐาน / ประวัติหลวงปู่มั่น / หลวงตามหาบัวช่วยชาติ / จังหวัดจันทบุรี / อำเภอนายายอาม / รอยยิ้มของพ่อ

เหมาะสำหรับจอภาพที่แสดงผลที่ 800 x 600 และเพื่อความสวยงามยิ่งขึ้นหากแสดงผลที่ 1024 x 768 (Microsoft Internet Explorer)
วัดเขาสุกิม
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2543

พัฒนาและออกแบบโดย นายทวีศักดิ์ รัตนคม    
ติดต่อสอบถามได้ที่ webmaster@khaosukim.org   
และทาง msn ได้ที่ hs2wjo@hotmail.com