หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
ประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี
เรื่อง : สงบจากบาป

            เป็นสามเณรอยู่ ๒ ปี เป็นพระ ๒๑ ปี เป็น ๒๓ ปี สู่ธรรมะ จะอธิยายให้ฟังเท่าที่อาตมารู้เห็นนี้ อาตมาก็ศึกษาน้อยรู้น้อย การปฏิบัติก็อ่อน แต่ว่ามีแค่ไหนก็จะให้ไม่ได้หวงละจะให้เลย แต่ว่าถ้าจะฟังอีกในหนึ่งธรรมะอาตมาอธิบายนี้ มันก็ผิดจากอาจารย์อยู่หลายองค์เหมือนกัน ตลอดธรรมะปฏิบัติยิ่งแม้บอกว่าถ้าหากว่าใครไม่เคยได้ฟังอย่างอาตมาว่าเนี่ย เคยศึกษาจากครูบาอาจารย์อื่น ๆ มาได้ยินตกตะลึง ไม่มันเป็นยังไง เพราะว่าโดยส่วนมากครูบาอาจารย์ที่แนะแนวการปฏิบัติโดยส่วนมากเอาร่างกายขึ้นมา ยกร่างกายขึ้นมาพิจารณากัน พิจารณาเป็นอนิจจังทุกขังอนัตตาเพื่อไตรรัตนญาณสามไง ผู้ทีเกิดวิปัสสนาญาณ ได้แก่ถึงไตรรัตนญาณสาม คือว่าเขาเข้าใจว่าจะสามารถทำสมาธิจนกระทั่งเดินในญาณจนจบแล้วก็ถอยกลับมาจนตลอด แต่ไม่มีปัญญาเกิดไม่เป็นไปเพื่อมรรคผลนี้เขาเข้าใจกันแบบนี้ ตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาลเขายังอ้างตำราว่ามีพระองค์หนึ่งสามารถดำเนินญาณนี้พุ่งหนึ่งเข้าไปตลอดถึง ๗ คราวสำเร็จมรรคผลไม่ได้เลย เพราะว่าวิปัสสนาญาณไม่เกิดนั่นเอง เป็นไปไม่ได้ ถึงแม้จะเข้าไปถึงแล้วก็ตาม ถ้าวิปัสสนาไม่เกิดแล้วก็ตกเอง ในตำนานยืนยันกันถึงขนาดนี้ จนกระทั่งพระองค์นั้นท้อใจละอายใจเลยเอามีดโกนนั้นจะตัดคอตนเองพญามารห้ามเลย แล้วพญามารเข้าไปขอพระพุทธเจ้าไม่ให้พระองค์นั่นฆ่าตัวเองตาย พระพุทธเจ้าบอกว่า ลูกของเราตถาคตผู้เห็นธรรมไม่เสียดายว่าอย่างนั้น เลยเอามีดโกนตัดคอตนเอง เขาว่านะถ้าตัดคอตนเองพอคอขาดจะได้สำเร็จมรรคผล นี้สันดานของอาตมามันเสีย ไม่ว่าก็ยังไม่เชื่อนะ ตัวหนังสือเท่ากับแม่ไก่ก็ยังไม่อ่านอยู่อีกนั้น เพราะเป็นจริงไม่ได้ พระพุทธเจ้าองค์เดียวพูดหนึ่งไม่มีสองกลักกลอกไม่ได้ พระองค์สอนในหลักปราชิก ๔ บอกว่าภิกษุนะฆ่าคนนะต้องอาบัติปราชิก ภิกษุองค์นี้ฆ่าตัวเองทำไมเป็นอาบัติปราชิก สมมุติอย่างธรรมดาฆ่าตัวเองก็เป็นปราชิกแล้ว พระพุทธเจ้าองค์เดียวทำไมพูดกลับไปกลับมา ถ้าพระพุทธเจ้าพูดจริงอาตมาองค์หนึ่งละเดินหนี ไม่ถือพระพุทธเจ้าละ แท้ที่จริงมันไม่ใช่อย่างนั้น คือว่าไม่เข้าใจในทางฌานของเรา เข้าใจในฌานฤาษีหยิบถูกตำราพระฤาษี ตำราฤาษีเราเข้าตาฝางยังมองไม่เห็น แท้ที่จริงตำราในทางพระพุทธศาสนาศึกษาหรือสายทางเดิมของพระอริยเจ้าของเรา เพื่อการเข้าฌาน เมื่อเข้าไปถึงเราก็พูดได้เต็มที่ละเอ้า ว่าต้องมีปัญญา เพราะตั้งแต่เบื้องต้นที่เราจะทำลายกามภพชั้นหยาบ ๆ จนเป็นเหตุให้จิตของเราตกเข้าไปสู่กระแสที่อันดับที่หนึ่ง คือ ขณิกะ ก็ต้องมาด้วยกำลังของปัญญาจะก้าวจากอันดับที่หนึ่งคือ ขณิกะสมาธิ ไปสู่อุปจาระสมาธิก็ต้องไปด้วยกำลังของปัญญา ถ้าไม่อย่างนั้นผ่านไม่ได้ ตายเลยถ้าคนไม่มีปัญญา เพราะว่ามันมีหลุมดักเราอยู่แล้ว เช่น ภวังคะจระณะ เป็นหลุม เป็นหลุมใหญ่เป็นภพใหญ่เป็นห้วงใหญ่ มีความสุขเหลือเกินเทียบเท่ากับโลกทิพย์เลย ถ้าไม่มีปัญญาถอนตัวออกไม่ได้ ความสุขนั้นมันมากยิ่งกว่าเราเป็นมนุษย์นี้มาก เคลื่อนเหนือสำนึกมันจะสุขแค่ไหน เพียงกับจิตของเราจะยั่งลงไปเกือบจะถึงกลางสำนึกเท่าไร มีความสุขมาก ฉะนั้นจะทำลายอันนี้ได้ต้องไปด้วยกำลังของปัญญา ไม่เฉพาะสติผลักดันอย่างเดียวนี้ ต่อจากนั้นไปก็เราสามารถข้ามตัวนี้ไปตก เช่น ตัวอย่างอุปจาระสมาธินี้ โอ้โหอันนั้นก็น่าดู ภวังคุบบาทดักเราอยู่แล้วหลุมใหญ่เลย รู้สึกว่ามีความสุขมากอยู่สถานที่นั้น ถ้าใครไม่มีความสามารถหรือสติปัญญาหรือสิ่งที่ไม่สมบูรณ์ก็ออกมาไม่ได้เหมือนกัน เมื่อผ่านเข้าไปสู่อัปปนายิ่งแล้วกัน ยิ่งเข้าไปตกฌานแต่ละอันดับน่าดู เพราะเหตุนั้นพวกเรามองเห็นชัดอยู่แล้วว่า การกระทำสมาธิแบบโลกุตตลสมาธิของเรานี้เป็นไปด้วยปัญญา เราลองคิดดูซิเนี่ย ตั้งแต่เบื้องแรกที่เราอยู่ปัจจุบันนี้ เราก็มองเห็นได้ อันไหนสติ อันไหนปัญญา อันไหนสมถะ อันไหนวิปัสสนา เราเห็นชัดแต่เขาหาอ่านออกไม่ ว่าลักษณะของสมถะคืออันไหน ลักษณะของวิปัสสนาคืออันไหน อันนี้ยังเข้าใจไม่ถูกอยู่แล้ว ทำไมมันจะไปพูดถูกละธรรมะ ไม่มีประตูแล้ว คือ อันนี้หนึ่ง และอันหนึ่งเราอย่าไปพูดกันเพียงแค่นี้เลย มาพูดเพียงแค่ที่ว่าความสงบอย่างเดียวเนี่ย ก็ไม่ตรงกันอยู่แล้ว โดยมากเขาสอนกันคำที่ว่าความสงบ เช่น ตัวอย่างจิตมันดิ่งเฉยอันนั้นเขาว่าสงบ แต่สำหรับอาตมาว่าไม่ใช่สงบ ตกโมหะสมาธิของอาตมา คำที่ว่าความสงบของอาตมานี้หมายถึงสงบจากบาป อย่างเราสามารถทำลายความรู้สึกของเราที่มันพอใจในทางบาปนี้ มันอยากกินเหล้า มันอยากฆ่าคน อยากเล่นการพนัน อยากเที่ยวอยากเตรี อยากประพฤติอนาจารต่าง ๆ ซึ่งที่มีความแรงอยู่นี้ เราสามารถทำลายความรู้สึกอย่างนี้ได้เสีย และจิตของเราจะทำใจทำบุญให้ทานบริจาคแล้วก็ทำความดีพอใจที่เดียว ถ้าจะทำความชั่วนึกถึงหมู่ถึงคณะ นึกถึงครูบาอาจารย์ถึงกลุ่มของพวกเราที่จับกลุ่มกันประพฤติปฏิบัตินี้ กว่าจะเป็นเหตุให้ทำลายหมู่คณะอะไรเหล่านี้ ความคิดของเราฟุ้งซ่านอยู่นี้ตกเข้าสู่กระแสแห่งความเจริญวัฒนะ เราพยายามผลักใสความรู้สึกของเราไปอย่างนั้น พูดง่าย ๆ เมื่อหากเรามีแนวคิดอย่างนั้น เรียกว่าตกกระแสแห่งกุศลแล้วก็พ้นไปเสียจากบาป