ความจริงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านี้
มันมากหรอกนะ มันมาก มองไปตรงไหนก็พระธรรม ๆ ทำดีก็ธรรม
ทำชั่วก็ธรรม บุญก็ธรรม เขาด่ากันก็ธรรม เขาชมกันก็ธรรม การปล้นการลักขโมยก็ธรรมการรักษาศีลการเจริญเมตตาภาวนาก็ธรรม
มันธรรมทั้งสิ้น สภาพทั้งหมดนี้พูดแล้วในโลก พูดกันถึงเรื่องอะไร มันเป็นธรรมทั้งนั้น
การเกิดขึ้นก็เป็นธรรม การแก่ก็เป็นธรรม การเจ็บก็เป็นธรรม การตายก็เป็นธรรม
การตกนรกก็เป็นธรรม การไปสู่สวรรค์ก็เป็นธรรม การไปสู่พรหมโลก พระนิพพาน
ก็เป็นธรรม ไม่รู้มันธรรมอย่างไร บอกว่ามากเหลือเกิน มากเสียจนบอกไม่ถูก
อย่าว่าเพียงแค่นี้อีก บรรดาศาสดาต่าง ๆ ที่เป็นเจ้าศาส บรรดาศาสดาจารย์ต่าง
ๆ ที่เป็นเจ้าของพระศาสนา แต่ละศาสนา แต่ละศาสนานั้น เขาประกาศบทธรรมทั้งหมด
ก็เป็นธรรมทั้งนั้น แต่บทธรรมของแต่ละศาสนาอาจจะขัดแย้งกันบ้าง อย่างบทธรรมทางพระพุทธศาสนาของเรา
มีการสอนให้มีพรมิหารเมตตาธรรม ไม่ให้เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ตั้งแต่มนุษย์จนกระทั้งถึงสัตว์
สัตว์โต จนกระทั้งถึงสัตว์เล็ก อะไรเหล่านี้เป็นต้น แต่บางศาสนาหาได้เป็นเช่นนั้นไม่
บางทีอาจทำลายชีวิตของสัตว์ คือ สัตว์ดิรัจฉานนั้นให้ตายไป อาจจะเป็นบุญก็ได้
อย่างนั้นก็เป็นธรรม เมื่อพิจารณ์พึงหมวดและบทธรรม มันมากเสียแสนที่จะมาก
สังขตธรรม ก็ธรรม อสังตธรรมก็ธรรมลองคิดดูซิ ส่วนสังขารการแยกประเภทของสังขาร
อุปากิณณกสังขาร ได้แก่ สังขารที่มีวิญญาณครอง อนุปากิณณกสังขาร คือสังขารที่ไม่มีวิญญาณครอง
ปุณณาภิสังขาร สังขารที่อาศัยบุญเป็นเครื่องสร้างขึ้น อปุณณาภิสังขาร อาศัยสังขารที่บาปมันสร้างขึ้น
อย่างนี้ก็มี ว่ากันไปแล้วมันก็มากยืดยาว แต่สรุปแล้วสำหรับโยมโพธิ์และพวกเราผู้ปฏิบัติ บรรดาพวกเราผู้ปฏิบัติ ถ้าจะพิจารณากันให้จริงใจแล้ว มาพูดกันถึงส่วนธรรมทั้งหลาย สรุปให้ได้ใจความในเรื่องสังขารธรรม สังขารธรรม คือ การปรุง คำที่ว่า ปรุง พวกเราก็คงพอจะรู้ คำทีว่า ปรุง ก็คือ ประกอบเข้าเรียกว่าปรุง สมมุติอย่างเสื่อที่เราทอขึ้น เขาก็เรียกว่าปรุง อันนี้ก็สังขารประเภทหนึ่ง คือ สังขารชนิดที่ไม่มีวิญญาณครอง หรือ อาหารการบริโภค เนื้อบ้าง ผักบ้าง พริกบ้าง มะเขือบ้าง อะไรก็แล้วแต่ เราเอามาผสมกันเข้า เอามาปรุงกันเข้า การปรุงอย่างนี้เรียกว่าสังขาร ส่วน กายสังขาร ก็เหมือนกัน