หลวงปู่สมชาย
ฐิตวิริโย ประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี |
เรื่อง : ผู้มีบุญ ผู้มีความสุข ถ้าจะพูดถึงเรื่องลักษณะของบุญ
พวกเราก็พอที่จะมองเห็นได้ ว่าบุญนี่น่ะคือความสุข เพราะพระพุทธเจ้าทานสอนบอกว่า
คำที่ว่าบุญ ๆ นี่หมายถึงความอิ่มใส หมายถึงความสบายใจ หมายถึงความสุข บางคนก็ว่าถ้าอย่างงั้นคนที่ไประดมเขาได้
เขาสบายใจเขามีความสุขอันนั้นก็บุญกระมัง ถ้าเรามองกันโดยผิวเผินการขโมยคนอื่นมา
การช่อโกงคนอื่นมานี่ ไม่ใช่ว่ามันสบายใจ ไม่สบายใจหรอก มันเป็นทุกข์ในใจ
จิตใจมันเศร้าหมอง ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น เรื่องการระดมคนอื่นมาช่อโกงคนอื่นมา
ไม่มีความสุแน่ เพราะฉะนั้นถึงว่าบุญนี่ก็คือความสุขคำที่ว่าความสุขในที่นี้
หมายความสุขที่เกิดขึ้นมาจากความสงบ คำที่ว่าความสุขที่เกิดขึ้นมาจากความสงบ
อย่างที่พวกเราเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ก็ย่อมมีความสงบ ทำไมถึงเรียกว่าความสงบก็หมายถึงว่าความสงบภายในจิตใจ
ผู้ใดกระทำความทุจริตเอาไว้ ผู้นั้นหากในเมื่อนึกถึงความทุจริตของตัวเองแล้ว
จิตใจวุ่นวาย เมื่อจิตใจวุ่นวายแล้วเราก็ เรียกว่าไม่สงบ เมื่อไม่มีความสงบแล้วก็แสดงให้เห็นว่ามีความทุกข์ในใจแน่
นี่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ผู้ใดมีความสุขผู้ใดมีความสุขจริตในตัว หากในเมื่อนึกถึงความประพฤติของตัวเองแล้ว
รู้สึกมันสบายใจ เพราะมันสงบ อันนั้นเป็นลักษณะของความสุขหรือบุญ ทีนี้ถ้าจะพูดถึงเรื่องบุญ
ในเมื่อผู้ประกอบแล้วอำนวยผลคือความปกติของใจให้แก่เจ้าของผู้กระทำหรือทำให้ใจสบาย
อย่างที่ว่ามานี้เพียงแค่นี้ก็หาใช่ไม่ ยังยืดยาวไปอีกมาก เช่น ดุจในอย่างคุณนายปุไร
และคุณนายปรารภเมื่อกี้นี้ว่า การวัดถึงเรื่องบุญบาปก็ไม่ยากหรอก
ลูกของเราเอง
ว่าลูกของเราว่านอนสอนง่ายแนะนำในทางที่ดีที่ชอบก็พอใจ ห้ามปรามในทางที่จะเป็นไปเพื่อผลเสีย
บังเกิดขึ้นซึ่งโทษก็เชื่อ ไม่ล่วงเกินก็เรียกว่าเราเป็นผู้มีบุญ จึงได้ดวงวิญญาณที่มีบุญมาเกิดกับเรา
แล้วก็เป็นผู้ว่านอนสอน่าย เป็นผู้รับความสงบ เป็นผู้รักในทางศาสนา พอใจที่จะทำความดีต่อทางพระศาสนาและเพื่อนมนุษย์
