หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
ประธานสงฆ์วัดเขาสุกิม จังหวัดจันทบุรี
เรื่อง : การทำสมาธิ
            “กระผมขอกราบเรียนถามท่านอาจารย์ในเรื่องการทำสมาธินี้ เขามีวิธีทำกันอย่างไร และทำกันแบบไหน”
             การทำสมาธิหรือ ทำไม่ถูกหรือ เสร็จเลย เสร็จกันเราโว้ย
            “กระผมเพิ่มมาใหม่ ก่อนนี้กระผมก็ยังไม่เคยทำ”
            พูดถึงการทำสมาธินี้ เราดูในตำรานี่ ดูในตำราจะเข้าใจว่า เราทำสมาธิเพื่ออะไร เราจะเข้าใจนะ เราทำสมาธิเพื่ออะไร พอเราเข้าใจว่า ทำสมาธิเพื่อต้องการจะทำลายสิ่งนั้น กำลังที่จะข้าไปทำลายคืออะไร วิธีสร้างกำลังชนิดนั้นสร้างอย่างไร เราจะรับรู้ชัดเลย เมื่อเรารู้เราก็ทำถูก วิธีเกินจงกรม วิธีนั่งสมาธิ วิธีนอนทำสมาธิ วิธียืนทำสมาธิอะไรบอกไว้หมดบริบูรณ์ แต่พูดถึงเรื่องสมาธิจิตนี่ มันก็มีอยู่หลายอย่าง ในหลักอัฎฐังคิกมรรค ๘ พระพุทธเจ้าก็วางหลักสัมมาสมาธิเอาไว้ แต่มิจฉาสมาธิพระองค์ไม่ได้เล่า คำที่ว่าสัมมาสมาธินี้ หมายถึงสมาธิที่ชอบ สมาธิที่ถูก มิจฉาสมาธินี้ หมายถึงสมาธิที่ไม่ถูกที่ไม่ชอบ คำที่ว่าสมาธิที่ไม่ถูกที่ไม่ชอบนี้ มีอยู่อย่างนั้น อย่างที่เราเคยได้ยิน ผู้ที่ทำสมาธิเล่ากัน เขาบอกว่าทำสมาธิไปแล้ว มองเห็นแสงสว่าง โล่งและสบาย ๆ อย่างนั้นก็มี บางคนก็ว่าอย่างนั้นนะ บางผู้บางคนก็มองเห็นนรก เห็นสัตว์นรก บางผู้บางคนก็มองเห็นสวรรค์ บางคนก็มองเห็นปุพพกรรม ใครทำกรรมอย่าง ๆ ก็แสดงปรากฏให้เห็นขึ้น บางคนพอทำสมาธิไป มีอรรถาบาลีอะไรต่าง ๆ บ้าง ปรากฏผุดขึ้น ให้ได้ยินในทางหูบ้าง ปรากฏขึ้นมาในทางใจบ้าง หรือมีคนมาบอกอย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง มันเป็นไปหลายทาง
             สิ่งที่รู้เห็นและเป็นอย่างนี้ จะพูดว่าเป็นสัมมาสมาธิไม่ถูก ต้องเป็นมิจฉาสมาธิ แต่ว่าผู้ที่ทำสมาธิมันก็รู้เห็น แต่ที่ว่าจัดเป็นมิจฉาสมาธิ หมายความว่า ได้เพียงแค่ที่รู้เห็นเท่านั้น คุณธรรมส่วนอื่นไม่ได้เลย มีได้เพียงแค่นั้น เมื่อหากได้เพียงแค่นั้นก็จัดเป็นมิจฉาสมาธิ ก็ยังไม่ถูก คำที่ว่ายังไม่ถูกนั้น เพราะเหตุใด ยังไม่ถูกเพราะว่า พระบรมศาสดาจารย์เจ้า สอนให้พวกเราทำสมาธิ ซึ่งจักเป็นหลักสัมมาสมาธิไม่ได้สอนอย่างนั้น คำที่ว่าสมาธิ ๆ แปลว่าความตั้งใจไว้ชอบ หรือว่าตั้งใจไว้มั่น สัมมาเปลว่าชอบ เมื่อรวมคำที่ว่าสัมมากับสมาธิเรียกว่าความตั้งใจไว้ชอบ จึงถูกตามศัพท์
            ทีนี้ความตั้งใจไว้ชอบเพียงแค่นี้ ก็ฟังกันไม่รู้เรื่อง พูดเป็นรายส่วนใหญ่เรื่องการทำสมาธิจิตนี้ เราจะเข้าใจได้ ในหนังสือนี้ หรือจะบอกให้อีกก็ได้ บอกว่าการกระทำสมาธิจิตนี้ เราก็ต้องการมุ่งจะทำการปฏิวัติกำจัดสิ่งสิ่งที่ดีออก สิ่งที่ไม่ดีนั้นมีอะไรบ้าง สิ่งที่ไม่ดีถ้าจะพูดแล้ว ก็ได้แก่ สิ่งที่จะนำพาให้เกิดทุกข์ทั้งหลาย สิ่งใดเล่าที่นำพาให้เราได้เกิดทุกข์นั้น เราก็คงจะมองเห็น ตัวอย่างในหลักปฏิจจสมุบาท ท่านบอกว่าอวิชชา ปัจจยา สังขารา อวิชชานี้คือความไม่รู้ เป็นเหตุให้เกิดสังขาร สังขารราปัจจยา วัญญาณัง สังขารนั่นแหละทำให้เกิดวิญญาณ วิญญาณะ ปัจจยา นามรูปัง วิญญาณนั่นแหละทำให้เกิดนามรูป นามรูป ปัจจยา สพายตนัง เมื่อมีนามรูป ต้องมีชรา เมื่อมีชรามันก็มีโรค เมื่อมีโรคมันก็มีตาย และมีโศกมีอะไร ทางทุกข์ทั้งหลายเรียกว่าปกิณณกทุกข์ มันก็ต้องต่อกันมา เมื่อพิจาณณาถึงบาทเบื้องต้นของปฏิจจสมุบท ความเกิดของเราเกิดมาจากอวิชชา คือความไม่รู้ ความไม่รู้ เป็นเหตุให้เราได้เกิดขึ้นมา พูดเพียงแค่นี้ก็ยังไม่ได้ความอีก เพราะผู้ฟังอาจจะไม่สะอาดหรือไม่กระจ่าง จะอธิบายเพิ่มเติมอีกอย่างคำที่ว่าไม่รู้ คือ อวิชชานี้ ไม่รู้อะไร มันไม่รู้จริงตามสภาพความเป็นจริง คำที่ว่าไม่รู้จริงตามสภาพความเป็นจริง ก็มีอยู่หลายนัย ไม่รู้จริงตามสภาพความเป็นจริงก็ได้แก่ อย่างสมมุติว่าเราหลงว่าร่างกายเป็นของเรา เราเป็นร่างกาย แต่ที่จริงจิตใจเป็นเรา เราเป็นจิตใจ จิตใจเป็นเรา ตัวของเราคือจิตใจ ไม่ใช่ร่างกายเป็นเรา ไม่ใช่เราเป็นร่างกาย ร่างกายเป็นเครื่องอาศัยหรือยานพาหนะของจิตใจเท่านั้นเอง เมื่อหากจิตใจจะต้องการอะไรก็บังคับร่างกายของเรา ให้ประกอบในสิ่งที่ต้องการ หรือบังคับให้พูดในสิ่งที่ต้องการจะพูด เมื่อหากจิตใจสกปรกต่ำ อำนาจฝ่ายต่ำ เป็นเครื่องนำพา มันจะนำพาร่างกายให้ไปทำในทางที่ผิด มีโทษ มีทุกข์ มีความเดือดร้อน เมื่อจิตใจมีวิชาปัญญา สาเหตุเนื่องจากเราคบค้าสมาคมกับบัณฑิตผู้ฉลาด หรือได้รับการศึกษาดี มาจากสำนักของบรรดาบัณฑิตทั้งหลายได้รับความสว่างเข้าใจแล้ว เมื่อเราเข้าในในทางธรรม จิตใจของเราเป็นธรรม อาการของกายและวาจาย่อมเป็นธรรมไปหมด หมายความว่าการกระทำคำที่พูดมันเป็นธรรมไปหมด ล้วนแต่ที่มีคุณค่า ที่พูดก็ต้องการอยากจะให้เข้าว่า ร่างกายไม่ใช่ของเรา เราไม่ใช่ร่างกาย จิตในนั้นคือเรา เรานั้นคือจิตใจ ร่างกายเป็นเพียงเครื่องมือชนิดหนึ่ง ที่เราจะประกอบในสิ่งที่เราต้องการ พูดแล้วก็มีเพียงแค่นี้