กายสังขาร ซึ่งเป็น กายสังขาร ส่วนจิตสังขาร ก็คือ การ ปรุง เหมือนกัน คือ จิตมัน ปรุง กับ กิเลส กิเลส มันปรุงกับจิต คือ มันนึกคิดไปตามกระแส อย่างที่พวกเรามามองเห็นกัน อย่างพวกเรอยู่ในกามาจร ความคิดก็ส่ายแส่ไปตามอารมณ์สัญญา คิดรักบ้าง คิดชังบ้าง ต้องการอันนั้นบ้าง ต้องการอันนี้บ้าง มันก็คิดอย่าพวกเราคิดกันอยู่นี้ ซึ่งกระแสของ กามาวจร มันก็หากเป็นอย่างนั้น นี่เล่าถึง สังขาร แต่แล้วเราก็หลงสังขารกัน มันก็น่าหลงเหมือนกัน มานึกถึงสังขารอย่างนี้ อย่างศาลานี่ ไม่ระกำเอย อะไรต่ออะไร ประกอบกันเข้าก็เป็น ศาลา เราก็สมมุติว่า เป็น ศาสนา สถานที่บำเพ็ญธรรม แต่มาแยกไม้ออกจากศาลาหลังนี้ และเอาวางไว้คนละทิศคนละทางคนละแห่ง ไปถาม ไม่มีใครจะเอ่ยถึงว่าศาลาซักคำเดียว ไม่รู้ว่าเป็นอย่างไร นี้ก็เหมือกัน สำหรับร่างกายสังขารของเรานี้ ก็เหมือนกัน ร่างการนสังขารของเรานี้ ซึ่งเราหลงอยู่นี้ มันประชุมกันอยู่ เรก็หลง แต่เมื่อมันแยกกันออกคนละส่วนแล้ว ก็ไม่หลง ถ้าแยกออกไป เอาแขนออกไปข้าง เอาขาอกหนึ่ง หรือ แต่ละส่วน ๆ แยก กันออกคนละทาง ก็คงจะได้ความว่า อันนี้ แขน อันนี้ขา อันนี้หู อันนี้ตา อันนี้อันนั้นว่ากันไปตามเรื่อง ไม่มีใครว่าคนสักคนเดียว เมื่อมีนประชุมกันแล้วก็น่ารัก เมื่อแยกกันออกแล้วก็น่าเกลียด เพียงแค่ดวงวิญญาณออกเท่านั้นเอง แพลบดวงวิญญาณธาตุมันออก อย่าว่าเพียงแค่นั้นเลยไม่อยากจับเสียอีก จับก็ขนตั้งบางคน นั่นเป็นอย่างนั้น แยกนิดหนึ่งมันไปแล้ว มันผิดไปแล้ว แต่เราหลงกันเฉพาะในเมื่อมันรวมกันอยู่ มันยังไม่แยก ลมหายใจเข้า-ออก มันยังปรากฏอยู่ ตัววิญญาณยังมีอยู่ เพียงแค่ที่เคยมองเห็นคนนอนหลบ หายซู่ซี่ ๆ อยู่ก็ไม่มีอะไร เมื่อมองเอ๊ะ…คนอย่างนี้นอนอย่างไร เฉย..อย่างนี้ สังเกตดู เอ๊ะ..ไม่เห็นหายใจเลย เพียงแค่นี้ส่วนธาตุ ๔ ส่วนธาตุกองนี้ มันยังเกาะกันเป็นก้อน มันยังไม่พังทะลายไปไหน ก็กระโดดแล้ว มันเป็นอย่างนี้ นี้เรามันหลงกันอยู่ในสังขาร การหลงในสังขารก็เพราะว่า สัญญามันหลอก สัญญามันหรอกอย่างไรล่ะก็สัญญาละซี่…มันหลอกพวกเราอยู่เดี๋ยวนี้ สัญญาอารมณ์ ที่เราได้ยินได้เห็นมานี่แหละ เขานิยมเขาชมอย่างไร มันมีสัญญาฝังอยู่ จึงได้เป็นสัญญาอุปทาทาน สัญญาชนิดนี้กลายเป็น อุปาทาน ขึ้น สัญญาอุปาทาน มันยึด อย่างสมมุติพูดกันอย่างง่ายๆ พูดกันอย่างง่าย ๆ มีถ้วยอันหนึ่งเอาออกมาจากป่าช้า