หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
ประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี
เรื่อง : สร้างสติระวังกิเลสคลุมกาย
            เรียกว่าสติยังไม่เต็มประตู คนองไม่ได้ นี่เรียกว่าคนองกาย คำที่ว่าคนองกาย แสดงจนกระทั่งถึงโลกาวัช ซึ่งชาวโลกติสินนินทานั้นหยาบมาก เมื่อสติสมบูรณ์ละเอียดดีแล้ว การคนองกายเพียงแค่ที่ว่า กระดิกนิ้วมือก็ดี กระดิกนิ้ว เท้าก็ดี กระดิกขาก็ดี ไกวขาก็ดี หรือจับอะไรต่ออะไรมา เคะเล่า กีอก ๆ แก๊ก ๆ โดยไม่มีเหตุผลทั้งหมดนั้นเรียกว่าไปโดยโมหะจิต กระดิกขาก็ดี ไกวขาก็ดี หรือจับอะไรต่ออะไรมาเคะเล่า ก๊อก ๆ แก๊ก ๆ โดยไม่มีเหตุทั้งหมดนั้นเรียกว่าไปโดยโมหะจิต เรียกว่าคนอง นี้เรียกว่าคนองกาย การคนองในทางวาจา การพูดตลกคนอง ขบขัน ในสิ่งที่ไม่มีสารโดยหมายความว่า คำพูดไม่ได้จูงหรือโน้มน้าวจิตใจของคนให้มาเข้าใจในหมวดธรรมะอันนี้ ๆ พูดโดยธรรมดา ๆ ไม่ได้คำนึงถึงเหตุถึงผลถึงประโยชน์ในคำพูด อันนี้มันเสียเพราะฉะนั้น เมื่อสมบูรณ์ดีแล้วการคนองกายไม่มีการคนวาจาไม่มี ใจอีกล่ะ ก็เข่าไปแต่งได้นี่มันเป็นอย่างนี้ นี่มันอยู่ตรงนี้ เพราะฉะนั้น ผู้มีสติหรือไม่มีสติเรามองรู้เรื่องไม่ยาก เพียงนั่งอยู่เฉย ๆ เรามองรู้เรื่องมันเป็นอย่างนั้น แต่ว่าการเทศน์การธรรม เมื่อหากเทศน์ธรรมธรรมดาอย่างหนึ่ง บรรยายธรรมะธรรมดาอย่างหนึ่ง ตัวอย่างองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า อย่างการเทศน์ธรรมจักกัปปวัตนสูตร พระองค์ก็ ต้องแสดงให้ดูดความหมุน หมายความอันนี้เรียกว่านิมิตให้เห็น อันนั้นก็อย่างหนึ่งธรรมดาเมื่อสนทนากันนะ ถ้าเทศน์เป็นกิจจาลักษณะก็ว่ากันไปตามเรื่อง เมื่อพูดอธิบายธรรมะย้อนหลังให้เข้าใจอันนี้ก็ไปอีกรูปหนึ่ง มันก็มีอย่างหนึ่ง หรือบางทีอาจจะเาอวัตถุอันใดอันหนึ่งมาเทียบเพื่อให้เป็นนิมิตต์อย่างนี้ก็มี เพราะฉะนั้น จึงว่าสำเร็จด้วยนิมิตต์สำเร็จด้วยบริกรรมสำเร็จด้วยโอภาสสำเร็จด้วยวาจาที่อธิบายสู่ฟังให้เข้าอกเข้าใจได้หลายฐาน นี่เป็นของที่จะต้องประกอบนี่มันเป็นอย่างนี้
            อาตมาเคยสังเกตตัวของตัวเอง สมมติว่าการวางท่าวางทาง บางทีเมื่อมีสิ่งใดบัญชาเป็นบางอย่างออกมาหมายความว่ามีสิ่งคลุมกายซึ่งเป็นกิเลสอยู่ การวางแขนกวางขาการวางมือ หยิบของ อะไรทังหมดกิริยาท่ำทแสดงให้เห็นว่ากิเลสบัญชาได้อยู่ชัดในตัวของตัวเองรู้ได้ชัด ก็พยายามสร้างสติให้แข็งขึ้น ๆ พยายามรับรู้ให้ดีขึ้น ๆ ผลสุดท้ายก็ระงับหมดทั้งกาย ราบคาบไปหมด พอเราจะยื่นแขนขาออกก็ไม่มีอำนาจส่วนใดเข้ามาปรุงหรือบัญชา เป็นเรื่องเราพิจารณาดีแล้ว ไปด้วยกำลังของสติโดยตรงอะไรเหล่านี้ นี่ทันผิดกันอยู่ตรงนี้ สังเกตได้ นี่ลองพิจารณาดูเอาเองซี่ เป็นของง่าย พูดถึงเรื่องความสมบูรณ์ที่เอาสติแต่งให้สมบูรณ์นี่ อากัปกิริยานี่มันยุบตามกันไปหมด ท่านเรียกว่านอบน้อมหรืออ่อนน้อมสมกับว่า นะโม ตัสสะ เหมือนกัน เป็นผู้มีอาการอันอ่อนน้อมทั้งกายและวาจาพร้อมทั้งใจ เมื่อบำเพ็ญเข้าไปถึงฐาน มีสติตัวระลึกไวเป็นชวนจริง ๆ แล้ว รู้สึกว่ามันพร้อมดีเหมือนกัน อาการจะต้องอ่อนน้อม อะไร ๆ เรามองแล้วรู้สึกว่ามันนิ่มนวลมันแปลก ๆ เหมือนกัน เผื่อหากว่าเราไม่มีสติเข้าไปจัดสรรให้สมบูรณ์ นกระทั่งเป็น มัชฌิมาปฏิปทาธรรมแล้ว มันก็ยังงมีอยู่ มันอาจจะกลางเป็นในแนวที่เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค หรือว่ากามสุขอะไรในทำนองนี้ จะมีปรากฎอยู่เป็นธรรมดา นี่มันเป็นของดูได้ง่าย ๆ คนที่มีสติสมบูรหรือไม่สมบูรณ์นะเป็นของดูได้ง่าย ๆ เพราะสิ่งทั้งปวงไม่เป็นไปโดยธรรมชาติ สิ่งทั้งปวงไม่ได้เป็นไปเอง การเคลื่อนไหวอาการกระกิกทั้งหมดนั่นแหละมีสติคุมหมดอาการเคลื่อนไหวทุกจุดไม่ได้ไปโดยธรรมชาติแม้แต่น้อยหนึ่ง รู้หมด กระดิกนิ้วมือนิ้วหนึ่งก็รู้ กระดิกเพราะเหตุไรประสงคือย่างไร รุ้ จึงได้เรียกว่า เป็นผู้มีสติระลึกรู้ทั่วกายเลย ภาคกายานุปัสสนาปฏิปทา มีสติระลึกรู้ทั่วกายกระดิกนิ้ว –มือออกนิ้วหนึ่งเพื่อประสงค์อะไร ต้องมีความหมายนั้นด้วย จะยื่นแขนออกทีหนึ่งเพื่อประสงค์อะไร สิ่งทั้งปวงสิ่งเจือหรือเปล่า มันมีอยู่ตรงนี้เหมือนกัน เพราะเหตุนั้นอาการที่ยื่นแขนขาหรือกิริรยาพลิกแพลงทั้งหมดมันอาจจะมีกิเลสสั่งบัญา ให้เป็นไปตามอำนาจของกิเลสก็ได้ ในตัวมารยาที่แสดงมองเห็นได้ เพราะฉะนั้น เมื่อผู้ที่มีสติสมบูรณ์แล้ว ทุกอาการเคลื่อนไหวมีความหมายหมด ไม่ได้ไปโดยธรรมชาติเลย วาจาที่พูดก็มีจุดแล้ว เล็งไว้แล้วจุดที่พูด เราพูดมุ่งต้องการจะเอาเข้าไปจุดนี้ ถึงแม้คนนี้จะเอ่ยขึ้นในเรื่องนี้ก็ตาม พยามยามพูดเพื่อตัดรอนแล้วจะหานโยบายพูดโยงมาถึงจุดอันมีค่า ต้องมีอยู่อย่างนี้ ไม่ใช่คนนี้เอ่ยขึ้นในสิ่งที่ไม่เป็นสาร ก็ต่อกันในสิ่งที่ไม่เป็นสาร ไม่ใช่อย่างนั้น การเอ่ยขึ้นในสิ่งที่เป็นสาร ต่อในสิ่งที่ไม่เป็นสาร ไปด้วยกำลังของโมหจิต ไปด้วยความโง่ ความหลงของจิต นี่มันเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ทุกส่วนผู้ที่สติแล้วรู้สึกว่าจัดสรรได้ดีมากทีเดียว สมบูรณ์มาก นี่พวกเรานี่ต้องการน่าอยากได้น่ารักในเรื่องสตินี้ เพราะฉะนั้น พยายามสร้างกันให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เมื่อเรามีสติสมบูรณ์จริง ๆ แล้วกายก็ระงับ วาจาก็ระงับ จิตก็ระงับไปด้วย กิเลสทั้งหลายมันอยู่ไม่ได้มันจัดสรรออกหมด ดีชั่ว ชั่วดี มันรู้หมด