             ที่นี้ เมื่อพูดแล้วอยากจะย้อน ไปพูดเบื้องหลังที่พูดเมื่อก่อนนี้ว่า เมื่อจิตใจสกปรกเนื่องจากอำนาจฝ่ายต่ำนำพา อำนาจฝ่ายต่ำได้แก่อะไร เราจะมารู้กันตรงนี้ อำนาจฝ่ายต่ำมันก็ได้แก่กิเลสตัณหา ได้แก่กิเลสตัณหา กิเลสมันมี ๑,๕๐๐ ตัว ตัณหา ๑๐๘ ตัว แต่พูดเป็นส่วนใหญ่ ตัณหาแยกเป็น ๓ คือ กามตัณหา, ภวตัณหา และวิภวตัณหา กามตัณหาคือความใคร่ในกาม ความใคร่ในกามนั้นใคร่ในอะไร ใครในรูป ใคร่ในเสียง ใคร่ในกลิ่น ใคร่ในรส ใคร่ในโผฏฐัพพะ มีความใคร่หลงในสิ่งเหล่านั้น เรียกว่ากามตัณหา ส่วนภวตัณหาต้องการอยากดี อยากเด่น อยากเก่ง อยากกว่าเขา อยากเลิศ อยากมียศฐาบรรดาศักดิ์ มักใหญ่ใฝ่สูง อันนี้เรียกว่าภวตัณหา ส่วนวิภวตัณหานั้นได้แก่ ไม่อยากแก่ ไม่อยากเจ็บ ไม่อยากตาย ไม่อยากจน อยากคงที่อยู่อย่างนั้น อะไรเหล่านี้เป็นต้น ความไม่อยากเป็นอย่างนี้ ทั้งหมดนี้เป็นส่วนวิภวตัณหา
             นี่พูดส่วนใหญ่ของตัณหา ๓ ส่วนกิเลส ๆ มันเป็นตัวละเอียดเข้าไปอีก มันเป็นตัวดอง เป็นอาสวะ อาสวะแปลว่าเครื่องดอง มันดองอยู่ที่จิตของเรา ซึ่งอาการที่มันดองอยู่นั้น ดองจนกระทั่งกิเลส เมื่อเราไม่เข้าใจ อาจจะถือกิเลสเป็นจิต จิตเป็นจิต แต่แท้ที่จริงกิเลสกับจิต จิตซึ่งมีอำนาจต่ำกว่าอำนาจฝ่ายต่ำ คือกิเลสแล้ว กระแสอำนาจฝ่ายต่ำ บัญชาจิตให้เป็นไปตามอำนาจของมัน เมื่อเรามองแล้วจะเห็นแต่เพียงอาการของกิเลสที่สั่งจิต ทีนี้พูดต้องการอยากจะให้สั้นกระทัดรัด ย่อความลงมาให้สั้นแล้ว การกระทำสมาธิจิตของเรานี้ เราก็คงจะมองเห็นคร่าว ๆ อยู่แล้วว่า การกระทำสมาธิจิต เราก็มุ่งต้องการอยากจะชำระจิตที่ไม่สะอาดนั้น ก็เพราะว่ากิเลสกับตัณหา มันเข้ามาอยู่ในจิตใจของเรา เมื่อเข้ามาอยู่ในจิตใจของเราแล้ว มันมาเป็นเจ้านายจิตใจของเราเสียด้วย ไม่ใช่มาอยู่เปล่า ๆ เมื่อเข้ามาเป็นเจ้านายจิตใจของเราแล้วเล่า มันเอาอย่าง มันก็บังคับจิตใจของเราให้เป็นไปตามอำนาจของมัน เมื่อบังคับจิตใจของเราให้อยู่ในอำนาจของมันแล้ว ยังไม่พอ ยังไม่พอเชียวนะ มันยังแถมที่จะนำพาให้เรา ได้รับความทุกข์นานัปการ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น เพราะอำนาจฝ่ายต่ำมันก็ดึงดูดลงไปสู่ทางต่ำ ดึงดูดไปอย่างไร อย่างบุคคลแทนที่ ๆ จะนอนให้สบาย ๆ อยู่ในป่า ในฐานะที่เราเป็นชาวสวน มาทำมาหากินอยู่ในป่า จะได้นอนสบายตื่นเช้า จะได้ตัดยาง พอเขาประกาศเรื่องหนังดี เอ้ากิเลสตัณหามันลุกขึ้นมาแล้ว ไปเถอะ อ้า ไป ผลสุดท้ายก็ไปแล้ว เอ้อเรื่องไปนะ เสียสตางค์ มันเป็นเรื่องทุกข์ใช่ไหม ก่อนจะได้มามันทุกข์แล้ว เราเสียสตางค์ไปแล้วต้องหาสตางค์มาแทนอีก มันเป็นเรื่องทุกข์ แถมยังอุตส่าห์นั่งรถไปอัดแอยัดเยียดไม่รู้ว่าใครเป็นใคร โอ้ย..