อาตมายังเคย เอามาใส่ข้าวเอามาใส่แกง กินกันทุกวัน ๆ ไม่มีใครว่าอะไร ทีหลังมีคนเอ่ยเช่นนี้เอามาจากป่าช้า พอรับข้างเสร็จมันก็มื้อมาแล้วก็ไม่รู้ อาเจียรพุ่งเลยบางคน ทำไมถึงอาเจียร ก็สัญญาอุปาทานบอกว่า ของผี เอามานาเกลียดแล้วก็มันไม่น่าเกลียด มันก็สะอาดที่สุด อย่าว่าเพียงแค่นี้อีก จะเล่าให้ฟัง มี่คนบ้านนอกบางแห่งเขาไม่รู้จัก เขาไปได้หม้อ ๆ ส้วม หม้อปัสสาวะ มันตกรถ พร้อมด้วย ฝา เขาเอามาใส่ข้าว โดยความไม่รู้ของคนบ้านนอกเอาใส่ข้าวไปใส่บาตรพระ พอไปใส่บาตรพระ ตัวเขาเองเขาไม่รู้คิดว่าเป็นของดีเสียอีก แต่สำหรับพระที่รู้ว่าหม้อนี้ สำหรับรองของที่ไม่สะอาด เพียงแค่นี้รับฉันข้าวไม่ได้ นี่แหละ อุปาทาน คิดดูซิ อุปาทาน ก็เป็นภาชนะที่สะอาดแล้ว สมควรแล้ว อย่าว่าเพียงแค่นี้อีก หม้อนี้เป็นหม้อส้วมหม้อปัสสาวะ เอาออกมาจากร้านตลาด ไม่เคยส้วมไม่เคยปัสสาวะใส่เลย นั่น อุปาทาน แค่ไหน โยมโพธิ์ลองคิดดู แค่ไหนนั่น นี่แหละสัญญาอารมณ์ที่แหละ วิ่งไปหาเกาะสิ่งต่าง ๆ จิตของ เราจะพูดแล้วมันก็หลงไปตามสัญญาอารมณ์ที่เราจะได้หมายรู้ เกราะเหตุนั้น เมื่อเราทำสมาธิจิตขั้นต้นนี้ ถ้าจะพูดกันในทางที่ถูกแล้ว เราจะต้องแก้จิตของเราด้วยสัญญาเหมือนกัน จิตของเราติดในสัญญา เราจะต้องเอาสัญญาแก้จิต คำที่ว่าเอาสัญญาแก้จิตนั้น จิตของเราด้วยสัญญาเหมือนกัน จิตของเราติดในสัญญา เราจะต้องเอาสัญญาแก้จิต คำที่ว่าเอาสัญญาแก้จิตนั้น จิตของเราไปติดเรื่องอะไร ธรรมหมวดไหน ซึ่งเป็นธรรมพอที่จะเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน เราก็นำเข้ามาแก้กัน ให้เหตุผล เมื่อจิตของเราจำนนเหตุผลสัญญานั้น จำนนเหตุผลสัญญานั้นก็จะวาง เราก็ต้องทำอย่างนี้เป็นเบื้องต้น เมื่อเราหาทางเอาสัญญามาแก้กันอยู่อย่างนี้เสมอ ๆ ๆ ๆ จิตก็จะวางจากสัญญา เมื่อจิตวางจากสัญญาล้วน ๆ ดี แล้วจิตของเราก็จะน้อยลงไปสู่สมาธิได้ง่าย พูดแล้วก็คือสติปัญญา ตัวธรรมที่เราสร้างขึ้นมาเพื่อจะเอาเป็นตัว อิริยมัคคุเทศก์ มันสามารถที่จะน้อมนำจิตของเราให้หยั่งเข้าไปสู่สมาธิได้ เมื่อจิตของเราหยั่งเข้าไปสู่สมาธิได้ เมื่อจิตของเราหยั่งเข้าไปสู่สมาธิจิต ผ่านอันดับตั้งแต่ ขณิกะ นาขณิกะ-อปจาระ ถึงอัปปันมาแล้ว เราสามารถจะพิจารณาด้วยใช้ปัญญาครึ่งหนึ่งใช้สัญญาครึ่งหนึ่ง คำที่ว่า ใช้ปัญญาครึ่งหนึ่งและสัญญาครึ่งหนึ่งนั้น