เช่น เพื่อนมนุษย์ที่ลำบากยากจนเจ็บไข้ได้ป่วย ก็รักษาพยาบาท หากในเมื่อต้องการอยากจะเรียกค่าย
ก็เท่าที่ ๆ จะเอาได้ เมื่อพระภิกษุสงฆ์เจ้าสามเณรผู้เจริญพรต หากในเมื่อมีความสามารถพอที่จะช่วยเหลือได้
ก็จัดถวายท่านเท่าที่ ๆ พอจะทำได้ ผู้ที่มี่ความรู้สึกน้อมเอียงไปอย่างนี้
ก็เรียกผู้มีเชื้อบุญติดตัวมา เพราะฉะนั้น ผู้อย่างนี้มาเกิดด้วยก็เป็นสิ่งที่น่าปลื้มใจ
ว่าเราเป็นผู้มีบุญ เป็นสิ่งที่พอที่ ๆ จะวัดได้ง่าย ๆ ว่าเราเป็นผู้มีบุญอยู่แล้ว
จึงได้ลูกเช่นนี้มาเกิด หรือถ้าจะมามองหรืออีกแง่หนึ่งผู้ที่เกิดในตระกุลที่ดี
การดำเนินวิถีชีวิตก้าวเข้าไปสู่ความเจริญเห็นปานอย่างนี้ อย่างที่ว่ากันเมื้อกี้นี้แหละ
หรืออย่างคุณนายทั้ง ๒ นี้ ก็เป็นมาได้เพราะบุญทั้งนั้น ไม่ใช่เราจะแต่งเอาได้
ไม่ใช่การดำเนินของเราเป็นไปด้วยสติปัญญาโดยอย่างเดียว ต้องอาศัยสิ่งอุดหนุน
คือ บุญกุศลที่สร้างมาแล้วตั้งแต่ชาติก่อน บุญคุณเก่าที่เราสร้างสมอบรมมานั่นแหละจะนำพาเราก้าวไปสู่ความเจริญได้
หากในเมื่อเราเห็นความดีอันนี้ประจักษ์อย่างนี้แล้วก็ไม่น่าจะประมาท คือ
พยายามทำความดีอันนี้นะเพิ่มเติมขึ้นให้มาก เอายกรูปเปรียบง่าย ๆ คล้ายกันกับว่าชาวนาเมื่อฟ้าฝนอำนวยตามฤดูกาลปีนี้นะดีสมบูรณ์ดี
เมื่อได้ข้าวไปไว้ในยุ้งแล้ว ไม่ควรนิ่งนอนใจ ถ้าผู้ใดนิ่งนอนเห็นว่ามีข้าวอยู่ในยุ้งไม่ต้องทำอีกต่อไปแล้ว
หากในเมื่อข้าวในยุ้งหมดล่ะ เราจะไปที่ไหนมารับประทาน ก็เป็นอันว่าทอดลำบาก
เมื่อผู้ใดเห็นว่าเรามีข้าวอยู่ในยุ้ง ข้าวย่อมจะอำนวยความสะดวกในการประกอบอาชีพของเราต่อไป
ก็รีบเร่งขวนขวายทำ เท่าที่เราจะทำได้ เพิ่มเติมให้มากขึ้น ปีต่อ ๆ ไปก็ไม่อด
แม้ใด ผู้ที่มีบุญวาสนาส่งแล้วก็ยกรูปเปรีบคล้ยกันกับว่าผุ้ที่มีข้าวอยู่ในยุ้ง
ย่อมจะอำนวยความสะดวกในการแสวงหาประโยชน์ต่อไป เพราะฉะนั้น เช่นดุจในผู้ที่มีความเป็นอยู่พอสมควร
เห็นปานอย่างพวกเรานี้ ก็พอที่จะประกอบขวนขวายเอาความดี ให้ได้มากขึ้นเท่าที่จะทำได้
อันนี้เป็นสิ่งที่ดีแท้ ถ้าผู้ใดเห็นว่าบุญทุนเก่าที่เราสร้างสมอบรมมาตั้งแต่