นี้เขาเรียกว่าเอครัตตารมณ์ นี้ของอาตมามีอย่างนี้ แต่สำหรับของเขาไปดิ่งอยู่เฉย เขาเรียกว่า เอคะรัตตารมณ์ นี้ พวกที่ดิ่งอยู่เฉย ๆ เป็นเอคะรัตตารมณ์อยู่นี้ จะไปเห็นนิพพานนี้หมด ไม่มีอะไรเหลือเลย ไม่มีเหลือสักนิดเดียว นั้นเป็นนิพพานเขาแต่สำหรับของอาตมาที่ทำลายความรู้สึกแบบที่เรียกว่า ตกไปสู่อำนาจแห่งบาปหรืออำนาจฝ่ายต่ำในทำนองนี้ ทำลายได้เราเกิดรักความบริสุทธิ์ ความบริสุทธิ์เจตนาที่บริสุทธิ์จะทำอะไรที่มีความบริสุทธิ์เรารักนะ รักความบริสุทธิ์ ทีนี้พอใจในความบริสุทธิ์ พอใจที่จะช่วยเหลือบรรดาพวกเราผู้ปฏิบัตินี้ ให้มีโอกาสประพฤติปฏิบัติดีได้ รักษาความสงบสุขของหมู่คณะไว้ไม่ให้ตกไปอะไรทำนองนี้ ความเข้าในและความบริสุทธิ์เรามักมาทางนี้ ตกเอคะรัตตารมณ์ หรือตำทางที่เป็นบุญนั่นเอง พอแนวคิดของเรา หนึ่งคิดเป็นไปบาป สองคิดเป็นไปในทางที่เป็นบุญ สามเฉย ๆ เมื่อเราทำลายเพราะได้เฉย ๆ ก็ไม่เอา ทางบาปก็ไม่เอาได้เฉพาะทางบุญ มีแนวคิดพุ่งไปในทางบุญเขาเรียกว่า เอคะรัตตารมณ์แล้ว นี่เป็นอย่างนี้อย่างที่อาตมาแนะนำ
            ทีนี้แนวที่อาตมาแนะนำจะไปเห็นนิพพานอีกนี้ผิดกันกับเขา เห็นนิพพานของอาตมาทำลายสิ่งก่อกวนทั้งหมดได้หมดเลย และความรู้สึกของจิตมีความุขละเอียดอ่อน รู้สึกมีความสุข ความสงบและความรู้สึกความโน้มเอียงของจิตนะ ทุกคนจะหยิบหนึ่งหรือนำความรู้สึกมาเล่าสู่กันฟัง เขาก็เล่าไม่เป็นละ เล่าไม่เป็น เพราะนั้นท่านถึงบอกว่า ให้ผู้ปฏิบัติเข้าไปดูกันเอาเอง ท่านบอกนะ เข้าไปดูเอาเองพิสูจน์เอาเอง ฉะนั้นเมื่อเราปฏิบัติไปตกกระแสรู้ทันทีเลย โอความรู้สึกว่าจิตมันนิ่มมันนวลบอกไม่ถูก นี้เท่าที่อาตมาได้ทราบจะเทียบยังไงไม่ทราบ คล้ายกับว่าพูดอย่างง่าย ๆ ถ้าคนเราทั้งโลกเป็นอย่างนั้นนะ โลกนี้ศรีวิไล ยุคนี้เป็นอริยยุคพูดแล้วนะ เป็นยุคของพระอริยเจ้าเลย บอกว่ามันบอกไม่ถูกมันนิ่มมันนวล พูดถึงความเมตตาอารีกับบรรดาคนทั้งหลายเนี่ย มันไม่ใช้รักมันเป็นเมตตา แต่ลักษณะของเมตตาหรือลักษณะของความรัก รักก็ได้เอาแต่มันไม่ใช่มันมีความหรือมีความเมตตา แล้วจะสอนกันแต่ละคน ๆ ที่จะสอนนี้มันมีความเมตตาหรือสงสารหยั่งเข้าไปถึงจิตเลย มันไม่ใช่เฉพาะอย่างที่ว่าพ่อแม่รักลูกสงสารเมตตา จะสงเคราะห์ อนุเคราะห์ ซึ่งมองเห็นร่างกายเป็นนิมิต แต่สำหรับผู้มีคุณธรรมมองเห็นจิตใจเป็นนิมิต อยากจะให้จิตในอันนั้นได้รับความสุข อยากจะให้จิตใจอันนั้นนะกำจัดสิ่งที่มัวหมองอยู่ในตัวของเขาเอง แล้วยากจะให้จิตใจอันนั้นบริสุทธิ์ผุดผ่อง อยากจะให้จิตใจอันนั้นพ้นไปจากภพชาติ มองเห็นว่าจิตใจจะต้องมาก่อเหตุสะเทือนต่อความทุกข์ตลอดไปอะไรทำนองนี้ ความรู้สึกมันซาบซ่านมันผิดบอกไม่ถูก มันคนละอย่างกันจริง ๆ นี่อาตมาถึงกล้าพูดได้ว่า ผู้ใดเห็นว่าความสงบอย่างธรรมดาเนี่ยนะ จะเทียบเท่ากับพระอริยเจ้าเท่ากับตัวเองได้ชิมลองรสพระนิพพาน คนนี้เข้าใจไม่ถูกไม่รู้เรื่องด้วย เป็นคนไม่รู้เรื่องเสียเลย อย่างนี้เพราะว่ากระแสนั้นเป็นกระแสที่นิ่มนวลเป็นกระแสโอ้ยบอกไม่ถูก เพียงแค่เราไปได้กระแสสักนิดหนึ่ง กระแสนั้นจะรู้สึกว่าน่าดูอย่างแล้ว ถ้าเข้าไปถึงตัวจริงมันจะขนาดไหน มันนิ่มนวลบอกว่าฉลาดพอจริง ๆ นี้เป็นของแปลก เพราะนั้นถึงว่าคนที่เอาความสงบอย่างปัจจุบัน ๆ นี้ ว่าปราศจากกิเลสอาตมาจะเอาเหตุผลมาเทียบกันง่าย ๆ อย่าให้อาตมาบาปเถอะ อาตมาจะเอาสิ่งลึกลับมาเล่าสู่ฟัง เช่น ตัวอย่างคนที่เป็นโรคเรื้อนนะแต่มันไม่เฮอไม่ขึ้นนะ มันกู้อยู่ปกติเป็นคราว ๆ มันจะเฮอขึ้นมาเป็นคราวปกติเป็นคราว ๆ ในระยะที่เขาปกตินะ ปราศจากจริงไหม จะไปว่าเขาหายแล้ว ไม่เจ็บไม่ปวด ไม่มีอาการวิปริตใช่ไหม หายแล้ว แต่ขอให้หมอมาพิสูจน์หายจริงหรือเปล่า แท้ที่จริงมันสงบลงเท่านั้นเอง แล้วต่อไปในวันข้างหน้า เผื่อมันจะแสดงขึ้นมา ลำพังก็อาจจะเฮอขึ้นมาก็ได้ หรือบางทีมันอาจจะไปเจอของแสลงเฮอขึ้นมา เขาเรียกว่าโรคเฮอยังไง ทีนี้เมื่อมันหายเฮอ มันสงบจะว่ามันหาย มันไม่ได้หาย เขาเรียกว่ามันหลบในฉันใดก็ดี ในระยะที่กิเลสมันลุกโฮมขึ้นเราก็ว่ากิเลสเสีย เวลามันเข้าไปแอบซ่อนอยู่ มันนอนเนื่องอยู่ก็ว่าไม่ใช่กิเลสพอไปเจอะอะไรที่เป็นอาหารมันก็เฮอออกมาเสีย นี้มันอยู่ตรงนี้เอง เพราะนั่นคนที่ยังไม่ปราศจากกิเลสความรู้สึกของจริงจิตที่จะโน้มเอียงในฐานที่เรียกว่า มันปราศจากสิ่งเหล่านั้น มันเทียบกันไม่ได้ มันสุขุมละเอียดมันนุ่มลึก มันนุ่มนวลบอกไม่ถูก นี้ผิดกันจริง ๆ เพราะฉะนั้นจึงถือว่าจะเอารสชาติของนิพพานมาเทียบเท่ากับคนที่สงบแบบธรรมดา ๆ ที่กิเลสเข้าไปซ่อนตัว เอามาเทียบกันไม่ได้ มันผิดกันมากนี้เป็นอย่างนี้ นี้เล่าถึงเรื่องปฏิปทาการสอนธรรมะปฏิบัติที่อาตมาปรารภขึ้นเป็นเบื้องต้นว่า ความเข้าใจเบื้องแรกนี้ไม่ตรงกัน คือว่าสอนกันละรูป คนละทางกัน ความเห็นก็ไม่ตรงกัน ความเข้าใจก็ไม่ตรงกัน ตลอดนิพพานก็ไม่ตรงกัน เอคะรัตตารมณ์ก็ไม่ตรงกัน ความสงบไม่ตรงกัน พูดกันคนละลักษณะไปหมดเหมือน ๆ กับศึกษาธรรมะคนละศาสนา ดูเหมือน ๆ เป็นอย่างนั้นเสียด้วย พูดไม่รู้เรื่องกันเลย ไปนั่งคุยกันเอ๊ะนี่มันว่ายังไงกัน ไม่เห็นได้เรื่อง เอ้าเขามองอาตมา เอ๊ะมันพูดกันยังไงไม่เห็นรู้เรื่องเลย ทำไมมันไปกันคนละทางอย่างนี้ มันเป็นถึงขนาดนั้นเชียวนะ โยมตั้นลองไปฟังดู