ทนทุกข์ บางคนร้องโวยวายในรถ อุตส่าห์พยายามไป จนกระทั่งถึงโรงหนัง เมื่อไปถึงโรงหนังแล้ว ซื้อตั๋วแล้วไปนั่งก็ทนทุกข์ทรมาน ยังไปแถมเสียสตางค์ตรงนั้นอีกด้วย ดูเสร็จเรียบร้อยแล้วกลับมา โอ้ย..อดตาหลับขับตานอน โอ้ย..นอนจะตื่นขึ้นมาตัดยาง แทนที่จะลุกขึ้นได้ทันเวลาก็เปล่า อะไรนำให้ อะไรนำ นั่นแหละนะตัวกิเลสตัณหา อย่าว่าเพียงแค่นี้เลย ขนาดมีลูกเมียอยู่ดี ๆ นะ มันยังใสคอให้ไปหามาอีกซัก ๓ คน ดูซิใสคอไปหามาอีกซัก ๒ คนได้มา ๒ คนแล้วนี่ ผู้หญิงมันก็เอานาซี่ รบกัน ตัวเองก็เป็นทุกข์ ผลสุดท้ายมันทุกข์ทั้งนั้น แต่ว่าอำนาจตัณหามันพานำเห็นเรื่องทุกข์ทั้งหมดเป็นเรื่องสุขเสียแล้ว นั่นเห็นไหม มันนำพาทุกข์เสียด้วย มันจองหองเสียด้วยนา อย่าว่าเพียงแค่นี้ มันจะผลักไสคอเราไปหลายอย่างเชียวนะ เหล้าก็มันเอง การพนันก็มันทั้งนั้นแหละนำเห็นไหม อย่าว่าเพียงแค่นี้ มันยังมีความโลภเจตนารุนแรง ให้หาทรัพย์สมบัติในทางที่ไม่ชอบ เป็นไปต่าง ๆ นา ๆ มีการฉ้อโกงเอย อะไรต่ออะไรหลายอย่าง ขนาดเขาไปปล้นมันก็อำนาจตัวนี้เหมือนกัน เขาไปย่องเบา ขโมย วิ่งราว อะไรก็แล้วแต่ ก็ตัวนี้นำพาทั้งนั้น ล้วนแต่ได้รับความทุกข์นานัปการ ทุกข์อย่างไร การทำความไม่ดี มีการขโมยฉ้อโกงมันดีเมื่อไหร่ เป็นทุกข์ทางใจ อย่าว่าเพียงแค่นั้น อย่างเสือ ๆ เสอ ๆ นี่อย่าว่ามันสุขนะ นอนบ้านก็ไม่ได้ นอนอยู่ในป่า เวลาฟ้าฝนตกต้องพยายามนอนตากฝน ทนทุกข์ทรมาน ถ้าไม่อย่างนั้นเอาชีวิตไม่รอด เจ้าหน้าที่เห็นเข้าก็โป้ง เข้าไปเสร็จ ดูซิ เห่าไฟ เขานะ นี่มันเป็นอย่างนี้ ล้วนแต่เป็นความทุกข์ซึ่งเป็นผลหรืออานิสงส์ที่สะท้อนมาเท่านั้น ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่า อำนาจฝ่ายต่ำซึ่งนำพาให้เป็นไปตามอำนาจของมัน ล้วนแต่ที่จะให้เราได้รับความทุกข์ทั้งนั้นเลย นี่มันเป็นอย่างนี้
            อย่าว่าเพียงแค่นี้ มันยังจะนำเราลงไปสู่นรกอีกด้วย นำไปอย่างไร ก็การกระทำไม่ดี ท่านเรียกว่าทำบาปนั่นนะ เรื่องบาปมันเป็นสิ่งที่นำเราเข้าไปสู่นรก นี่มันเป็นอย่างนี้