ปุเรตชาติ มาช่วยอำนวยให้พวกเราถึงพร้อมด้วยความปรารถนาหลายอย่าง เช่น ดุจในพวกเรามองเห็นในตัวของตัวเอง
แต่แล้วตัวเองประมาทไม่รีบทำความดีต่อ มัวแต่เสวยผลของเก่กาเทียบเท่ากับชาวนา
ผู้มีข้าวในยุ้งแล้ว ไม่ทำต่อในวันข้างหน้าย่อมอด ฉันใด ผู้มีบุญทุนเก่าช่วยอุดหนุนให้ดีแล้ว
ไม่รีบสร้างเอาความดีนั้นต่อไปในชาติเบื้องหน้าจะลำบาก เพราะฉะนั้น บุญทุนเก่าที่ช่วยให้เราสะดวกในการกระทำความดีได้เห็นปานนี้
เราควรจะกระทำความดีอย่าประมาท คือ เมื่อเราพอที่จะมีโอกาสให้ทานได้ เราก็ต้องทำ
หากในเมื่อเรามีเวลาพอที่จะรักษาศีลได้เราก็รีบพยายาม เช่น ศีล ๕ ก็ดี ศีล
๘ ก็ดี พยายามกระทำ ให้เกิดให้มีขึ้น เรพาะว่าผุ้ใดมีศีลอยู่ในตัวผุ้ใดมีศีลอยู่ในตัวก็เท่ากันกับศีลนี้เป็นเครื่องห้ามบาป
เพราะเมื่อผู้ใดล่วงเกินในทางศีลก็เท่ากับว่า สะสมบาปหรือกระทำบาป ยกรูปเปรียบเอาง่าย
ๆ ว่าผู้ที่ประพฤติล่วงเกินในทางศีล เทียบเท่ากับผู้กลืนยาพิษ นี่พูดกันง่าย
ๆ ก็คืออย่างนี้ คือ ว่าพอที่จะสันนิษฐานได้อย่างง่าย ๆ ว่า ผู้ที่ล่วงเกินในทางศีลเหมือนกลืนยาพิษคือยังไงเอาอย่างง่าย
ๆ เช่น ยาที่หมยาพิษที่เาสร้างขึค้นมาสำหรับที่จะมาเบื่อคนให้ตายหรือสัตว์ให้ตาย
มีหลายประเภท เช่น อาจจะตายปัจจุบันทันด่วนก็ได้ อาจจะเป็นประเภทที่เขาเรียกว่ายาสั่งก็ได้
มีอยู่ ๒ นัยด้วยกัน ยาสั่งก็เช่นดุจในที่เรียกว่า รับเข้าไปแล้วหากในเมื่อเขาสั่งกับอะไร
ผู้นั้นไปบริโภคของนั้น ตาย หรือไม่อย่างนั้น ก็อยู่อย่างนั้นเรื่อย ๆ ไป
หรือบางทีอาจจะมีท่าทีของร่างกายเปลี่ยนแปลงผิดปกติ ก็อาจจะพอที่จะมองเห็นได้
แต่หากในเมื่อไม่รู้ว่าเหตุอันนี้เกิดมาจากอะไร วินิจฉัยไม่ตกถึงที่สุดแล้วก็จะต้องเสียชีวิตเพราะอันนี้ฉันใด
ก็ดีล่วงเกินในศีลก็เหมือนกับฉันนั้น เช่น ผู้ฝ่ายวันในทางศีล ในทางปาณาติบาท
หมายถึงการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จนกระทั่งมาถึงมนุษย์เราด้วย ผู้กระทำอย่างนี้อาจจะรับปัจจุบันก็มี
ได้รับโทษปัจจุบันก็มี เช่น พวกเราก็เคยพอได้ทราบว่าตุลาการเจ้าหน้าที่เขามาจับ
ผู้ที่ประหารชีวิตมนุษย์ด้วยกัน เข้าคุกเข้าตะรางก็มีอันนี้ก็เทียบเท่ากับยาพิษที่กลืนเข้าไปแล้วที่ให้โทษปัจจุบัน
