ชีวประวัติ
พระวิสุทธิญาณเถร (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย)

ธรรมะสำคัญกว่าวัตถุ (6)  

        ในวันหนึ่งซึ่งเป็นฤดูหนาว และในวันนั้นบรรดาพระเถรานุเถระ พระภิกษุ สามเณร ได้เข้าไป กราบหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร เป็นจำนวนมากจนเต็มกุฏิ เพี่อขอรับฟังธรรมะภาคปฏิบัติจากหลวงปู่ ส่วนหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย (ในสมัยนั้นเป็นสามเณร) และหมู่คณะซึ่งเป็นสามเณรด้วยกัน ไม่มีโอกาสที่จะขึ้นไปรับฟังธรรมะบนกุฏิได้ เนื่องจากมีเหตุสองประการคือ ๑. สถานที่นั่งมีไม่เพียงพอ ๒. สามเณร มีหน้าที่ถวายการอุปัฏฐากครูบาอาจารย์ พระเถรานุเถระ และพระอาคันตุกะที่มาสู่สถานที่ เพราะตามปกติแล้วสำนักปฏิบัติ หรีอวัดพระกรรมฐาน พอถึงตอนเย็นบรรดาสามเณรทั้งหลายก็ต้องพากันต้มยาสมุนไพร เพื่อถวายพระเถรานุเถระ และถวายครูบาอาจารย์เป็นประจำ ประจวบกับในตอนนั้นท่านกับพวกสามเณรด้วยกัน ได้พากันต้มยาไว้ถวายครูบาอาจารย์หม้อหนึ่ง เมื่อได้ยินเสียงหลวงปู่มั่นเทศน์ธรรมะ ก็ได้พากันรีบมาฟัง

        เมื่อมาถึงกุฏิหลวงปู่มั่น ก็ได้เห็นพระเถรานุเถระนั่งเต็มกุฏิไปหมด เห็นว่าไม่มีโอกาสจะขึ้นข้างบนไปฟังได้แล้ว จึงได้พากันหลบเข้าไปยีนฟังอยู่ในใต้ถุนกุฏิด้วยความตั้งอกตั้งใจ บางคำหรีอบางตอนหลวงปู่พูดค่อยฟังได้ยินไม่ชัดเจน พวกสามเณรก็พากันเขย่งเท้าเงี่ยหูฟังด้วยความกระหาย จิตใจจดจ่ออยู่กับกระแสเสียงแห่งธรรมะนั้น จนเสียงธรรมะนั้นไม่ได้ผ่านเข้าหู คือผ่านเข้าทางใจโดยตรง จนทำให้ลืมนึกถึงหม้อยาที่ได้พากันต้มเอาไว้ และลืมนึกถึงความเย็นยะเยือกของอากาศในฤดูหนาว ในตอนนั้นผ้าจีวรจะห่มคลุมกายก็ไม่ได้เอาไปด้วย สิ่งที่คลุมกายก็เพียงสบงกับผ้าอังสะเท่านั้น


        ในวันนั้นหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร ได้อธิบายธรรมะวิจิตรพิสดารมากกว่าทุกวัน ในระหว่างฟังธรรมะอยู่นั้น ก็มีเสียงซุบซิบให้ไปดหม้อยาที่พากันต้มไว้ ต่างองค์ต่างก็เกี่ยงกันไปเกี่ยงกันมา และแล้วเสียงนั้นก็เกี่ยงมาถึงสามเณรสมชาย แต่เนี่องด้วยกำลังใจจดใจจ่อกับการฟังธรรมะและมีความเสียดายใน ธรรมะกลัวว่าธรรมะจะขาดตอน จึงสงบนิ่งอยู่ไม่สนใจกับเรื่องหม้อยา และก็ยังคงนิ่งฟังอยู่ต่อโป แล้วก็มีเสียงบางองค์สอดขึ้นมาว่า ถ้าคูรบาสมชายไม่ไป ครูบาต้องรับผิดชอบเรื่องหม้อยานะ ท่านก็ยังคงตั้งอกตั้งใจฟังต่อไปจนหลวงปู่มั่นเทศน์จบ เมื่อหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร เทศน์จบลงแล้ว สามเณรสมชายก็ได้รีบไปดูหม้อยาทันที แต่ปรากฏว่าน้ำยาที่ต้มไว้นั้นเหือด แห้งจนหม้อยาแตกก้นทะลุแลัวใช้การไม่ได้อีกต่อไป

        เมื่อหมู่คณะเห็นเหตุการณ์เกิดขึ้นดังนี้ ต่างองค์ต่างก็พากันตำหนิติเตียนและกล่าวโทษว่าสามเณรสมชาย ทำให้ของ สงฆ์เสียหาย พระบางองค์ถึงกับด่าว่าจะลงโทษท่านก็มี เพราะความหวั่นเกรงต่อหลวงปู่มั่น จึงได้พากันโยนความผิดทั้งหมดมาให้ท่านรับแต่เพียงผู้เดียว สามเณรสมชาย ท่านมีนิสัยเป็นลูกผู้ชายเต็มตัวอยู่แล้ว เมื่อผิดท่านก็ยอมรับผิดแต่โดยดี จะลงโทษสถานใดท่านก็ยอมทั้งนั้น ขอแต่ได้มีโอกาสอยู่ฟัง ธรรมะจากหลวงปู่มั่นเท่านั้นก็เป็นที่พอใจแล้ว ด้วยกุศลเจตนาที่มีอยู่ ประกอบด้วยบารมีธรรม จึงทำให้ท่านไม่หวั่นไหว
ต่อการตำหนิ หรือการลงโทษจากหมู่คณะครูบาอาจารย์ และท่านก็ไม่มีการพูดโต้เถียงหรือแถลงการณ์แก้ตัวใดๆ ทั้งนั้น นิ่ง เงียบ ยอมรับผิด ยอมรับฟังคำว่ากล่าวตักเตือนของครูบา อาจารย์อยู่ตลอดเวลา