เพราะฉะนั้น ความทุกข์ในนรกก็แสนที่จะตกทุกข์เสียอีก เกิดมาเป็นมนุษย์ละทีนี้ เกิดมาละโยมพักตร์ เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ก็เป็นคนทุพพลภาพ กำพร้า ไม่ค่อยมีกำลังวังชา เป็นคนที่อวัยวะไม่สมบูรณ์ อะไรต่าง ๆ ที่เรามองเห็นกัน ก็เนื่องจากเศษของกรรม หรือบาปที่กระทำไว้ มันมาทำเข็ญให้ เมื่อบาปมันมานำพามาเกิด สังขารที่เกิดขึ้น เรียกว่าอปุญญภิสังขาร สังขารที่บาปมันหล่อเลี้ยง หรือสังขารที่บาปมันนำพาให้เกิดมา ไม่เหมือนกับสังขารที่อาศัยบุญนำพา สังขารที่อาศัยบุญนำพา ร่างกายมีกำลังวังชา ทำมาหากินได้สะดวกสบายอย่างนี้ นี่แหละมันอย่างนี้ มันเทียบกันแล้ว ปุญญาภิสังจาร มันดี อปุญญาภิสังขารมันไม่ดี
             เมื่อพูดกันมาถึงเรื่องทุกข์มันก็ยืดยาวแล้ว ที่นี้ต้องการอยากอธิบายให้เข้าใจอีกว่า สิ่งที่เราจะกำจัดคืออะไร สิ่งที่เราจะกำจัดโดยตรงนั้นก็คือกิเลสตัณหา ซึ่งเป็นนายหน้า นายหน้าตัวนำพาจิตเรา ซึ่งเป็นเจ้านายของจิตใจเรา นำพาให้เราได้รับความทุกข์เดือดร้อนทรมาน อย่างที่เล่าสู่ฟังมานี้ทั้งหมด ก็เนื่องจากอำนาจของเขานี่เอง เมื่อเขาเหล่านี้นำพาให้เราเป็นอย่างนี้ เราไม่ต้องการ เกลียดน้ำหน้ามันเหลือเกินพวกนี้ พวกไหนละ พวกเรากิเลสตัณหา เราเกลียดมันเหลือเกิน เราเกลียดเหลือเกิน เกลียดเหลือเกิน เดี๋ยวนี้ เราถึงได้แสวงหาครูบาอาจารย์ แสวงหาทำไมละครูบาอาจารย์ เราต้องการจะสะสมอาวุธ เพื่อทำการปฏิวัติต่อสู้ เข้าใจไหม อาวุธนั้นคืออะไร ธรรมาวุธ พระธรรมเป็นอาวุธอันเอก เขาเรียกว่าธรรมวุธ ที่จะเข้าไปทำการปฏิวัติกับกิเลสตัณหาทั้งหลายเหล่านี้ ที่เราจะเข้าไปทำการปฏิวัติกับกิเลสตัณหาทั้งหลายเหล่านี้ เราจะเอากำลังอะไรไปต่อสู้ มีแค่อาวุธ ไม่มีคนยิง มันจะยิงได้หรือ เราจะไปหามาจากไหน เราก็หาได้ กำลังที่เราจะหามา เพื่อเป็นกำลังอะไรไปต่อสู้ มีแค่อาวุธไม่มีคนยิง มันจะยิงได้หรือ เราจะไปหามาจากไหน เราก็หาได้ กำลังที่เราจะหามา เพื่อเป็นกำลังที่จะมาทำการปฏิวัติกันนี้ เราหาได้ คือ สติปัญญา วิริยะ เหล่านี้เป็นต้น วิริยะคือความพากเพียร เป็นตัวอุดหนุน เป็นเสบียง สติ ตัวระลึกรู้ คือความเฉลียวระลึกรู้ สัมปชัญญะ ตัวรู้ตัวที่แจ่มแจ้ง ปัญหา ความรอบรู้ในสังขารนี่แหละ เราจะรวมสร้างเอากำลังส่วนนี้ เข้ามาทำการปฏิวัติต่อสู้กับตัณหา กิเลสทั้งหลายเหล่านี้ ซึ่งเป็นเจ้านายเก่าของเรา นำพาให้เราให้ได้รับความทุกข์มานานเดี๋ยวนี้เรากำลัวแสดงปฏิกิริยาทำท่าทีว่าเราเกลียดน้ำหน้ามันแล้ว เราจะปฏิวัติมันแล้วละนะทีนี้ เราเตรียมหาอาวุธแล้วละนะ นะโยมพักตร์นะ กำลังหาอาวุธจะสู้มันแล้ว นี่กำลังให้อาวุธอยู่นี่