แต่เมื่อผู้ใดกระทำแล้วเจ้าหน้าจับไม่ได้และต่อไปในวันข้างหน้าล่ะ ก็ไม่สู้จะแน่นักว่าความเดือดร้อนของตัวจะได้แค่ไหน
อาจจะยืดยาวไป อันนี้ก็ยกรูปเปรียบคล้ายกันกับว่าผู้ที่กลืนยาสั่งเข้าไปแต่เมื่อยังไม่เจอของสั่ง
ก็ยังมีชีวิตสืบไป ไปเจอของสั่งเมื่อใดก็เมื่อนั้น ก็เหมือนกัน หรือจะถึงในเรื่องอทินนาทานก็เหมือนกัน
หากในเมื่อขโมยของเขาลงไปแล้วเมื่อเจ้าหน้าที่รู้เท่าทัน ก็อาจจะได้รับโทษปัจจุบันหากในเมื่อเจ้าหน้าที่เขาไม่รู้เข้า
หากในเมื่อตัวเองไม่มีชีวิตแล้ว เอาเถิดกรรมอันนี้รับรองว่าจะต้องติดตาม
จนกระทั่งกาเมสุมิจฉาจารก็เช่นกัน
มุสาวาทก็เช่นกัน หรือสุราเมรัยก็เหมือนกัน ทั้ง ๕ ประการนี้ อาจจะให้โทในปัจจุบันก็ได้
อาจจะให้โทษในเมื่อเราจบแก้ได้ อันนี้มันเป็นสิ่งทีแน่นอนอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นหากในเมื่อผู้ใดมีศีลก็เท่ากันกับว่าผู้นั้นมีรั้วกันบาป
ไม่ให้บาปนี่เขามาถึงเราได้ ถ้าผู้ใดขาดจากศีล ไม่มีศีล ก็เท่ากันกับว่า
ผู้นั้นไม่มีสิ่งป้องกันเลย มันเป็นอย่างนี้ ทีนี้เพียงแค่มีศีลอย่างเดียว
ถือว่าเป็นการป้องกันบาปเท่านั้นก็หาใช่ไม่ ตามธรรมดาบัณฑิตผู้มีปัญญาแล้ว
ไม่เพียงพอแค่นั้น คือเว้นจากความชั่ว แล้วต้องย่อมประพฤติความดี การประพฤติความดีนั้นก็อย่างที่พรรณนาสู่ฟังในเบื้องต้น
คือ การให้ทานบริจาค เท่าที่เราจะทำได้ อาจจะให้วัตถุสิ่งของแก่คนอื่นก็ดี
หรืออาจะช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความทุกข์ความเดือดร้อน อย่างที่คุณนายปรารภนั่นก็ดี
การกระทำอย่างนี้ก็เรียกว่าการกระทำความดีหรือการกระทำบุญเหมือนกัน เพราะฉะนั้น
เมือเราเว้นจากความชั่วแล้ว ก็ต้องประพฤติความดีหากการดำเนินทางสมาธิจิตนี่เป็นอุบายที่จะนำพาจิตของเราให้เข้าไปสู่อารมณ์อันดี
เพราะตามธรรมดาจิตของคนเรานี่ มันย่อมจะวอกแวกไปตามอารมณ์ หรือไวต่ออารมณ์
ยกรูปเปรียบคล้ายกันกับลิง มันอยู่ปกติไม่ได้ กระโดด กิ่งไม้ กิ่งโน่น กิ่งนี่
หยิบอันโน้น จับอันนี้ เกาตรงนั้น หยุก ๆ หยิก ๆ ฉันใด จิตของเราก็เหมือนกัน
