หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
ประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี
เรื่อง : รักษาศีลทำสมาธิ

 

            ล่วงมา ๆ แล้วนะ เหลืออีกไม่กี่วันอุโบสถ ก็จะออกพรรษาแล้ว ขอให้พวกเราพยายามเถิดนะให้พยายามรีบเร่ง โดยมากพอออกพรรษาแล้ว พวกเราก็มักจะออกวัดกันไม่ค่อยมีใครเหลียวแลไม่ค่อยมีใคอยากจะมาถ้าหน้าฤดูกาลพรรษาแล้วก็เอาจริงเอาจัง แต่ถ้านอกฤดูกาลพรรษาแล้วก็ถอยกัน ไม่ค่อยใจใส่ เพระฉะนั้นในโอกาสที่เราจะรีบเร่งนี้ก็มีเวลาเหลือเพียงอีกไม่กี่วัน แต่ส่วนอื่นก็อยากจะให้เร่งทำสมาธินี้ให้มาก แต่การทำสมาธิมันก็สำคัญอยู่เหมือนกัน เพราะสมาธินี้เราต้องอาศัยศีลนี่เป็นพื้นฐานเราต้องพยายามรักษาศีลของเราไว้ให้ดี ศีลนี้สำคัญนะ จะเป็นศีล ๕ ก็ตาม ศีล ๘ ก็ตาม เพราะถ้าไม่มีศีลแล้ว ทำสมาธิไม่เกิด ศีลนี้ต้องเป็นพื้นฐานเป็นตัวนำจริง ๆ เพราะฉะนั้นควรจะรักษาศีลนี้ให้ดี ยกรูปเปรียบง่าย ๆ คล้ายกันกับว่ามีผ้าผืนหนึ่ง มันสกปรกมีสีดำสีด่างต่าง ๆ มันสกปรกนะ เราเอามาย้อม…จะซักให้สะอาดนี่สีมันกินไม่สม่ำเสมอ เราจะมองเห็นได้มันกินไม่สม่ำเสมอฉันใดก็ดี การทำสมาธิเช่นนั้นเหมือนกัน ที่นี้ถ้าผ้าเราเอาลงแฟ๊บเสียให้สะอาดขาวหมดจด ไม่มีมลทินอันใด อันไหนเจือแล้ว เราจะลงสีเหลืองสีดำแดงอะไรก็แล้วแต่ กินสม่ำเสมอแลแล้วสวยสดงดงาม อันนี้ฉันใด การกระทำสมาธิของเรา ๆ ต้องพยายามสิ่งที่เป็น อุปสรรคต่อสมาธิจิต สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อสมาธิจิตนั้นก็คือ กิเลสส่วนใหญ่ ๆ ตัวใหญ่ ๆ อันนี้มันสามารถที่จะมาป้องกันสมาธิจิตไม่ให้เกิดได้ เพราะเหตุนั้น พระพุทธเจ้าจึงสอนให้มีศีลเป็นตัวป้องกันกิเลสตัวใหญ่ ๆ เช่น โลภรุนแรง โกรธรุนแรง อะไรเหล่านี้เป็นต้น จึงได้มีศีล ๕ ศีล ๘ เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้กิเลสตัวใหญ่ ๆ นี้เกิดขึ้นก่อน แล้วจึงทำสมาธิ เมื่อเข้าไปสู่ฐานของสมาธิกิเลสตัวละเอียด ๆ ตัวปัญญาจะเข้าไปพิสูจน์ และแก้ไขปลดเปลื้องเอง หรือจะยกรูปเปรียบอีกอันหนึ่ง ก็เหมือนกันกับพวกเราผู้ทำไร่ การทำไร่นี่เขาต้องโค่นต้นไม้ใหญ่ลงเสียก่อน ถ้ามีต้นไม้ใหญ่ก็ดีเราก็เผา เผาเสร็จเรียบร้อยแล้วมีหญ้ารุ่นเกิดขึ้นนี้เขาต้องสับต่อถางให้เตียนสะอาดดีเสียก่อน จึงจะปลูกข้าวหรือถั่วริสงหรือสิ่งที่ตัวเองจะต้องปลูกลง ถ้าเราไม่ถางเราไม่ดายหญ้าเราไม่ฆ่ารุ่นก่อนเราไปปลูก