ปัญญาหมายถึงความรอบรู้ในกองสังขาร คำที่ว่าสังขารก็ได้แก่ กายสังขาร จิตสังขาร ซึ่งเป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นนั้น ให้เราเห็น ทีนี้ สิ่งที่เราเห็นเรานำมาแก้ นั้นก็เรียกว่าแก้ด้วยปัญญา ซึ่งเราเอาอุบายนอกมาแก้ เรียนกว่าแก้โดยสัญญา พยายามแก้จนกวาจิตของเราจำนน เมื่อจิตของเราจำนนก็ยอมสามารถจะน้อมเข้าไปสู่สมาชิกนั้นละเอียด เข้าไปอีก เมื่อน้อมเข้าไปสู่สมาธิขั้นละเอียดแล้ว เรื่องการแก้ส้วยสัญญา จิตจะหลงด้วยปัญญา คือ จะหลงด้วยผลของสมาธิจิตโดยตรง เมื่อจิตหลงด้วยผลของสมาธิจิตโดยตรง เราก็จะเอาปัญญาแก้ไข เมื่อเราเอาปัญญาแก้ไขที่นี้แหละ เราถึงจะก้าวเข้าไปสู่ความบริสุทธิ์หมดจดได้นี่มันเป็นอย่างนี้ ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ก็จะย้อนมาอธิบายให้ได้ใจความอย่างง่ายว่าในเบื้องต้นกิริยาของจิตลุกก่อหน้าเรา ลุกก่อนหน้าเรา ตัวธรรมหรือความดีที่เรากระทำสะสมขึ้นมานี้ เป็นตัวที่พิพากษาตามแก้จิตของเราจะต้องลุกก่อน ทางดีก็ตามทางชั่วก็ตาม เราจะเป็นผู้พิพากษาตามแก้ ทางดีเป็นไปในทางกามาวจรก็ดี เป็นไปทางกามาวจรเราก็จะประกอบและดำเนินตาม เมื่อความชั่วที่มันคิดไป เป็นมลทินโทษ แก่โทษแก่ กามาวจรกุศล เราก็จะหาทางหักห้าม เราทำกันอยู่อย่างนี้เสมอ ๆ ๆ เสมอตามรู้ตามเห็น ๆ คือตามรู้ตามเห็นกระแสของจิต แล้วก็ตามแก้ตามแต่งกระแสของจิต ความคิดความนึกไปนั่นเอง เราก็จะได้แก้ตรงนั้น อย่างเขาด่าเรา ความรู้สึกนึกคิดที่ปรากฏขึ้น ความรู้สึกนึกคิดที่ปรากฏขึ้นนี่แหละ เราจะได้พิสูจน์ เมื่อพิสูจน์เห็นว่ากิริยาของจิตที่คิดไปรูปนี้ จะเป็นไปเพื่อความเสียหาย เราก็จะได้หาอุบายวิธีเข้ามาแก้ โดยสัญญา หรือปัญญา ก็แล้วแต่เรา เราจะต้องทำอยู่อย่างนี้ เรื่อย ๆ ไปเป็นลำดับ เมื่อเราเดินเข้าไปสู่รายละเอียดแล้ว กระแสหรือกิริยาของจิตนั้น ถึงแม้จะเป็นการหลงอยู่ในผลของสมาธิก็ตาม มันก็จะลุกหน้าก่อนเราเสมอไป หลงก่อนเราแม้แต่ผลของสมาธิจิตที่ผุดขึ้น แหม.. กำหนดส่งไปรู้สึกมันรู้อย่างนี้ขึ้น รู้สึกมันเห็นอย่างนั้นขึ้น รู้สึกมันรู้ขึ้นอย่างนี้ นี่มันยังวิ่งออกก่อนเราอยู่ ต่อเมื่อสติกับปัญญาดีที่สุดแล้ว กิริยาหรือค่ำที่ว่า จิตจะลุกหน้าเรานั้นไม่มี จิตไม่มีอำนาจปฏิพลใด ๆ ที่จะเหนือกว่า ตปธรรม คือ สติ ปัญญา และ สัมปชัญญะ อำนาจทั้ง ๓ ท่าน