ฉันนั้นวอกแวกต่ออารมณ์อันเป็นอารมณ์ที่ผ่านมาแล้วตั้งแต่อดีตก็ดี หรือปัจจุบันเหตุที่แสดงอยู่ปัจจุบันก็ดี
มันย่อมจะหวั่นไหวตามเหตุการณ์อันนี้อยู่ตลอดกาลของมันหากในเมื่อเราไม่มีกำลังส่วนใดประคองแล้ว
หากปลดบ่อยให้เป็นไปโดยธรรมชาติแล้ว มันอาจจะไปไม่รู้เรื่องรู้ราว เช่น ไปต่ออารมณ์ชั่วตามเหตุการณ์
ไปต่ออารมณ์ที่ดีตามเหตุการณ์แล้วแต่เหตุการณ์จะนำพาร้องให้ไปตามเหตุการณ์
อาจะครุ่นคิดไปต่าง ๆ นา ๆ เท่าที่เหตุการณ์จะนำพา อุบายวิธีที่พระพุทธเจ้าสอนนี้ไม่เป็นไปอย่างนั้นโดยธรรมชาติธรรมดา
พระองค์สอนให้สร้างกำลังส่วนตัวนำพา ให้จิตของเราเป็นไปตามอำนาจของตัวนำพา
ท่านเรียกว่า อริยมัคคุเทสก์ ตัวที่จะนำพาผู้ที่เป็นเจ้ายองสร้างขึ้น ให้ก้าวเข้าไปสู่ความเป็นอริยบุคคล
ท่านจึงสอนให้สร้าง คือ สติ สัมปชัญญะ หรือปัญญา เช่น ดุจในที่พระพุทธเจ้าสอนว่า
ให้กำหนดลมหายใจเข้าออกก็ดี หรือมีบริกรรมภาวนาก็ดี พุทโธ ๆ ๆ ให้จิตของเราปกติอยู่
เป็นอุบายวิธีที่พระพุทธเจ้าสอนให้สร้างสติและปัญญา ซึ่งเราพอที่จะสังเกตได้ว่า
เมื่อเราสามารถกำหนดให้อยู่ในจุดใดจุดหนึ่ง เราตั้งไว้ว่าเราจะเกาะในจุดนี้
และมีบริกรรมภาวนา คือ พุทโธ เราว่าของเราอยู่ตลอดได้ จิตไม่วอกแวกไปต่ออารมณ์ได้อันนี้เราก็พอที่จะเห็นได้ชัดว่า
สติ หรือ สัมปชัญญะ ที่เรามุ่งที่จะสร้างขึ้นมานี่พอกับความต้องการ จึงสามารถบังคับให้ความรู้สึกหรือคำบริกรรมนี้
ให้รับรู้แอยู่ในจุดหรือคำบริกรรมนี้อยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่อย่างนั้น ไม่มีโอกาสที่จะเอาไว้
เพราะจิตวอกแวก ๆ ไวต่ออารมณ์อยู่ตลอดเวลา ถ้าผู้ใดสามารถบังคับให้ความรู้สึกใรับรู้อยุ่ในจุดนั้นได้เต็มที่แอยู่ตลอดเวลาแล้ว
แสดงให้เห็นว่าอำนาจตัวนำพาที่จะเป็นไปเพื่ออริยบุคคลนี่สูงแล้ว พอกับความต้องการแล้วก็เอากำลังส่วนนี้คอยมายับยั้งจิตของเราอยู่เสมอว่า
หากในเมื่อเหตุการณ์อะไร เกิดขึ้นจะชวนให้ความรู้สึกตกไปอยู่ตามอำนาจของมัน
เชื่อ รักชัง เกลียด โกรธ อะไรเหล่านี้ ต้องการไม่ต้องการ เราก็เอากำลังส่วนนี้ยับยั้งก่อน
ยังตั้งประคองไว้ พิจารณาถึงเหตุผลว่า เหตุการณ์นี่ชวนให้เราเกลียดเราโกรธ