ผลอันที่เราไปปลูกไม่งอกงามหรอกแดงหรือบางทีอาจจะตายไปเลยก็ได้ แต่ถ้าเราถางดีแล้วเรียบร้อยดายหญ้าทำรุ่นพรวนดินอะไร เสร็จนี้ เราปลูกแล้วมันจะงอกงามขึ้นมา แต่เราคอยพยายามระวังหญ้าอันที่จะแทรกขึ้นมาให้เสมอ จนกว่าต้นข้าวหรือต้นถั่วมันเติบโตเจริญขึ้นมาแล้ว มันสามารถที่ชะข่มไอพวกพืชต่าง ๆ ที่จะขึ้นมาแย่งอาหารไปในตัว ฉันใดก็ดี การกระทำสมาธิจิตนี้ เราต้องป้องกันความโลภอันรุนแรง ความโกรธอันรุนแรง ด้วยอำนาจของศีล ซึ่งเราวิรัติขึ้นมาแล้ว ถ้าฝ่ามือล่วงเกินก็เป็นอันว่าทำลายศีลของตัวเอง เพราะฉะนั้น จึงให้ศีลนี้เป็นกำแพงหรือรั่ว กางกั้นกิเลสตัวใหญ่ ๆ หรือบาปตัวใหญ่ ๆ ไม่ให้เกิดขึ้นก่อน เมื่อเราสามารถป้องกันบาปส่วนใหญ่แล้ว เราก็ต้องสิ่งที่มีอุปการะต่อสมาธิจิต เช่น เราทำทานการบริจาคก็ดี คำพูดอันที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่นสัตว์อื่น ก็ดี การกราบไหว้พระอภิวันทนาการนอบน้อม แด่ พระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ก็ดี สิ่งทั้งปวงนี้ย่อมเป็นอุปการะต่อสมาธิเหมือนปุ๋ย สามารถที่จะทำให้ต้นไม้ซึ่งเราปลูกงอกงาม ฉันใด สิ่งทั้งหลายเหล่านี้ก็ย่อมจะทำให้ธรรม คือ สมาธิจิตงอกงามเจริญ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น การกระทำสมาธิจิตอย่าลืมนะเรื่องศีล บางคนเข้าใจว่าไม่จำเป็น เรื่องสมาธิเป็นเรื่องของสมาธิ ศีลเป็นเรื่องของศีล คนละอันกัน ไม่ถูกเรื่องสมาธินี้ถ้าไม่มีศีลเป็นพื้นฐาน ไม่มีศีลเป็นกำแพงกั้นบาปตัวใหญ่ ๆ ไว้ก่อนแล้ว บาปตัวใหญ่ ๆ ตัวโต ๆ จะมาตัดบทตัดรอนเสียหมด ไม่ทำให้จิตของเราเป็นสมาธิได้เพราะฉะนั้นจงพยายามทำจิตของตัวเอง ให้หมดจดในส่วนศีล หมายความว่า บาปหยาบ ๆ ขอให้หมดจดไว้ก่อน แล้วจึงสมควรที่จะต้องทำสมาธิกันอีกต่อไป เพราะฉะนั้น ขอให้พยายาม
             แต่หากในเมื่ออีกอันหนึ่ง เมื่อมีเวลาว่างพอสมควร ก่อนจะกระทำสมาธินี้ขอให้เราไหว้พระเสียก่อนไหว้พระเช่นในโอกาสอันควรนะ เช่น จะเป็นตอนเช้า หรืออาจจะเป็นตอนเย็นก่อนเข้านอนอะไรเหล่านี้เป็นต้น ไหว้พระเสียก่อนไม่มากก็น้อย ให้กราบลงไป พุทโธ ธัมโม สังโฆ กล่าวนะโมตัสสะ ๓ หน เป็นการนอบน้อม แด่ องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อนได้ดี แล้วก็นั่งต่อไป แต่ไม่จำเป็นที่เราจะต้องไปว่าอะไรจนเกิดเวลายืดยาวอันนั้นไม่ควร ซึ่งท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ท่านสอนเสมอว่า การไหว้พระ การสวดมนต์ ไม่ค่อยจำเป็นเท่าไรนัก แต่ก็จำเป็นอยู่ว่า ควรทำ แต่อย่าให้มาก จนกินเวลาที่เราจะทำสมาธิของจิตเสียหมด เมื่อสวดมนต์ยืดยาวมันเหนื่อย โอกาสที่เราจะทำสมาธิจิตมันหมด การกระทำสมาธิจิตได้น้อย จิตก็ย่อมเป็นสมาธิได้ยากเมื่อผู้ใดรีบไหว้เสียย่อ ๆ พอสมควรแล้ว เข้าสมาธิ เวลาของเรายืดยาว อุบายวิธีที่จะปล้ำ หรือกล่อมจิตของเราให้เข้าสู่สมาธิ มีโอกาสอันยาวนาน ก็สามารถที่จะทำให้เป็นไปเพื่อสมาธิได้ ก็เป็นอย่างนั้น
             แต่อย่าลืมในวิธีที่จะทำสมาธินี่เป็นอุบายที่จะสร้างกำลังชนิดหนึ่ง เรียกว่า ธรรมาวุธ อาวุทธคือพระธรรม สร้างมาเพื่อประสงค์อะไร สร้างมาเพื่อจะมายุทธวิธีกับกิเลส หรือต้องการป้องกันจิตไม่ให้เชื่อมต่อภพ เพื่อต้องการจะทำลายภพของจิต ให้หมดจดจากภพซะ
ท            ี่นี้ส่วนกำลังที่จะสร้างขึ้นก็ไม่ใช่อะไรอื่นไกล สติ หมายถึงตัวคุ้มครอง ป้องกันไม่ให้จิตของเราซึ่งมันไวต่ออารมณ์วอกแวก ไปต่ออารมณ์อันเป็น อตตารมณ์ คิดมุ่งใน อนาคต ต้องการอยากจะเป็นอย่างนี้ มีความมุ่งมาดปรารถนาในสิ่งต่าง ๆ ก็ดี ในลักษณะที่จะทำความฟุ้งซ่านให้แก่เราเอง เราสร้างมาเพื่อป้องกันไม่ให้จิตของเราเป็นไปตามรูปอย่างนั้น ต้องการจะตล่อมหรือบังคับจิตของเรา เข้าสู่สมาธิจิตแน่ จมดิ่ง เข้าไปสู่สมาธิจิต เมื่อกกระแสเข้าสู่สมาธิแล้ว เราจะเห็นผลได้หลายอย่าง เสมอเพียงแค่เข้าไปสู่ลักษณะของสมาธิ ๓ ประการ เพียงแค่ประตูแรกนี้ รับรองวาทุกคนนี่ จะมีความปรารถนาอยากจะเข้าไปเสวยผลนั้นอยู่ทุกวันแน่ เพระเหตุไร เพราะว่า เมื่อเราสามารถประคองให้จิตของเราเข้าสู่สมาธิฐานต้นนี้แหม่…มันสบายจริง ๆนะ มันรู้สึกว่ามีความอิ่มในหัวอกหัวใจ แหม…..มันมีความอิ่ม ไม่อยากข้าวไม่อยากปลา ไม่อยากพูด ไม่อยากคุย กับใคร อยากจะไปหานั่งอยู่คนเดียว เพลิน….กำหนดแล้วมันอิ่มมันเต็มอยู่คนเดียวอย่างนั้นเสียด้วย ถ้าเราสามารถทำได้ดีขึ้น สติสมบูรณ์ขึ้น สามารถป้องกันจิตทุกกิริยาอาการเคลื่อนไหว ที่เข้าไปต่ออารมณ์สัญญานั้น ให้เข้าไปอยู่ในกำมือของมันได้ตลอดเวลาแล้ว จะเข้าสู่ฐานที่ ๒ ได้ จะเห็นว่ามีความเย็น แผ่ว แผ่ว แผ่ว แผ่ว ในหัวอก เย็นสบาย รู้สึกว่ามีความเบา ๆ เหมือน ๆ จะเหาะ จะลอย การนั่งนี่เหมือน ๆ ไม่ได้นั่งในพื้นหรอนะ เหมือนบอยอยู่ซักศอกสองศอกอะไรอย่างนี้เป็นต้น อันนี้เป็นอานิสงส์ซึ่งแสดงมาจากผลสมาธิอันดับที่ ๒ ถ้าเราสามารถก้าวเข้าไปสู่อันดับที่ ๓ ได้นี่ ยิ่งดีใหญ่ มันเย็นซาบซ่านไปทั่วสระพางค์กายเย็น..