ซึ่งเป็นนายหน้าจะมีอำนาจเหนือจิตของเรา สั่ง ให้คิดก็คิด สั่งให้วางก็วาง ให้หยุดเดี๋ยวนี้ก็หยุด ให้คิดเรื่องอะไรก็อยู่ในขอบเขต เมื่อเราไม่สั่งมันก็ไม่วิ่ง อันนี้ไม่มีสิ่งใดจะผุดขึ้น ไม่มีสิ่งใดจะ ปรากฏขึ้นก่อน เมื่อไรเราสั่ง เมื่อไรเราน้อมให้พิจารณานั่นแหละ มันถึงจะปรากฎ เพราะฉะนั้น นายหน้าทั้ง 3 นี้ เมื่อเราจะพูดกันอย่างดีแล้ว เรียกว่าเป็นผู้มีชัยชนะต่อการปฏิวัติกำจัดนายหน้าเก่าออกแล้ว นายหน้าเก่าไม่มีมาถ่วงจิต ไม่มีมาแทรก นี่เป็นอย่างนี้ เมื่อเราอยู่ในอันดับ ที่เรียกว่ากิริยาของจิตลุกก่อหน้าเรานี้ลำบากมากมาก ลำบากเพราะการพิสูจน์ของเรานี่ โยมโพธิ์ การพิสูจน์ของเรานี่หมายความว่า เมื่อมันคิดได้อย่างนี้ เมื่อมันเห็นอย่างนี้ จิตมันเป็นอย่างนี้ เราอาจจะเข้าใจว่า เป็น ปัญญาญาณอันหนึ่ง นี่เป็นอย่างนั้น อาจจะญัตติลงเอ่ย เพราะไม่รู้กลมารยาของนายหน้าเก่าเขามาหลอกลวงให้ลุ่มหลง เขาจะมาแย่งเอาจิตไปสู่อำนาจของเขา เราไม่รู้เมื่อเรา เราไม่รู้ เมื่อเราไม่รู้ตอนนี้แหละซิ มันจะเล่นเรา ขอให้เข้าใจซะ บางทีเราคิดดูสิ ไม่อยากพูด พูดแล้วไม่สบาย เฉย…ซึม.. นั่นลักษณะหนึ่งแล้ว ๆ มันเป็นไปรูปหนึ่งแล้ว มันเป็นผลของสมาธิ แต่ยังไม่ตกมัชณิมปฏิปทาธรรม ทำไมถึงไม่ตกมัชณิมปฏิปทาธรรม ก็เพราะว่ามันอยู่ในอันดับที่ยังไม่พอดีนั่นเอง มันไม่พอดี พยายามหาทางเข้าพิสูจน์สังเกตนานเข้า ๆ รู้ ก็วางปั๊บลงเข้าสู่ มัชณิมปฏิปทาธรรมได้ คือ สายกลาง บางทีอยากพูดคนไม่มาก็มองหา เมื่อไหร่จะมาหนอ..เมื่อไรจะมา อยากพูดอยากคุยธรรมะ ไม่พูดอยู่ไม่สบายอยากพูด จังหวะอย่างนั้นก็มี นั่นก็ลุกก่อนหน้าเราเหมือนกัน เราก็นึกว่า เป็น ปัญญาญาณ อันวิเศษ อย่างนี้ก็มี บางที ก็รู้สึกสูงสารบรรดาเพื่อมนุษย์ ได้รับความเดือดร้อนทั้งกลางวันและกลางคืน อุตตลุกอดเวง วิ่งพลุกพล่านกันอยู่ทั้งโลก ก็เนื่องจากว่าตกอยู่ในหลุมถ่านเพลิง ตัวเพลิงได้แก่ ราคะคินา โทสะคินา โมหะคินา ราคะ โทสะ โมหะ เป็นตัวเพลิงใหญ่ โมหะ เป็นตัวเพลิงใหญ่ เป็นก้อนถ่านไฟ แล้วสามารถจะบันดาล ประดังให้เกิดความทุกข์ มี ชาติ ชรา พยาธิ มรณ โสก ปริเทว จนกระทั่ง อุปายาส มันได้รับความทุกข์ จนยังไปถึง ยัมปิจฉัง นลภติ ตัมปิ ทุกขัง อันเป็นผลของมัน เมื่อเรามามองเห็นแล้ว รู้สึกมีความเมตตา ในบรรดาหมู่มนุษย์มานึกถึงความดีของเรา ที่เราก้าวเข้าไปถึง อื้อ…ก็รู้สึกสงสารเขา