หากในเมื่อเราเกลียดเราโกรธ มันจะเป็นไปเพื่อผลเสียหรือประกอบด้วยโทษอย่างไรบ้าง
เราต้องประคองแล้วก็เอามาวิจารณ์เสียก่อนเมื่อมาวิจารณ์แล้วเราจะทำอย่างไร
จึงจะไม่เป็นไปเพื่อโทษ จึงจะไม่เป็นไปเพื่อความเศร้าหมอง เราก็ต้องใช้บทวิจารณ์
เสร็จแล้วเราก็ต้องประคองเข้าหาจุด ที่เป็นไปเพื่อคุณคือประกอบด้วยคุณ ต้องทำให้ได้
ทีนี้เอเราดำเนินอยู่อย่างนี้ของเราเสมอ ๆ ในเมื่อเขาชมเราก็ดี เห็นสิ่งที่ควรต้องการก็ดี
เราก็ต้องหาอุบายวิธีนี่ประคองไว้ อย่างนี้เสมอไป ทั้งสิ่งที่น่ารักทั้งสิ่งที่น่าชัง
หากในเมื่อเราประคองให้อยู่ในอำนาจของตัวนี้ได้ลแวต่อไปเราก็ค่อยประครองเข้าหาทางที่ดีเสมอว่า
วันนี้เราทำความดีอะไรบ้าง และความชั่วที่มันลุอำนาจเราไปได้มีกี่อย่าง เราก็หาช่องทางทำให้ดีขึ้น
ๆ แล้วก็พยามยามหาทางกำหนดแต่ในทางที่ดี ว่าเราทำบุญกุศลไว้กี่อันกี่อย่างว่าเราทำอะไรไว้บ้างอย่างนี้
ให้พยายามกำหนดเรื่อย ไป ในอุบายอันนี้นะ โดยพระพุทธเจ้าแล้วก็มีความหมายอยู่ว่า
หากในเมื่อเราจะตาย เราก็จะได้กำหนดในอารมณ์ที่ดีเช่น เราให้ท่านการบริจาคก็ดี
เราได้รักษาศีลก็ดี เราได้เจริญเมตตาภวนาก็ดี เอ้อ..เราก็จะได้กำหนดใส่ หากในเมื่อเรากำหนดให้จิตของเราตกเข้าไปอยู่ในกระแสของความดีแล้ว
มันจะเป็นกรรมนิมนต์ที่ดีเกิดขึ้นมา คล้าย ๆ กับว่าเราฝันอย่างนั้นแหละเราได้ใส่บาตรเราได้รักษาศีล
หรือกำลังสะดับตรับฟังพระสัทธรรมเทศนาอยู่อะไรเหล่านี้ อารมณ์อันนี้มันอาจจะได้มั่นอย่างนี้แล้ว
มันจะมีกรรมนิมิตปรากฎ เมื่อมีกรรมนิมิตที่ดีปรากฎในทางคดีอย่างนี้ มันจะเป็นบคติมิมิตที่ดีปรากฎขึ้นมาเช่น
เห็นเครื่องทรงของเทพเจ้าเห็นปราสาท เห็นดอกไม้เห็นพระพุทธรูป เหล่านี้เป็นนิมิต
แล้วผู้นั่นย่อมจุติเคลื่อนไปสู่ภพที่ดีได้ นี่เป็นอุบายวิธีที่พระพุทธเจ้าสอนให้ภาวนา
ซึ่งสร้าง อริยมัคคัคุเทศก์นำพา เราก้าวเข้าไปสู่ความเป็นอริยบุคคล ถ้าเราไม่มีทางพอที่จะเป็นอริยบุคคลได้
เราก็มีช่องทางที่จะนำพาจิตใจหรือความรู้สึกของเราให้น้อมนึกอยู่ในทางที่ดีได้
ให้อยู่ในอำนาจของตัวบังคับอยู่ตลอดเวลา หากในเมื่อถึงที่สุดแห่งชีวิตของเราแล้ว