เหมือน ๆ ได้ยาทิพย์เข้าไปอยู่ในร่างกาย……และยังมีคล้าย ๆ กันว่า เมฆ หรือหมอกนี่ ขาว ๆ สลัว ๆ ทั่วสระพางค์กาย สวางไสวรุ่งโรจน์ ความสวางไสวรุ่งโรจน์ขาว ๆ น่ะ เหมือน ๆ ยาทิพย์ชะโลมตัวของเรา แหม...มันสบาย…มันเย็น มันซาบ..มันซ่าน..โปรง…โล่ง…ในสมองประสาท แม้แต่ ถอนสมาธิออกมาก็รู้สึก มัน โปรง โล่ง ในสมอง ไอ้สิ่งที่มันมืด ทึบ ๆ ที่มันอยู่ในสมองของเรานะมันหมดเกรี้ยงเลย คืออะไรต่ออะไรรู้สึกว่ามันแตกฉาน อะไรเหล่านี้ มันแปลกจริง ๆ เพียงแค่สมาธิ ๓ อันดับ ถ้าเราสามารถสร้าง สติ อย่างเดียวนะ ไม่มีตัวริยมัคคุเทศก์ คือตัวปัญญาญาณ เพียงแค่อาศัยสติประกงเข้าสู่จุดแห่งสมาธิ ๓ อันดับที่ยังมีอานิสงฆ์ขนาดนี้ลองดูซิ ทุกคนถ้าเข้าสู่ผลของอันนี้แล้วนี่ แหม่ มันสบายจริง ๆ นา มันสบายบอกไม่ถูก มันมีความสุขอย่างบอกไม่ถูก เมื่อทุกคนเข้าไปถึงแล้วจะรู้เองว่า อื้อฮือ..มันขนาดนี้เชียวรึนี่….อันนี้เพียงแต่ว่าผู้ที่สร้างสติอย่างเดียว สามารถกล่อมจิตของเราเข้าสู่สมาธิ ๓ อันดับก็ย่อมเห็นผลถึงขนาดนี้ ทีนี้ถ้าเราสร้างตัวปัญญา อุบายวิธีสร้างปัญญาก็ไม่ใช่อื่นไกลหรอก เราสร้างตั้งแต่ภายนอกนี่เข้าไปเรื่อย ๆ เข่น เราจะลุกขึ้นทีหนึ่ง เราจะนั่งลงทีหนึ่ง ต้องให้รู้จักการปิดป้องตัวเองว่า เราจะลุกแบบไหนเรียกว่าไม่คนอง เราจะนั่งแบบไหนเรียกว่าคนอง น่าเกลียด ซึ่งบุคคลผู้…ซึ่งมองเห็นแล้วไม่น่าเกลียด เหมาะกับเพศ หญิงก็ดีชายก็ดี จะนั่งในลักษณะไหนแบบไหนอย่างไร ต้องใช้บทวิจารณ์ และพยายามจับแต่ตัวเองให้เป็นไปตามรูปอย่างนั้นจนกระทั่ง การ ก้าว..เหิร..เดิน..นั่ง หยิบของวางของ มองซ้ายมองขวา จะพูดออกมาคำหนึ่งก็ดี พยายามคำนึงถึง ผล เสีย ผลดี อันที่จะบังเกิดขึ้น พยายามมองถึง เพศ วัย และฐานของเรา ว่าการแสดงออกนี่พอเหมาะพอดีกับ เพศ..วัย..ฐานะหรือไม่ จะเกิดหรือไม่พอดีเหล่านี้ เป็นต้น พยายามกรองหรือจัดแต่งให้เป็นไปตามรูปอย่างนี้เสมอ ๆ นี่เป็นตัวพิพากษาความ พยายามดำเนินอย่างนี้เรื่อยไป ๆ ๆ จนสามารถจับได้ทุกกิริยาอาการเคลื่อนไหว ไม่มีส่วนใดที่จะเหนือ อริยมัคคุเทศก์ ตัวจัดแต่งไปได้เลย ตัว สติ ก็พยามยามออกมาคุมการเคลื่อนไหวระลึกรู้ทุกกิริยาอาการ และตัวพิพากษาความก็คอยตัดสินความเสมอว่า การแสดงออกนี่คนองไหน เป็นไปเพื่อผลเสียหรือผลดี ประกอบด้วยโทษหรือประกอบด้วยคุณ เหมาะกับ เพศ.วัย.