ๆ นะจะตกตลึงเลยนะ ลอง ๆ ให้องค์หนึ่งมาบรรยายธรรมเสร็จ ให้อาตมาขึ้นไปแทรก มองหน้ากันเลย มันยังไงมันเดินไปคนละทางยังไง มันใครหลงโลภกันแน่นอน มันเป็นอย่างนั้น ถึงขนาดนั้นเชียวนะ อย่าเข้าใจเป็นเล่นเนี่ย ๕ อาจารย์ ๕ เรื่อง ก็โดยส่วนมากอาจารย์ที่เอากายขึ้นมาพิจารณามากที่สุด แต่สำหรับผู้หาทางสร้างกำลังตปธรรมก็ทรมานเนี่ย ถ้าใครได้ทราบประวัติของพระพุทธเจ้าจริง ๆ จนกระทั่งพระองค์ศึกษาจากใคร ๆ เป็นลำดับ จนกระทั่งพระองค์ออกจากอาจารย์แล้วมาดำเนินนี้ พระองค์ดำเนินแบบไหนเบื้องแรก ที่ออกมาใหม่ ๆ และต่อจากนั้นไปพระองค์ดำเนินอย่างไร จึงเป็นเพื่ออาชยะวิชชา พระองค์ทำยังไง แล้วเอากำลังจากไหนไปอุดหนุน ถ้าใครได้เข้าใจอย่างนี้ เห็นกุญแจในเลย มองชัดทางเดิน พร้อมค่อยเป็นลักษณะของธรรมถูกต้องเลย ชัดขึ้นมาเลย ถ้าใครไม่เข้าใจตรงนี้แล้วก็รับรองเลย รับรอง เพราะฉะนั้นถึงว่าบรรดาครูบาอาจารย์ที่สอนกันอยู่ปัจจุบันนี้ สอนให้ละกิเลสนอก ส่วนในนี้ไม่รู้เรื่องกันเลย วงในตีไม่เป็นเลย ทีแรกสอนกันให้ละกิเลสที่เรียกว่ากามภพชั้นหยาบ ๆ ส่วนลึกลับไม่รู้เรื่อง ฟังดูแค่เข้าสมาธิไปสู่อัปปนาสมาธิ ยังไม่ได้อยู่อัปปนาด้วยต้องถอนออกมา มาอยู่ในระหว่างขณิกะกับอุปปจาระก็ไม่ใช่ ไม่รู้มันติดจุดไหนกันแน่ แล้วก็ออกมาทำงานกันร็อกแร็ก อยู่ตรงนี้เอง ทีนี้ส่วนกิเลสในสมาธิไม่รู้เรื่องกันเลย แล้วก็ไม่ได้แก้ไข ยังไม่ได้ชิมด้วยพูดโดยตรง ถึงขนาดนั้น ลองคิดดูแล้วกัน นี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งเขาเข้าสมาธิไปแล้ว เขาถอนออกมานั่งเล่นอยู่อย่างพวกเราธรรมดา แล้วไม่รู้จะเข้าไปทำไมกัน กำหนดกันเข้าไปอย่างนั้น มันเข้าไปได้แล้วก็เข้าไปอยู่แช่อยู่อย่างนั้น กี่บาทที่จะทำงานจะทำยังไง ถอนสมาธิมานั่งอยู่อย่างนี้ นั่งคิดซึมไปเลยนี่ อาตมาเคยได้รับจาอาจารย์อย่างนี้ก็มี นี่มันยังไงกันอีกวะ มันไปศึกษามาจากไหน ตำนานอยู่ตรงไหนบ้าง เอ..เอาตัวอย่างใคร ลูกศิษย์ของพุทธเจ้าองค์ไหนวะ เราเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าโคดมนี้ ก็มองเห็นอยู่ลึก มองเห็นอยู่ชัดแล้วว่าพระองค์เดินไปอย่างนี้ ชัดเหลือเกินเนี่ย เอะทำไมคนนี้มาพูดไปอย่างนี้ไปเห็นมาจากองค์อีกวะ ไม่รู้เป็นสาวกของใครก็ไม่รู้ตกตลึง แต่มองดูเพศก็เหมือนกันกับเรา เอะมองดูท่าทีทั้งหมด กริยาวัตรก็ของเรา แต่พูดถึงแล้ว เรื่องธรรมะปฏิบัติลักษณะของธรรมถ้าไปคนละศาสนาแล้ว ฮึ อย่างนี้มันก็ลองคิดดูนี้ อย่างที่อาตมาสอนอุบายวิธีการทำลายภามภพชั้นหยาบ อันนี้ติดเราติด คล้ายกับว่าติดแบบสัญญา เราก็แก้แบบสัญญาโดยอุบายวิธียังไง