            นี่แหละ ขอให้พยายามให้สร้างให้มากที่สุดสติ หรือถ้าจะแยกสมมุติออกมันก็ไม่มีอะไร ถ้าจะแยกออกโดยให้ได้ใจความ อย่างพระพุทธเจ้าพระองค์แยกออกในยุคสมัยนั้นให้ได้ใจความ สติก็เป็นหันหนึ่งเสีย ปัญญาก็เป็นอันหนึ่งเสีย สัมปชัญญะก็เป็นอันหนึ่งเสีย แท้ที่จริงมันก็อันเดียวกัน แต่แยกออกอยากจะให้ได้ใจความ ท่านยกรูปเปรียบง่าย ๆ ตัวอย่างคล้ายกันกับว่า สติ เท่ากัน ตุลาการ ท่านว่า ปัญญาเท่ากันกับผู้พิพากษา อะไรในทำนองนี้ ทานว่านะ สติคล้ายกันกับจับโจร จับมาเลย นี้ได้แก่ ตุลาการ เขาจับโจรมา เมื่อจับโจรได้แล้ว ก็ส่งให้ผู้พิพากษาพิจารณา ลงโทษตามแต่ผู้พิพากษา ผิดถูก อย่างไรก็แล้วแต่ฉันใดก็ดี สติตัวกางกั้น สติ ตัวจับกิริยาอาการเคลื่อนไหวทั้งหมดจับไว้แล้ว ปัญเป็นตัวพิสูจน์ ควรไม่ควรดีอย่างไรมาจากไหนอะไร พูดถึงเรื่องตัวบัญชา ตัวไหนกันแน่ พิจารณาถึงผลเสียผลดีอะไรประกอบ อันนั้นเป็นตัวผู้พิพากษา ถ้าเราไม่สมมุติให้สติเป็นตัวหนึ่ง ให้เป็นปัญญาตัวหนึ่งแล้ว เล่าพูดเพียงแค่ที่ว่า สติ ตัวเดียวซะก็มีเพียงสติตัวเดียว คือตัวระลึกรู้ เมื่อเราระลึกรู้ รั้งเอาไว้ หรือเป็นเบรคกัน แล้ก็ใช้สติ ระลึกสอดส่องถึงโทษคุณอีกเหมือนกัน ก็เป็นอันว่ากันกันได้ ทุกทาง ๆ ว่ามาแล้ว ขอให้มันรวมกันก็แล้วกัน อย่าให้มันกว่างอย่าให้มันมาก ผู้ปฏิบัติทำไป ๆ มันจะหมดไป ๆ น้อยไป ๆ การรักษาศีล ก็มารวมอยู่ที่สติ คือ สติวินัย ข้อปฏิบัติทั้งหมดซึ่งอุบายวิธีทั้งหมดก็รวมลงมาให้เหลือได้ในเพียงสติ อัฎฐังคิกมรรค ๘ ทั้ง ๘ องค์ รวมสรุปขอให้ลงมาสู้สติ อันเดียวประกอบ เรียกว่า สมังคี รวมเป็นอันเดียวกันได้ ทีแรกก็ว่ามาก ตั้งแต่ สัมมาทิฎฐิ จนกระทั้งถึง สัมมาสมาธิ สรุป ตั้งแต่สัมมาทิฎฐิ ถึง สมาธิ แยกออกเป็น ๓ ฐาน ตอนต้นเป็นส่วนปัญญา คือ สัมมาทิฎฐิ กับ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว นี้ เป็นส่วนศีล สัมมายาวาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ๓ นี้ เรียกว่าสมาธิ เพราะฉะนั้น รวมมรรค ๘ ลงมาได้แก่ศีล สมาธิ ปัญญา ศีล จะสมบูรณ์บริบูรณ์ได้ เนื่องจากสติ สมาธิที่จะตั้งอยู่ได้เนื่องจากสติ ปัญญาที่จะเป็นไปได้เนื่องจากสติ สรุปแล้ว ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ รวมกันเรียกว่า ไตรสิกขา สิกขา เรียกว่า วินัย วินัย ที่จะสมบูรณ์ได้ สรุปแล้วมาอยู่ที่สติ ตัวสติตัวระลึกรู้ ระลึกรู้ในตามองเห็นรูป ไม่ให้ดีใจเสียใจ หู ได้ยินอย่าให้ดีใจเสียใจ จมูก สูดกลิ่มไม่ให้ดีใจเสียใจ ลิ้น ได้ลิ้มรสอย่าให้ดีใจเสียใจ กายถูก-ต้องสัมผัสอย่าให้ดีใจเสียใจ อารมณ์ใดทั้งหมดที่เกิดขึ้นทางใจก็จัดสรรหักห้ามได้ ผู้ที่มีสติเข้ามาสังวรณ์ บังคับไม่ให้มีความเสียใจดีใจนิ่งสิ่งที่รู้เห็นอะไรทั้งปวงทั้งหมดนี้ ท่านเรียกว่าเป็ผู้มีสติสังวรณ์ เป็นผู้มีสติจับรู้ในอาการอันนั้น