ฐานะ. หรือไม่ ตัวอริยมัคคุเทศก์ หรือ ตัวพิพากษาความนี่ คอยตัดสินความอยู่ตลอดเวลา ไม่ควร ห้ามทันที เมื่อควรถึงแม้ว่าจะขัดต่ออัธยาศัยกิเลสก็บังคับ เป็นอุบายวิธีสร้างปัญญา พร้อมทั้งเหตุการณ์ที่กระทบเรา จะชวนให้เรารัก จะชวนให้เราชัง เกลียด..โกรธ..ประการใดก็ตาม เราก็เอากำลัง อริยมัคคุเทศคอยก้าวกั้นหรือประหัดประหารจิตของเราไม่ให้เป็นไปตามรูปนั้น เขาชวนให้เราโกรธ เช่น เขาด่าเราก็ดี แสดงบทบาทในทางที่น่าเกลียดน่าชังก็ตาม กิริยาอาการของจิตเหตุการณ์ตามรูปของเหตุการณ์ มันเกิดเสียใจขึ้นก็ดี หรือมันเกิดดีใจขึ้น ในเหตุ อันที่จะชวนให้ดีใจก็ดี เราก็ใช้อำนาจ สติ นี่บังคับ กรึม ให้อยู่ในอำนาจนี้ก่อน แล้วก็ใช้ตัวพิพากษาความพิสูจน์ความจริงว่า เขาแสดงมาด้วยกำลังอะไร ทำไมถึงแสดงมาอย่างนี้ เราจะเห็นได้ชัดว่าแสดงมาด้วนกำลังของกิเลส เขาอยู่ใต้อำนาจของกิเลส กริยาอาการทั้งหมดที่แสดงออกเป็นไปตามรูปของกิเลสทั้งนั้นตัวของตัวเองไม่ได้บังคับทุกส่วนให้เป็นไปตามอำนาจของเราได้ อาศัยเหตุการณ์หรือกิเลสบังคับเขาให้เป็นไปตามกิริยาอาการ อาศัยเหตุการณ์หรือกิเลสกระตุ้นบังคับเขาเป็นไปตามรูปของเขาเท่านั้น เขาไม่มีวิชชา เขามีอวิชชาติดตามเป็นเครื่องปิดป้อง ไม่มีวิชชาที่รู้สภาวะความจริง สามารถจัดแต่งเขาให้เป็นไปตามรูปที่ถูกที่ควรได้ ตกต่ำอยู่ในอำนาจหรือตกอยู่ใต้อำนาจของอวิชชา เรามองเห็นเขาเหมือนกันเด็กอ่อน ๆ ที่นอนอยู่บนตักเรา อาจจะขี้ราดเราเยี่ยวรดเรา เราก็ย่อมให้อภัยเขาได้ บุคคลผู้แสดงบทบาทไม่ดีต่อเราซึ่งเป็นผู้อ่อนต่อธรรม เราก็ย่อมจะสามารถให้อภัยต่อเราได้ ไม่มีโกรธ ไม่มีเกลียด วางเฉยต่อเหตุการณ์ได้ รู้สภาวะอันนั้นว่ามาด้วยอำนาจของกิเลส รู้สภาวะทั้งหลายเหล่านั้นว่าด้วยอำนาจของกิเลส ซึ่งเขามีอำนาจจิตต่ำ ต่ำกว่ากิเลสมาก เป็นไปตามรูปกิเลสทั้งหมดเรามองถึงความเคลื่อนไหวทุกกิริยาอาการกิเลสนำพาทั้งหมด และเหตุการณ์นำพาเราก็ย่อมจะให้อภัยต่อผู้อ่อนธรรมอย่างนั้นตลอดเวลา เราก็รู้สภาวะนั้นแล้วก็วางเฉยต่อเหตุการณ์ได้ ที่รู้ต่อสภาวะถูกต้องเรียกว่าโลกทิพย์ของจิต สามารถเฉยต่อเหตุการณ์ได้เรียกว่าโลกุตระจิตนี่มันเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อุบายการสร้างตัวอริยมัคคุเทศก์สร้างตั้งภายนอกเข้าไปเป็นลำดับ ๆ ผลที่สุดแล้วจนกระทั่งจิตใจเพียงแค่กิริยาหนึ่ง ที่แสดงต่อสิ่งกระทบอันเป็น อดีต เรียกว่า อตีตารมณ์ เหตุการณ์อันที่อดีตตั้งแต่เมื่อวาน ตั้งแต่ปีกลายนี้ก็ตาม