แล้วก็ให้กำลังของสติปัญญาทำลายแบบไหนแก้แบบนั้น แล้วก็วิธีผลักเข้าไปสู่สมาธิชั้นแรก หรือขณิกะผลักแบบไหน เมื่อตกเข้าไปสู่กระแสแล้วมันมียังไง อาตมาสอนเป็นลำดับไปเลย ตลอดวิธีเขยิบขึ้นมา ถ้าพวกเราจำไม่ลืม ซึ่งอาตมาบัญญัติมาพูดเนี่ยแปลกนะ ศัพท์นี้ไม่ใช้ภาษาทางวัดนะ ไม่ใช้ภาษเก่า บัญญัติขึ้นใหม่ ๆ นับไม่ถ้วนเชียวนะภาษาอาตมาเนี่ย บัญญัติขึ้นอะไรเป็นอะไรนี้ บัญญัติใหม่ต้องกายอยากจะนำธรรมะที่ลึกนะ มันลึกดึงขึ้นมาให้พวกเรามองเห็น แล้วก็ศัพท์มันลึกลับ พยายามบัญญัติใหม่ ๆ ให้พวกเราได้เข้าใจกัน เป็นศัพท์ที่บัญญัติใหม่ ๆ เยอะแยะหมดเลย ถ้าจำได้ เช่น ตัวอย่างเบื้องแรกวิธีสร้างสติอย่างนี้ก็มีนะ บางทีก็บังคับแบบที่เรียกว่ากามวิจรกุศลจิต ทำลายเสียความรู้สึกทางที่เป็นบาป บังคับเข้าสู่ความรู้สึกที่เป็นบุญ อันนี้เป็นเบื้องแรกของผู้ปฏิบัติอยู่แล้ว ทีนี้พอหากบังคับเข้าสู่ทางที่เป็นบุญมันก็หนักในทางที่เป็นบุญเรื่อยไป หนักในทางที่เป็นบุญเรื่อยไป ส่วนที่กำลังจะพุ่งไปเป็นเบรคบังคับไม่ได้เอาเพียงแค่นั้น ทีนี้กลับพิสูจน์อีกละ พิสูจน์เหตุผลเสียผลดีอีกละ ทีนี้ส่วนที่ผลักเข้ามาเป็นทางที่เป็นบุญมันต้องดูความเศร้าหมองของจิตเป็นส่วนใหญ่อีกละ เข้ามาพิสูจน์อย่างนี้ มันละเอียดขึ้นมา ละเอียดขึ้นมาเป็นลำดับ อาตมาสอนมาไม่ใช่อยู่คงที่เดินขึ้นมาเรื่อย ให้มันละเอียดขึ้นตามผู้ที่ประพฤติปฏิบัติได้นี้มันเป็นอย่างนี้ เออ..สำหรับอาตมาสอนนะ จนกระทั่งกิเลสหยาบที่สุดคือกามภพชั้นหยาบ และกิเลสชั้นละเอียดลงไปอีก ชั้นกามภพชั้นหนึ่งกามภพชั้นสองจนอันดับที่สามของกามภพ ตามรูปลักษณะ ต่อจากนั้นเข้าไปสู่ภพ ในลักษณะของรูปภพที่เราเข้าไปอยู่หลงไหลในขณะนั้น มีอยู่ ๔ อันดับด้วยกัน ถึง๔ อันดับ ต่อจากนั้นตกเข้าไปสู่กระแสอรูปภพ ในลักษณะของอรูปภพมีเช่นไร แล้วก็จะเข้าไปทำลาย มีกระทั่งก้าวไปสู่ที่สุดเขาเรียกว่า นิโรธสมาบัติ ได้แก่สัญญาเวทนญิตัดนิโรธเป็นองค์ที่สิบ คือว่าเป็นตัวอุตตรธรรมองค์ที่ ๙ อธิบายให้หมดทุกลักษณะและกิเลสแต่ละตัวที่ก้าวผ่านหน้ามันเป็นยังไงบอกเลย ตลอดความรู้สึกที่ไหวคือแบบนี้ หน้านี้กิเลส หน้านี้แหละตัณหาอะไรเหล่านี้ ป้ายให้เลยบอกว่าตัวนี้ตีเลยอย่ารอ เขกกระบานได้เลย นี้ตัวมัน เราจะนั่งสมาธิ เอ๊ามันอยากให้เดินอะไรอีกเล่านั้น เวลาเราไปเดินอยากจะให้นั่ง นั่นแหละ พญามาร นั้นแหละตัวกิเลสเขกกระบานได้เลย ตบเข้าไปเลย บอกว่าไปเลยมึงอย่ามา บอกว่ารู้หน้าแล้วกิเลส มันได้เลย เพราะฉะนั้นเรื่องกิเลสนี้ท่านสมมุตเอาความรู้สึกของจิตที่เคลื่อนไหวอย่างนั้น อย่างนั้นเป็นกิเลสตัณหา