            ที่นี้ส่วนธรรมาวุธของเราที่เราจะต่อสู้กัน ครูบาอาจารย์ท่านก็ประสิทธิ์ประสาทให้ธรรมะนั้น เราก็พยายามรวบรวมไว้ให้มาก เพื่อทำการต่อสู้ต่อไป ทีนี้วิธีทำการเนินนั้น ก็ไม่มีอะไรมากมาย ที่เราจะรวมขั้นอย่างสติ คือ ตัวระลึกรู้ ที่เราจะสร้างให้สมบูรณ์ให้มีกำลังเพื่อทำการต่อสู้ให้มีกำลังพอ นี้ก็ไม่ยาก เวลาเราจะลุกขึ้น เราจะนั่งลง เดินเหินทางไหนมาไหน จะพูดจาพาที เราก็ให้สติรอบรู้ นึกถึง เพศ วัย ฐานะ การแสดงออกอย่าให้เกินเพศ วัย ฐานะให้พอเหมาะพอดี
            ที่นี้ เมื่อเรานอนเราก็นอนตะแคงขวา ในท่าทีสีหไสยยาสน์ กำหนดที่ลมหายใจเข้า ออกเรา ลมหายใจเข้าออก ๆ ๆ เราก็กำหนดให้รู้ ลมหยาบละเอียด สั้นยาว เราก็ให้รู้ แล้วบริกรรมหายใจเข้าพุท หายใจออกโธ พุทโธ ๆ ๆ ๆ กล่อมจิตของเราอยู่อย่างนั้นแหละ จนกว่าจะหลับ เมื่อตื่นขึ้นเราก็พุทโธ ๆ ๆ นั่นแหละ เรื่อยเสมอไป นี่เราต้องทำอย่างนี้
            ทีนี้เวลาเรานั่งสมาธิ ก็นั่งดูพระพุทธรูปปางนั่งสมาธิก็แล้วกัน เอาซ้าย เอาเท้าซ้ายวาง เอาเท้าขวาทับ แล้วก็เอามือซ้ายวางลง แล้วเอามือขวาซ้นขึ้นมาข้าบน แล้วก็นั่งตั้งตัวให้ตรงพอดี ๆ ดำรงสติไว้ให้มั่น กำหนดที่ลมหายใจเข้าปลายจมูก ออกปลายจมูก กำหนดหายใจเข้าพุท หายใจออกโธ สั้นยาวหยาบละเอียดให้สังเกต เราหายใจขนาดไหนพอดี หายใจสั้นมันสบาย หรือหายใจยาวมันสบาย หายใจเบามันสบายหรือหายใจหนักมันสบาย เมื่อมันสบายหายใจขนาดไหน ก็ต้องหายใจขนาดนั้น ให้หาเอา แต่งหาเอาจนสบายแล้ว เสร็จแล้ว ก็กำหนดอย่างนั้น หายใจเข้า หายใจออก ก็พุทโธ ๆ ๆ หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ เอาอยู่อย่างนั้นแหละ พอจิตของเรามันคิดไปในทางไหน รีบกลับเข้าสู่จุด คือเป้าที่เป็นนิมิต ได้แก่ลมหายใจเข้าออก เอาคำบริกรรมเป็นเครื่องช่วย เกาะไว้ด้วย เอาจุดเป็นหลักสำหรับผูกมัดให้มั่นด้วย เอ้า..จุดนั้นคือว่า ตรงปลายจมูกก็ได้ หรือจะเอาตรงซอกคอนี้ก็ได้ หรือจะเอาตรงท่ามกลางอกนี้ก็ได้ กำหนดรับรู้อยู่ตรงนั้นแหละ หายใจเข้า หายใจออก แต่โดยส่วนมากกำหนดตรงเพดานนี้ก็ได้ ลมมันผ่านกระทบตรงเพดานตรงนี้ รู้สึกมันกระเทือน กำหนดตรงนั้นก็ได้ หายใจเข้าก็พุท หายใจออกก็โธ นี่เมื่อหากเรากำหนดตรงนี้มันปวดหัว มันอื้อในหู เอ๊...นี่สติของเราสูงขึ้น ๆ ๆ กำลังดีขึ้น มันอาจจะสะกดตัวเอราก็หยุดซะ กำหนดจุดนี้ เราก็เอาซอกคอดู พอตรงซอกคอดูแล้ว เอ๊...มันก็ไม่สบาย คอแห้ง ก็ถือว่า อื้อ..