เราระลึตรึกถึงในทางที่น่าดีใจในทางที่น่าเสียใจ เพียงแค่กิริยาเดียวของจิตจะดีใจเสียใจไปตามเหตุการณ์ไม่มี เพราะตัวอริยมัคคุเทศก์นี่ตามพิสูจน์ความจริงได้ชัด ถูกต้องตามความเป็นจริง รู้สภาวะทั้งหลายเหล่านั้น ตามสภาวะตามความเป็นจริงของโลกถูกต้องหมด ก็เป็นเหตุให้จิตของเรารู้เท่า และวางเฉยต่อสิ่งทั้งหมายเหล่านั้นได้ ไม่มีหวั่นไหวต่อโลกธรรมเรียกว่าปกติหมดทุกอย่าง เพราะเหตุนั้นผู้สามารถสร้างสติ และปัญญาขึ้นมาแล้วนี่ จะจัดแต่งกิริยาอาการของตัวเองได้ทุกอย่างไม่บกพร่อง แม้แต่การประนมมือ การกราบ อยู่ในกิริยาไหนแบบไหน ไม่มีลักลั่น วันนี้กราบดีพรุ่งนี้กราบไม่ดี วันนี้พูดดีวันหน้าพูดไม่ดี การลุกวันนี้สุภาพเรียบร้อยวันหลังล็อกแล็กเหมือนลังไม่มี สม่ำเสมอตลอดเวลามองซ้ายมองขวา การลุกเหิน เดินนั่งพูดจาย่อมปกติจัดแต่งได้เรียบร้อย เรียกว่าผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ หรือผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ หรือผู้สมบูรณ์ด้วยตัวคุ้มกัน หรือ ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาหรือญาณ หรือ อริยมัคคุเทศก์ ถ้าผู้ใดสามารถทำได้อย่างนี้นั้น ไอ้เรื่องภพของจิตที่มีความรู้สึกต่อสิ่งกระทบ คือ เหตุการณ์ อันเป็นอดีตก่อตามหรืออันเป็นปัจจุบันก็ตาม ที่แสดงอยู่ไม่มีโอกาส จิตของเราจะเป็นไปตามรูปของเหตุการณ์ ดีใจไปตามเหตุการณ์ เสียใจไหตามเหตุการณ์ หัวเราะร้องไห้ไปตามเหตุการณ์ หรือ เรียกว่าภพของจิต เรียกว่าภพของจิตมันต่อกันได้ และจิตเข้าไปหาภพได้ อารมณ์หรือเหตุการณ์กระตุ้นความรู้สึกเป็นไปตามรูปของอารมณ์ หรือเหตุการณ์ได้ตลอดเวลา ถ้าเรามีกำลังส่วนตัวกางกั้งแล้วนี่ จิตของเราไม่มีโอกาสจะไปได้ เพราะตัวบังคับเหมือนจิตของเราถูกสะกดแล้ว ตัวบังคับคือสตินี่สั่งห้ามทันทีเลย หยุด ไม่ควร จิตของเราไม่มีโอกาสที่จะงอแงไปสู่เหตุการณ์นั้นได้เลย ส่วนตัวปัญญาญาณ หรืออริยมัคคุะเทศก์ รู้ต่อสภาวะเหล่านั้นถูกต้องตามความเป็นจริงแล้ว เอาเหตุผลความจริงที่รู้เห็นไปสอนจิตอีกทีหนึ่ง จิตของเราก็ยอมรับเต็มที่ ไม่มีทางที่จะงอแงต่อสู้กับความรู้อันนั้นเลย ยอมรับเลย เมื่อจิตของเรายอมรับอย่างนี้จิตของเราก็ไม่มีฤทธิ์ไม่มีเดช ไม่กำลังส่วนอื่นกระตุ้น เป็นอันว่าธรรมทั้งหลาย ๒ อย่าง คือ สติสัมปชัญญะ อำนาจตัวคุ้มกัน กับ อริยมัคคุเทศก์ เป็นมรรคะสมังคี ดีแล้ว สามารถน้อมนำจิตของเราเข้าสู่ระบบของธรรมตลอดเวลา ไอ้เรื่องกิเลสอย่าเรามีความเป็นผู้อย่างปัจจุบัน เช่น เหตุการณ์ชวนให้เราดีใจเสียใจ ก็เป็นไปตามรูปของเหตุการณ์นั้น ไม่มีโอกาสที่จะมากกระตุ้นจิตของเรา กระตุ้นนำพาจิตของเราให้เป็นไปได้