เราจะได้เอากำลังส่วนนี้ นำพาให้จิตของเรานี้จ้องอยู่ในอารมณ์ที่ดีอยู่ตลอดเวลา
เพราะเมื่อเราบังคับหรือกำหนดให้อยู่ในอารมณ์ที่ดีได้ มันก็เป็นไปอย่างที่ว่า
ถ้าผู้ใดไม่มีอำนาจส่วนนี้ประคองให้อยู่ในจุดที่ดีได้ เขว.ไปนึกถึงแต่ในทางที่ไม่ดี
ก็เป็นไปเพื่อความเศร้าหมอง หากเป็นไปเพื่อความเศร้าหมองมันเกิดกรรมนิมิตที่ไม่ดีขึ้นมา
เช่น เห็นหอก เห็นดาบ เห็นการฆ่าฟันรันแทงกัน เห็นสิ่งที่เราทำไม่ดีไว้ กลับมาลงโทษเราให้ได้รับความเดือดร้อน
มันเป็นกรรมนิมิตที่ไม่ดีอย่างนี้ หากในเมื่อได้กรรมนิมิตที่ไม่ดีคติมันก็ไม่ดี
มันเป็นอย่างนั้นเพราะเหตุใดในอุบายวิธีที่พระพุทธเจ้าสอนนี้ ได้ประโยชน์ถึงสองขั้น
ขั้นต่ำก็เป็นอุบายที่จะประคองให้จิตของเราให้คิดอยู่ในอารมณ์ที่ดีได้ ให้คุ้นต่ำในในทางที่ดี
ให้คิดแต่ในทางที่ดี บังคับประคองเอาไว้ เป็นไปเพื่อจุดที่ดี หากในเมื่อ
เขว.หัน.ไปในทางที่ผิด เราจะได้พยายามเอากำลังส่วนนี้เข้าประคอง ห้ามปราม
อะไร เหล่านี้ อยู่เสมอ เมื่อหากผู้ใดกระทำได้อย่างนี้ ชั้นต่ำ ก็ย่อมที่จะประคองให้จิตของเราเคลื่อนขึ้นไปสู่คติภพคือสวรรค์ได้เมื่อผุ้ใดสามารถสร้างให้ดียิ่งขึ้น
ก็สามารถที่จะตัดหรือสมารถ ทำสบายได้ซึ่งอาสวะตัณหากิเลสบางสิ่งบางส่วน หรืออาจจะตัดทำลายได้หมด
ถ้าผู้ใดตัดได้น้อย สมควรพอที่จะเป็นอริยบุคคลชั้นต้นได้ ก็ได้ความว่าเป็นโสภาบันบุคคลท่านก็สมมุติว่าอย่างนั้น
จนกระทั่งถึงอริยบุคคลชั้นสูง ตามอันดับหรือตามความสามารถที่เราจะกำจัดสิ่งที่เรียกว่ากิเลสได้
นี่มีอย่างนั้น จนกระทั่งถึงอริยบุคคลชั้นสูง ตามอันดับหรือตามความสามารถที่เราจะกำจัดสิ่งทีเรียกว่ากิเลสได้
นี่มีอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงได้ความว่ากำลังตัวธรรมนี่คือตัวเป็นกำลัง
อริยมัคคุเทศก์ คือนำเราผู้กระทำให้ก้าวเข้าไปสู่ความเป็นอริยบุคค นี่เป็นอย่างนี้
เพราะฉะนั้น |
กระดานข่าว |
อ่านสมุดเยี่ยม |
เชื่อมโยงกัลยานิมิตร
>> |
วัดเขาสุกิม สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2543 |
พัฒนาและออกแบบโดย
นายทวีศักดิ์ รัตนคม ติดต่อสอบถามได้ที่ webmaster@khaosukim.org และทาง msn ได้ที่ hs2wjo@hotmail.com |