มันสะกดตัวเองแล้ว ปล่อย เอาท่ามกลางอก เมื่อเอาท่ามกลางอกนี้ มันสบายก็กำหนดอยู่ มันไม่สบายอึดอัด เราก็หยุด หยุดแล้วให้กำหนดเพียงรู้ว่ามีลมหายใจเข้า-ออกอยู่ข้างนอกนี้ ฟูฟ่า ซู่ซี่ ๆ ๆ อยู่ เอาอย่างนั้นแหละ กำหนดรับรู้อย่างนั้นแหละ มันก็สบาย สบายเบา สบาย เบาสบาย โปร่ง ที่นี้เมื่อจิตของเราจะรวม เราจะมองเห็นได้ มันสบาย ๆ ๆ เบา เหมือน ๆ เราไม่ได้นั่งกับที่หรอก เหมือนเราลอยอยู่ อย่างนี้ก็มี หรือบางทีมันลอยขึ้นมาเป็นคืบ ๆ ก็มี เบา สบาย อย่างนั้นก็มี บางทีเหมือนมันมีแสงสว่างวูบ ๆ ๆ เฉพาะหน้าก็มี บางทีมีมันวูบ สว่างโล่งรอบตัวเลยก็มี เอ้อ..นั่นมันเป็นผลของมัน ทีนี้บางทีลมหายใจเข้าออกเหมือนมันหมดไป ๆ ๆ ๆ ๆ มีความสุขเย็นตรงหน้าอกซ่า ๆ เย็นไปหมดทั่วร่างกายก็มี แต่เรื่องนี่เอาอย่าไปเอามัน เราไม่ได้เอาดีอยู่ตรงนี้ แต่แล้วมันเป็นผลชนิดหนึ่ง มันช่วยให้เราปรากฏเห็นเป็นเบื้องต้น แต่อันนี้ไม่ใช่เราเอา ไม่ใช่สิ่งที่เราจะเอา สิ่งที่เราจะเอาจริงนั้น คือ เมื่อจิตของเรากำหนดที่ลมหายใจเข้า หายใจออก หายใจเข้า หายใจออก สามารถประคองจิตของเราให้อยู่ในจุดได้สมปรารถนา เราจะมาเอากำลังตรงนี้ กำลังอันนี้ได้แก่สติ ทีนี้มีกำลังอีกชนิดหนึ่ง เมื่อจิตเคลื่อนออกไปสู่อารมณ์ เมื่อระลึกรู้แล้วมันมีปัญญาชนิดหนึ่งเกิดขึ้น เพื่อทำการแก้ไข มีเหตุผลมาแก้กัน แล้วก็จิตมันวางจากอารมณ์ชนิดนั้น มันแก้กันอยู่อย่างนั้นแหละ มันก็วางมันก็แก้มันก็วาง มันก็แก้ อยู่อย่างนั้นแหละ คือ หมายความว่าเราหาเหตุผลมา เราหาเหตุผลมาโต้กับจิตเรา จนจิตของเราวาง ที่เราหาเหตุผลมาแก้โดยสัญญาชนิดดังกล่าวนี้นั้น เรียกว่าปัญญา เมื่อสติกับปัญญาสมังคีกันดีแล้ว สมควรแล้ว เราทำการปฏิวัติตัณหาได้ ตัวที่นำจิตของเราให้เป็นไปแต่ก่อนนั้น เราก็เข้าไปดูจิตโดยตรง เมื่อมันบัญชาวุบขึ้นมันจะให้พูด หยุด เราไม่พูด ปฏิวัติเลยไม่พูด รอดูเสียก่อนเมื่อเราจะพูดเราต้องพูดด้วยคำสั่งของเรา ต้องพูดอย่างนี้ มันถึงจำพอดีกับเพศ วัย ฐานะของเรา ทุกสิ่งทุกอย่างที่มันบัญชาให้ต้องการจะเป็นไปในทางฝ่ายทุกข์ดังกล่าว ทั้งหมดนั้นก็ดี เราก็ต้องหาทางเข้าทำการปฏิวัติ ระงับทันที ไม่ยอม ต้องสู้กันอย่างนี้ นี่เรียกว่าผู้ทำการปฏิวัติแล้ว เนื่องจากกำลังของเราพอ ทีนี้ส่วนธรรมาวุธเราก็สะสม ครูบาอาจารย์ท่านก็ประสิทธิ์ประสาทให้ เมื่อครูบาอาจารย์ท่านประทานให้พอแล้ว เอาแหละทีนี้บุกปฏิวัติ ผลสุดท้าย ๆ สุดแล้ว ตัวอำนาจฝ่ายต่ำที่มีอยู่ล้างหมดเลย เสร็จทีนี้ก็มีสติกับปัญญาสมังคีกันดีแล้วก็นำจิตเราไป นำจิตเราไปนะ สติ ปัญญา สติ ปัญญา เป็นคุณธรรม บุคคลที่มีคุณธรรมในจิตใจ ธัมโม ปฏิธมมจารึ ผู้ปฏิบัตินั่นแหละ ธรรมจะรักษาบุคคลผู้มีคุณธรรมย่อมไม่ตกไปสู่ที่ชั่ว อมุฬโห ปรํ กโรนติคุณ ย่อมเป็นผู้ไม่หลงตาย ย่อมเป็นผู้ไม่งมงาย อำนาจฝ่ายต่ำจะล่อลวงให้หลงตายไม่ได้ ย่อมเป็นผู้มีปัญญาหยั่งรู้เห็นตามสภาพความเป็นจริง สิ่งนี้สุข เข้าใจว่าสุขจริง สิ่งนี้ทุกข์ เข้าใจว่าทุกข์ ไม่เหมือนแต่ก่อน ตั้งแต่สมัยก่อนกิเลสตัณหามันนำพาให้รู้เห็นให้เป็นไปนั้น สิ่งนี้ทุกข์แท้ ๆ มันบอกว่าสุข เอ้า..ก็ไป เห็นไหมอย่างไปดูหนังนะ ทุกข์แท้ มันบอกว่าสุข ก็ไป แท้ที่จริงมันเป็นเรื่องทุกข์ เอ้า…ว่าดูซิ อะไร ๆ ที่เรามองดูแล้วเราจะมองเห็นว่าที่เราทำลงไปนั่น มันได้รับความทุกข์นานัปการ หลายอย่างเหลือที่จะพรรณนา ก็มันทั้งนั้นที่เราเข้าใจว่ามันเป็นเรื่องสุขทั้งนั้น นี่มันเป็นอย่างนี้ ทีนี้เมื่อเรามีธรรม ที่เราปฏิบัติได้แล้ว ดังกล่าวนี้ ธรรมทั้งหลายเป็นเครื่องช่วยเรา เมื่อธรรมทั้งหลายนี้เป็นเครื่องช่วยเราแล้ว ในเรื่องเข้าใจอย่างเบื้องหลังที่เล่าสู่ฟังมานี้ไม่มี เข้าใจเรื่องสุขเป็นสุขแท้ เข้าเรื่องทุกข์เป็นทุกข์แท้ ความคิดเห็นชนิดนี้เรียกว่าสัมมาทิฏฐิ ผู้เห็นชอบ คำที่ว่าเห็นชอบ ต้องเอาทิฏฐิหรือความเห็นของพระพุทธเจ้ามาเป็นเครื่องตัดสิน เราจะเห็นได้ในวรรคสวากขาตธรรม ในพระบทคำสอนของพระองค์ ในสิ่งที่พระองค์เห็นว่าทุกข์ เราก็เห็นด้วยในสิ่งที่พระองค์เห็นว่าสุขเราก็เห็นด้วย ถูกต้อง ไม่ขัดกัน แต่เดี๋ยวนี้ เรายังไม่ทำการปฏิวัติตัณหามันเป็นหัวหน้ามันขัดกัน อันนี้พระองค์บอกว่าทุกข์นา เราก็บอกว่าสุข สิ่งนี้พระองค์บอกว่าสุข เราก็หาว่าทุกข์ ไปอย่างนั้น

หน้าแรกธรรมะ
กระดานข่าว
ลงสมุดเยี่ยม
อ่านสมุดเยี่ยม
ผู้เขียน

เชื่อมโยงกัลยานิมิตร >>
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว / สมเด็จพระมหาสมณเจ้า / พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร / พุทธประวัติ, พุทธโอวาท / ธรรมะพุทธองค์ / พุทธศิลป์ โดย อ.เฉลิมชัย / ธรรมะจากพระป่า / กองทัพธรรมพระกัมมัฏฐาน / ประวัติหลวงปู่มั่น / หลวงตามหาบัวช่วยชาติ / จังหวัดจันทบุรี / อำเภอนายายอาม / รอยยิ้มของพ่อ

เหมาะสำหรับจอภาพที่แสดงผลที่ 800 x 600 และเพื่อความสวยงามยิ่งขึ้นหากแสดงผลที่ 1024 x 768 (Microsoft Internet Explorer)
วัดเขาสุกิม
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2543

พัฒนาและออกแบบโดย นายทวีศักดิ์ รัตนคม    
ติดต่อสอบถามได้ที่ webmaster@khaosukim.org   
และทาง msn ได้ที่ hs2wjo@hotmail.com