             เพราะฉะนั้น ขอให้พวกเราผู้มุ่งหวังที่จะก้าวเข้าไปสู่ความถึงที่สุดแห่งภพ จงพยายามดำเนินในอุบายวิธีดังกล่าว แล้วสร้างสติขึ้นมาโดยวิธีอย่างที่แนะนำ การเดินจงกรมเลย การนั่งทำสมาธิเอย การยืนทำสมาธิ การนอนทำสมาธิ ต้องนอนทำให้อยู่เสมอ นั่งทำให้อยู่เสมอ ให้พยายามทำให้อยู่เสมอ นั่งทำให้อยู่เสมอ เดินทำให้เสมอยืนทำให้เสมอ เมื่อเราสร้างสติของเรานี่สมบูรณ์ดีแล้วนี่ เราทดสอบทดลองได้หลายอย่าง เช่น วันนี้เรานอนในท่าสีไสยาสน์ก็ตาม เราจะไม่หวังหละ แจ๋ว..อยู่ตลอดคืน.ไม่หลับ ไม่ปรากฏว่าเคลิ้มไป จะแจ๋วแจ่มอยู่ตลอดคืน เมื่อถึงตอนเช้ามานี่ จะรู้สึกว่าไม่มีการปวดร้าวในสมอง มีการเบา โปร่ง.โล่ง เหมือน ๆ เราได้นอน อันนี้ถูกต้องอันนี้ถูกต้องแล้ว ทีนี้สติสมบูรณ์แล้ว เราก็พยายามสังเกตการเคลื่อนไหว ทุกกิริยาอาการไม่เผลอ จะไปเตะแก้วก็ดี เตะขวดก็ดี ยกของไปชนอันนี้กรอง ยกของไปขนอันนี้แกร๊งก็ดี หรือเด็กมันมาแตะตรงนั้นนิดนิดตรงนี้หน่อยจะโมโหฉุนเฉียวก็ดี ทุกกิริยาอาการเคลื่อนไหวนี่จะจับได้..หยุด.. คล้าย ๆ กับว่าคุยกันก่อนหยุดก่อนคุยกันก่อนอะไรกันแน่อย่างนี้ บาทเดียวหรืออารมณ์เดียวของจิตไม่มีทางที่กระตุ้นเราไปได้ ต้องดึงให้อยู่ในอำนาจของเราก่อน แล้วก็ใช้วิจารณ์ด้วยปัญญาญาณ นี้เรียกว่าเมื่อเรามีสติสมบูรณ์แล้ว เพียงแค่แว้บเดียวก็ดีเราสามารถจับได้ นี่.เราจะทดสอบทดลองอย่างนี้ได้ พร้อมทั้งลุกขึ้นไม่เป็นไปโดยธรรมชาติ นั่งลงไม่เป็นไปโดยธรรมชาติ หยับของวางของไม่เป็นไปโดยธรรมชาติ ตลอดการพูดการจาไม่เป็นไปโดยธรรมชาติ ย่อมสามารถจะมีส่วนตัวบังคับ คล้าย ๆ กับว่าดึงไว้ก่อน พิจารณาก่อนจึงปล่อยอย่างนี้ มันย่อมสมบูรณ์ไปเป็นลำดับ ถ้าเราสามารถทำได้อย่างนี้ก็เรียวก่าสติที่เราสร้างขึ้นมานี่สมบูรณ์แล้ว ส่วนปัญญาที่สมบูรณ์ก็อย่างว่า ทุกกิริยาอาการเคลื่อนไหวนี่ เราสามารถจัดแต่งได้หมด ให้เป็นไปตามรูปที่ถูกที่ควรได้หมด ไม่ประกอบด้วยโทษ ไม่เป็นไปด้วยความมัวหมอง ไม่เป็นไปด้วยการเบียดเบียนคนอื่นสัตว์อื่นให้ได้รับความเดือดร้อนเลย เราสามารถมองเห็นได้ชัดประจักษ์ บังคัลเข้าสู่จุดที่ถูกที่ควรหรือเป้าของเราได้ตลอดเวลา ถ้าเราทำได้อย่างนี้ก็เรียกว่าสมบูรณ์แล้ว