โดยหักห้ามไม่ให้ดีใจเสียใจ อันนี้เรียกว่าศีลของพระอริยเจ้า เรียกว่า อริยกัตศีล มันขึ้นอยู่อยู่ที่สติ ผลสุดท้ายสรุปรวมแล้วลงเข้าไปสู่จิต จะดีใจเสียใจได้ต้องจิต ผู้ที่มีสติสมบูรณ์จริง ต้องดูจิตจริง พอเข้าด่าปุ๊ป ไม่ได้ไปมองเหตุการณ์มุ่งจะเอาชนะตัวเองจับที่จิตปุ๊บ จับจิตทันทีเลย จับอยู่ที่จิต ๆ จะเคลื่อนไหวอย่างไร ให้เอาชัยชนะ ไม่มุ่งเอาชัยชนะใครทั้งหมดในโลก อันนี้ท่านเรียกว่าตัวพระอริยเจ้าเป็นบาทฐานแห่งโสดา เขาชมก็จับจิต เขาด่าก็จับจิต ไม่ได้มองที่กาย ไม่ได้มองเหตุการณ์มองอยู่ที่จิต ว่าปฏิกิริยาของจิตที่แสดงต่อสิ่งกระทบมันแสดงแบบไหน มุ่งเอาชนะตัวเอง นี่ท่านเรียกว่าบาทฐานของโสดาบันบุคคล เป็นพระอริยเจ้า ทีนี้กำลังอันที่เรียกว่าศีล อันนี้อีก ก็เรียกว่าอธิศีล ศีลยิ่ง อธิศีล คือ ศีลยิ่ง เรียกว่า อริยกันตศีล เป็นศีลของพระอริยเจ้าชั้นสูงเสียอีก เมื่อเราทำอย่างนี้จะสมบูรณ์จะเป็นพระอริยเจ้าขี้เมา ถ้าเหตุการณ์อันใดปรากฏเกิดขั้นไปมองเหตุการณ์คนนั้นจะก่อเรื่อง เมื่อเหตุการณ์ชนิดใดเกเดขึ้นเราดูที่จิต คนนั้นแหละจะเป็นผู้ตัดขาดในภพจิต คนนั้นแหละจะเป็นผู้ชนะ คือชนะตัวเองนั่นเอง เรื่องชนะวาทะมาเอาวาทะชนะ ความชั่วมาเอาความชั่วชนะ เขาต่อยมาเอากำปั้นชนะ เรื่องชนะแบบนี้ท่านเรียกว่าคนพาล คนที่เอาชัยชนะตนเองท่านเรียกว่าบัณฑิต คนเอาชัยชนะตัวเองเรียกว่าพระอริยเจ้า เขาด่าเราไม่ด่า เขาเป็นศัตรูเราขอเป็นมิตรเขาใช้ความดุร้านมา เราใช้ความอ่อนหวาน หมายความว่าความตั้งใจเรียกว่าสังกัปปะ คือ ความตั้งใจไว้ชอบมุ่งจะเอาชัยชนะตัวเองนี้ เรียกว่าแนวของพระอริยเจ้า ผู้ทีทำเช่นนี้เป็นผู้สมควรแก่ โลกตรธรรม เป็นผู้สมควรแก่มรรคผลชั้นสูง นี่เราต้องพยายามอย่างนี้ นี้เรียกว่าชั้นเชิงของนักปราชญ์มันมีอยู่อย่างนี้

หน้าแรกธรรมะ
กระดานข่าว
ลงสมุดเยี่ยม
อ่านสมุดเยี่ยม
ผู้เขียน

เชื่อมโยงกัลยานิมิตร >>
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว / สมเด็จพระมหาสมณเจ้า / พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร / พุทธประวัติ, พุทธโอวาท / ธรรมะพุทธองค์ / พุทธศิลป์ โดย อ.เฉลิมชัย / ธรรมะจากพระป่า / กองทัพธรรมพระกัมมัฏฐาน / ประวัติหลวงปู่มั่น / หลวงตามหาบัวช่วยชาติ / จังหวัดจันทบุรี / อำเภอนายายอาม / รอยยิ้มของพ่อ

เหมาะสำหรับจอภาพที่แสดงผลที่ 800 x 600 และเพื่อความสวยงามยิ่งขึ้นหากแสดงผลที่ 1024 x 768 (Microsoft Internet Explorer)
วัดเขาสุกิม
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2543

พัฒนาและออกแบบโดย นายทวีศักดิ์ รัตนคม    
ติดต่อสอบถามได้ที่ webmaster@khaosukim.org   
และทาง msn ได้ที่ hs2wjo@hotmail.com