 

        ในขณะที่กำลังวิพากษ์วิจารณ์เรื่องหม้อยากแตกชำรุดใช้การไม่ได้นั้น หลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร ก็เดินผ่านมาทางนั้นพอ ดีและได้มองเห็นหม้อยาก้นทะลุตั้งอยู่บนเตานั้น ลวงปู่ท่านจึงได้หัวเราะออกมาเบาๆ ซึ่งเป็นลักษณะเข้าใจความหมายและไม่ตำหนิกับการกระทำอันนั้น พร้อมกันนั้นหลวงปู่ท่านจึงได้ปรารภออกมาเบาๆว่าธรรมะดีกว่าวัตถุและหายากกว่าวัตถุ ภายนอก คำพูดของหลวงปู่เพียงสองประโยคเท่านั้น ก็ทำให้บรรยากาศที่กำลังตึงเครียดอยู่นั้นกลับจากหน้ามีอเป็นหลังมือทุกองค์ที่อยู่ในเหตุการณ์ขณะนั้น ก็มีสีหน้าเบิกบานอย่างมอง เห็นได้ชัด สำหรับสามเณรสมชาย ท่านยิ่งมีความปลื้มปีติ และ มีความซาบซึ้งในคุณธรรมของหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร เพิ่มขึ้น เป็นทวีคูณมาก ที่หลวงปู่ท่านสามารถเข้าใจเจตนาของท่านได้ ถูกต้อง และเป็นธรรมสมกับที่เขายกย่องสรรเสริญว่า เป็น พระอรหันต์ผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐจริง ๆ แต่ก็ไม่รู้จะ อธิบายอย่างไร จึงจะเหมีอนความรู้สึกภายในได้

        แต่ก่อนผู้เขียนเคยคิดสงสัยว่า ด้วยเหตุใดครั้งสมัยพุทธกาล พอฟังเทศน์จากพระพุทธเจ้าแล้ว จึงได้สาเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันได้รวดเร็วเหลือเกินพอหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านได้เล่าเรื่องการฟังเทศน์หลวงปู่มั่น เมื่อสมัยที่ท่านยังเป็นสามเณรอยู่นั้น คือมีความตั้งใจฟังจริงๆ โดยเสียงเทศน์นั้นไม่ได้ผ่านเข้าทางโสตประสาทเลย คือ เข้าสู่ใจโดยตรง จึงทำให้ได้แง่คิดว่า ครั้งพุทธกาลที่พระสาวกทั้งหลายได้ฟัง ธรรมแล้วสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลเบื้องต้นกันเป็นจำนวนมาก
ชะรอยคงเป็นในทำนองเดียวกันนี้กระมัง เพราะในครั้งพุทธกาลมีคนสนใจธรรมะกันมาก และประกอบกับมีบารมีเป็นพื้นฐานอย่แล้ว ฉะนั้น ที่ความตั้งใจมั่นก็เป็นบารมี ส่วนหนึ่ง เป็น องค์ประกอบที่จะช่วยให้สำเร็จเร็วขึ้น พอได้ฟังธรรมะจึงสามารถเข้าใจ และสำเร็จเป็นพระอริยบุคคลทันที

       หลังจากสามเณรสมชายท่านได้เข้าไปมอบกายถวายตัวเป็นลูกศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร แล้ว ท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาธรรมะ และข้อวัตรปฏิบัติน้อยใหญ่ทั้งปวง อย่างอุทิศ ชีวิตมาตลอด

 


 

 

 

 


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 
อุปสมบท พ.ศ. ๒๔๘๙ (7) >>

หน้าหลักประวัติ
กระดานข่าว
ลงสมุดเยี่ยม
อ่านสมุดเยี่ยม
ผู้เขียน


เชื่อมโยงกัลยานิมิตร >>
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว / สมเด็จพระมหาสมณเจ้า / พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวร / พุทธประวัติ, พุทธโอวาท / ธรรมะพุทธองค์ / พุทธศิลป์ โดย อ.เฉลิมชัย / ธรรมะจากพระป่า / กองทัพธรรมพระกัมมัฏฐาน / ประวัติหลวงปู่มั่น / หลวงตามหาบัวช่วยชาติ / จังหวัดจันทบุรี / อำเภอนายายอาม / รอยยิ้มของพ่อ

เหมาะสำหรับจอภาพที่แสดงผลที่ 800 x 600 และเพื่อความสวยงามยิ่งขึ้นหากแสดงผลที่ 1024 x 768 (Microsoft Internet Explorer)
วัดเขาสุกิม
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2543

พัฒนาและออกแบบโดย นายทวีศักดิ์ รัตนคม    
ติดต่อสอบถามได้ที่ webmaster@khaosukim.org   
และทาง msn ได้ที่ hs2wjo@hotmail.com