เพราะฉะนั้น ขอจงพยายามสร้างกำลังทั้ง ๒ ขึ้นมา เพื่อจะดำเนินเราให้เข้าสู่ระบบของธรรมให้ได้ แล้วเราจะเจริญงอกงามไพบูลย์ต่อไป นี่อาตมาภาพอธิบายเหตุผลให้ฟัง ในอุบายทำสมาธิย่อ ๆ อยากจะให้พวกเราได้มีโอกาสที่จะได้ทำบ้าง เมื่อมัวแต่คุยให้ยืดยาวนักก็จะทำให้พวกเราผู้ฟังอยู่ทั้งหลายเสียเวลา จึงอยากจะทำให้เราทั้งหลายนี่ได้ไปทำ แต่สำหรับการทำสมาธินี่สอนแล้ว ว่าการเดินจงกรมทำยังไงการนั่งสมาธิทำยังไง การยืนทำสมาธิทำยังไง การนอนทำสมาธิทำยังไง สอนละเอียดละออมาก สอนไว้แล้ว พวกเราเข้าใจดีแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องสอนอีก เมื่อมัวมาหวนสอนอยู่อย่างเดียว เสมอไปนัก จะทำให้พวกเราเหน็ดเหนื่อย
             เพราะฉะนั้น ชี้แจงมาแล้วหลายวันพระแล้วก็พอที่จะเข้าใจแล้ว ก็ขอจงพยายาทนำเอาอุบายวิธีนี้ไปดำเนินและพวกเราจะได้มีความเจริญงอกงามต่อไป ในที่สุดลงแห่งการแนะนำในด้านการดำเนิน ในอุบายทางด้านการดำเนินทางสมาธิจิตนี้ อาตมาภาพขออัญเชิญพระบิดา คือ พระพุทธเจ้าผู้เป็นเจ้าของศาสนาหรือท่านผู้มีอายุภาพอันยิ่งใหญ่จัดว่าอัจฉริยมนุษย์ ขอท่านผู้เป็นพระบิดา หรือ ท่านผู้มีอำนาจอันใหญ่ยิ่ง ขออำนาจของพระองค์จงมาช่วยปิดป้องท่านทั้งหลาย จะอย่าได้ประสบภัยอันตรายทั้งหลาย จงประสบแต่ความสุขความเจริญ จงประสบแต่ความสะดวก ความสะบาย จงเป็นไปเพื่อความสำเร็จในที่พวกท่านทั้งหลายปรารถนาเอาไว้ พรทั้งหลายอันที่อาตมาอธิฐานเท่านี้ จงสำเร็จ ๆ ในพวกท่านทั้งหลาย จงทุกถ้วนหน้ากัน เทอญฯ


หน้าแรกธรรมะ
กระดานข่าว
ลงสมุดเยี่ยม
อ่านสมุดเยี่ยม
ผู้เขียน

เชื่อมโยงกัลยานิมิตร >>
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว / สมเด็จพระมหาสมณเจ้า / พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร / พุทธประวัติ, พุทธโอวาท / ธรรมะพุทธองค์ / พุทธศิลป์ โดย อ.เฉลิมชัย / ธรรมะจากพระป่า / กองทัพธรรมพระกัมมัฏฐาน / ประวัติหลวงปู่มั่น / หลวงตามหาบัวช่วยชาติ / จังหวัดจันทบุรี / อำเภอนายายอาม / รอยยิ้มของพ่อ

เหมาะสำหรับจอภาพที่แสดงผลที่ 800 x 600 และเพื่อความสวยงามยิ่งขึ้นหากแสดงผลที่ 1024 x 768 (Microsoft Internet Explorer)
วัดเขาสุกิม
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2543

พัฒนาและออกแบบโดย นายทวีศักดิ์ รัตนคม    
ติดต่อสอบถามได้ที่ webmaster@khaosukim.org   
และทาง msn ได้ที่ hs2wjo@hotmail.com