มันไม่ใช่ตัวเหมือนกับลิง เหมือนกับชะนี จะวิ่งเข้ามาหาเราเมื่อไร พุทโธ ความจริงนะนี้พูดความจริง นี่อาตมาอธิบายตั้งแต่โน้นเป็นลำดับ จนกระทั่งในเบื้องแรกนะ คือ เรานี้มันวุ่นวายจริง อารมณ์สัญญาพุ่งแรก เราจึงได้สร้างกำลังบังคับคล้ายกันว่า อาศัยสติเป็นเบรคยับยั้งบังคับให้หักลึกตรงด้านไหนก็แล้วแต่ บังคับเข้าจนเอาชัยชนะกันได้ เป็นวิธีสร้างกำลังสติให้เป็นเบรคยับยั้ง เป็นอุบายเบื้องแรกอยู่แล้ว เป็นลำดับขึ้นมา จนกระทั่งวิธีทดสอบทดรองอะไรหมด อาตมาบอกหมดเรียบร้อยน่าจะทำได้เหมือนกัน นี่อย่างหนึ่ง ทีนี้ต่อจากนั้นไปพอเอาชัยชนะอย่างนี้ได้เรียบร้อยดีแล้ว ต่อไปนี้อ่านความเศร้าหมอง พออ่านความเศร้าหมองของจิตเสร็จแล้ว ทีนี้มันจะไปดื่มด่ำในผลสมาธิ หลง นอกจากดื่มด่ำในผลของสมาธิ จะได้ไปดื่มด่ำในเรื่องรู้เห็นเดียวก็รู้อันนั้น เดียวก็เห็นอันนี้จะต้องพยายามตักกระแสอันนี้อีกกันว่าน่าดู พอเลยจากตัวนี้เข้าไปนะ มันจะรวมเอากำลังสิ่งต่าง ๆ ที่จะออกมาแสดงใช่ไม่ ต้องการจะเป็นครูเป็นอาจารย์สงสารคนโน้น สงสารคนนี้ เมตตาคนโน้น เมตาคนนี้ สงสารคนที่เป็นศัตรู คือตั้งตัวเป็นข้าศึกต่อพระศาสนา พูดง่ายก็คือมหาโจรนั่นเอง เกิดสงสาร มาสงสารผู้ที่เข้ามาทำบุญให้ทานบริจาค แม้มองดูแล้วรู้สึกมืดมนเหลือเกินหนอ สักแต่ว่าทำหนอ ทำไมหนอ จะทำบุญถูกต้อง ไงในที่เรียกว่าบุญกุศลหนอ นี่เป็นเพียงที่ว่าทำบุญเฉย ๆ ไม่แน่นอน คติไม่แน่นอนนะ อะไรเหล่านี้นะ เป็นแล้วมันก็เมตตา จะหาทางมาอบรมสั่งสอนเขา โดยคล้ายกันว่าการวิเคราะห์วิจารณ์ วิจารณ์ซึ่งความรู้พิเศษ ซึ่งจะมาช่วยเรา ควรหรือไม่ควร ไม่มี เราจะหลงไปแบบนี้ เราจะแก้กันอย่างไร อะไรเหล่านี้ สอนหมดเลย มันเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจึงว่ากิเลสตั้งแต่หยาบที่สุด คือ กามภพชั้นหยาบ จนกระทั่งทั้งละเอียดเป็นลำดับไปนี้ บอกทุกหน้าเลย ป้ายปูนไว้ให้ด้วย บอกว่าหน้านั้นมาแบบนั้นละ ยกมันได้ทันทีเลย บอกว่าตัวนั้นตัวที่เราจะปฏิวัติมันถึงขนาดนั้น แล้วทีนี้พูดถึงปฏิบัติแนะนำ โดยคล้ายกันไม่บอกลักษณะของกิเลสให้เข้าใจจริง ตลอดกำลังที่จะเข้าไปตีกันต่อสู้กันนะ ไม่บอกกันแล้วมันนะสร้างเอากำลังมาต่อสู้แบบไหน ทำไง ไม่ได้อธิบายอันนี้ละเอียดละออ ทำไมมันจะทำได้พ่อพระคุณเอย แม้อาตมานี้กลุ้มใจเหลือเกิน กลุ้มใจจริง ๆ จะทำยังไง มันจะขว้างไปได้ เพราะฉะนั้นถึงว่าทำไมถึงได้ไปเห็นผี เห็นเทวดา เห็นต้นไม้ เห็นอะไร ก็ว่าเห็น ว่ารู้เรื่องจริง ๆ จัง ๆ เสียด้วย ปัทโธ่เอ๋ย อีบัดกลับไปบ้านด่าลูกด่าหลาน โทษหัวหมู หัวหมา ตีไก่ ตายแล้วดูไม่ได้เลย ก็เพราะว่ามันทำสมาธิไม่ถูกนั้นเอง เนื่องจากผู้สอนก็ไม่เข้าใจ ดีไม่ดีจะสอนลูกศิษย์ให้หลง แบบที่เรียกว่าเป็นไปแบบโลก โลกานุวัต ไม่ใช่ธรรมมานุวัตเสียแล้ว ไปกันใหญ่ อาตมาก็อย่างว่าด่าคนก็เก่ง ป้ายคนก็เก่งไม่รู้ว่ายังไง ตัวเองจะเก่งหรือเปล่า ก็ไม่หรอก แต่เล่าให้พวกเราฟังให้พิจารณาเอาเอง อาตมานี้สอนขนาดไหน แล้วขนาดนี้พวกเราไปไม่ได้ ที่เขาสอนกันแบบงู ๆ ปลา ๆ มันจะไปได้ยังไง แล้วคนที่สอนก็ยังไม่เห็นเสียอีกด้วย พุทโธ่เอ๋ย พอได้กำหนดยามไล่ พระตรัยสรณะคนเศร้าหมองทันที พอนึกปั๊บก็เศร้าหมองเลย ไม่ให้นึกพระพุทธเจ้า พระองค์ยืนยันบอกว่า วันคืนไม่ให้ทำอะไรให้เราสู้ วันคืนไม่ให้ทำ เราดีอยู่ที่ความประพฤติของเราต่างหาก ท่านบอกว่าอย่างนี้จะร่ำรวยหรือไม่ร่ำรวยอยู่การกระทำของท่าน พระพุทธเจ้าบอกอย่างนั้น อาตมาเชื่อพระพุทธเจ้าเชื่อเหลือเกิน ไอ้ถือแบบพราหมณ์ล่าช้าก็ตัดผมเถอะ ไม่ได้ฤกษ์ได้ยามก็ตัดผมไม่ได้ อ้าวพอได้ฤกษ์ได้ยามเกิดมีสิ่งขัดขวางตัดก็ไม่ได้ เสียเวลาไม่ได้เรื่อง อย่าไปถือเลยพวกเรา เอาพุทธแท้ ๆ ให้เป็นพุทธลองดู นี้วัดพุทธ อันนี้พุทธมามกะแท้ ไม่ใช่พราหมณ์แล้ว พุทธแท้ว่าเถอะหรือหากว่าอาตมาเข้าใจแบบป่าเถื่อน ๆ ก็ลองดูดี ๆ ถึงจะเห็น ขอให้อาตมาทำความดีตลอดชีวิตของอาตมาพอแล้ว มีอะไรมาขอให้อาตมาได้ทำบุญกับหมู่คณะที่อาตมาชอบ ที่อาตมานิยมเลื่อมใสนี้ อาตมาอิ่มลงไปมาก อิ่มลงไปใครจะว่ายังไงก็ว่าเถอะ ภายนอกขอให้อาตมาได้ทำบุญร่วมหมู่ร่วมคณะให้เต็มอกให้เต็มใจ และส่วนภายในขอให้มีโอกาสได้ประพฤติปฏิบัติแล้วก็ภูมิใจแล้วนี้ อิ่มใจที่สุดก็แล้วกัน อาตมาไม่ปรารถนาอะไรมาก

วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๐๙
ณ วัดเขาสุกิม


หน้าแรกธรรมะ
กระดานข่าว
ลงสมุดเยี่ยม
อ่านสมุดเยี่ยม
ผู้เขียน

เชื่อมโยงกัลยานิมิตร >>
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว / สมเด็จพระมหาสมณเจ้า / พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร / พุทธประวัติ, พุทธโอวาท / ธรรมะพุทธองค์ / พุทธศิลป์ โดย อ.เฉลิมชัย / ธรรมะจากพระป่า / กองทัพธรรมพระกัมมัฏฐาน / ประวัติหลวงปู่มั่น / หลวงตามหาบัวช่วยชาติ / จังหวัดจันทบุรี / อำเภอนายายอาม / รอยยิ้มของพ่อ

เหมาะสำหรับจอภาพที่แสดงผลที่ 800 x 600 และเพื่อความสวยงามยิ่งขึ้นหากแสดงผลที่ 1024 x 768 (Microsoft Internet Explorer)
วัดเขาสุกิม
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2543

พัฒนาและออกแบบโดย นายทวีศักดิ์ รัตนคม    
ติดต่อสอบถามได้ที่ webmaster@khaosukim.org   
และทาง msn ได้ที่ hs2wjo@hotmail.com