ต้องการจะโปรดปรานบรรดามวลมนุษย์ให้เขาได้รับความสุขอย่างที่เราได้รับ โดยเราไม่ได้พิจารณาว่า บัดนี้ เราถึงที่สุดแล้วหรือยัง เมื่อตกอยู่ในลักษณะดังกล่าว ก็เลยลืมต่อการที่จะบำเพ็ญ ลืมประกอบเหตุเข้าไปสู่ผล คือ จุดที่สุด ก็เป็นอันได้ใจความว่า เมตตาตกบ่อเมตตาตกบ่อไปเสียแล้ว อันนี้ก็ผิด เพราะฉะนั้น ถึงว่าในเมื่อระลึกลุกหน้าก่อนเราอยู่นี้ มันจะเป็นเหตุให้เราเสียเนื่องจากว่า ตัวพิพากษา ตามตัดสิน ที่จะเข้าไปแก้ไขนี้ มันอาจจะไม่เข้าทันมายาสาไถ ของอำนาจฝ่ายต่ำ ซึ่งเขาเคยเป็นหัวหน้าจิต เคยนำพาจิตให้เป็นไปอย่างนี้นั้น ได้ตามอำนาจของมัน เรานึกว่าเราทำการปฏิวัติเอาชัยชนะได้แล้ว แต่แท้ที่จริงมันยังเหลือเศษ ส่วนเสนาหรือลูกน้องของมันมีอยู่ มันจะหาอุบายวิธีล่อลวงเอาจิตให้ลุ่มหลงไปได้ด้วย เมื่อเราไม่รู้เท่ากลมายา นี่ละซี่มันจะเล่นเรา และนี่อีกอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นพวกเราผู้ปฏิบัติต้องพยายามให้พิจารณามองให้ดี ๆ พิจารณาให้ดี ๆ มองดี ๆ พิจารณา ให้ดี ๆ ต่อเมื่อใดเราเอาชัยชนะได้ดีแล้ว จิตไม่มีอำนาจปฏิพลได้ ไม่มีอำนาจอิทธิพลใดที่จะลุกหนีหน้าเราไป เราสามารถจะเอาชัยชนะ จิตไม่มีอิทธิพลที่จะต่อสู้เราแล้ว เราสามารถจะสั่งได้ตามปรารถนา เออ….อันนั้นแล้วก็สุขหละ ทีนี้ ก็ขอสรุปให้ได้ใจความอีกว่า อันดับที่จิตลุกหนี้หน้าเราไปก่อน เราสามารถตามพิพากษานี้ ตกอยู่ใน สัขตธรรม คือยัง ปุรุง กันอยู่ มีสิ่งปรุงอยู่ มันยังปรุงกันได้ การปรุงก็เรียกว่า สังขาร จึงได้นามว่า สังขตธรรม เมื่อใดเรามีความสามารถปฏิวัติจิต ลงอยู่ในอำนาจของตปธรรม ที่สร้างสมอบรมขึ้นมาได้แล้ว อันนั้นแหละเรียกว่า อสังขตธรรม เพราะจิตไม่มีทางใดที่จิตจะลุกต่อหน้าเราไป คำที่ว่า อสังขตธรรม ไม่มีสิ่งใดมาปรุงหมายความว่า รู้เป็นอันรู้ สุขเป็นว่าสุข ไม่มีทุกข์เข้ามาเขือ สว่างเป็นอันว่าสว่าง ไม่มีมืด เรียกว่า เอกรัตตึงมีราตรีอันเดียว สว่างจ้าอยู่แล้ว แต่เมื่อต่ำลงมากว่านั้น ซึ่งเป็นสัขตธรรมนั้น มีมืดมีสว่างเป็นผู้อยู่ มีสุขมีทุกข์ เป็นผู้อยู่ รู้แล้วกลับไม่รู้ขึ้นมาแทนก็มี มันกลับกลอก เมื่อมันถึงที่สุดกิเลสของ เขตของมัน ซึ่งเป็น อสังขต แล้วไม่มีอะไร ปรุง หมายความว่าดวงจิตนั้น บริสุทธิ์ เป็น ประภัสสร กิเลสไม่เจือ มันไม่หลงไปตามอำนาจของกิเลส ความรู้ทั้งหมดที่รู้ มันก็ไม่หลงในความรู้ ความเห็นไม่หลงในความเห็น ผลของสมาธิจิตที่ปรากฏไม่หลงในผลทั้งหมดไม่มีหลง แต่ว่ารู้ไม่หลง ความรู้ไม่หลงนี่แล เรียกว่า อสังขตธรรม ไม่มีมืดไม่มีสว่างแล้ว หมายความว่าสว่างก็สว่างแค่นั้น รู้ก็รู้แค่นั้น เต็มที่อยู่อย่างนั้น นี่มันเป็นอย่างนี้ นี่แหละ เพราะเหตุนั้น ถึงว่าเราผู้ปฏิบัติธรรม ให้พยายามหาทางดำเนินให้ถึง ปัญญาธรรม เมื่อเรายังเข้าไม่ถึงขึ้นปัญญา เราก็จะได้แค่สัญญา เมื่อเราอยู่ในอันดับแค่สัญญา พูดธรรมะก็พูดกันได้แค่สัญญา เอาสัญญาจำจากครูบาอาจารย์จำจากตำรับตำรามาพูดกันเป็นปี่เป็นขลุ่ย สนุกสนามเพลิดเพลินเห่อเหิม แหม..ต่างคนก็ต่างได้ แท้ที่จริงพูดไปตามสัญญา นำสมบัติของบุคคลผู้อื่นมาพูดอวดกัน ไม่ใช่สมบัติของตัวเอง อันนี้เรียกว่าขั้นสัญญาชน ชั้นสัญญาชนคุยกัน เอาธรรมะเอาคุณสมบัติของคนอื่นมาพูดกันไปตามสัญญา แต่เมื่อทำการปฏิวัติถึง อสังขตธรรม เรียกว่าชั้นปัญญาชน คือ ความรอบรู้ในกองสังขาร ส่วนสังขารทั้งหมดรู้ชัดเท่าแล้ว ชัดแล้ว ไม่มีทางที่จะหลงตามสังขารแล้ว ไม่มีสิ่งใดเข้าไปปรุงเจือมันแล้ว บริสุทธิ์แท้แล้ว ชั้นนี้เป็นชั้นปัญญาชน คุยกันก็คุยกันด้วยปัญญา ด้วยผลของสมาธิที่ปรากฏขึ้นจากตัวเองจริง ๆ เพราะฉะนั้น โดยส่วนมากเราฟังธรรมะ เราได้ฟังจากชั้นสัญญาชน ไม่ได้ฟังจากชั้นปัญญาชนเท่าไรนัก อย่างพระพุทธเจ้าพระอริยเจ้านั้นเป็นปัญญาชน อย่างปุถุธรมดาเรียกว่าสัญญาชน อย่างชาวโลกก็นิยมพูดกันว่าคนนี้ได้รับการศึกษาดีเรียกว่าปัญญาชน เอ้อ..อย่างนี้ ทางโลกเขานะเรียกว่าโลกนิยม แต่ส่วนธรรมะนิยมหรือธรรมโวหาร ไม่ได้เป็นอย่างนั้น เมื่อใครมีปัญญา คือ ความรอบรู้ในกองสังขาร ไม่หลงในสังขารรู้เท่าสังขาร จิตของท่านบริสุทธิ์แล้ว ไม่มีสิ่งใดเข้าเจือ อันนั้นเรียกว่าท่านถึงซึ่งปัญญา คือ ถึงซึ่งปัญญา ได้จัดบุคคลประเภทนี้ เรียกว่า ปัญญาชน เพราะเหตุนั้น เราว่าคนนั้นปัญญาดี คนนี้ปัญญาดี พูดด้วยความหลง คนรู้ยังไม่จริง ถ้ารู้จริง คนที่มีปัญญาเป็นคนเช่นไร นี่มันเป็นอย่างนี้ เมื่อคนที่รู้จักคนที่มีปัญญา คนผู้นั้นจะเลือกคนได้คนที่มีปัญญา แล้วจะได้ฟังธรรมะจากท่านผู้ที่มีปัญญาเรียกว่า ปัญญาชน อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก อาตมาขอฝากให้โยมโพธิ์ นางฟอม เอาไปนึกคิดพิจารณาตามภาษาป่า เถื่อนของอาตมาที่เล่าสู่ฟังนะ ฮื้อ….ป่าเถื่อนเขาสุกิม. |