ทีนี้มาพูดถึงการมาของพวกเราแล้ว ต่างคนต่างก็มุ่งเพื่อทำความดีกัน แต่ความดีอันนี้เป็นสิ่งที่น่าทำ เพราะว่าความดีที่เราจะกระทำนี้ เป็นผลดีแสดงตอบ หรือว่าแสดงให้แก่เรา ปัจจุบันนี้พวกเราก็มีความสุข อย่างพวกเรามาอย่างนี้รู้สึก แหม สบายใจ กลับไปนึกถึงการมาวัดของเราก็ภูมิใจ ดีใจ สบายใจ อันนี้มันเป็นบุญ ที่นี้ ถ้าหากเราไม่ได้มาวัดหรือไม่ได้ประพฤติความดี มันก็อย่างว่า จิตใจมันก็ยังไปเกาะอันนั้นอันนี้วันนี้เราสิ่งที่ไม่ดีอะไรต่ออะไรบ้าง มันก็ไม่สบายใจ มันก็ตรงกันข้ามกันมา ทีนี้พูดถึงความดีส่วนสำคัญที่เราจะปรับปรุง สวนใหญ่มันก็อยู่ ๓ นัย คือต้องทำให้ใจของเรานี้เป็นเบื้องต้น แล้วทำให้กายดีและวาจาดี แต่ส่วนกายและวาจานี้มันออกไปจากจิต เพราะจิตของเรานี้มันเป็นตัวบังคับการ กายและวาจา ต้องเป็นไปตามอำนาจของจิต เพราะฉะนั้น สำคัญอยู่ที่จิต ๆ นี้สำคัญมาก ถ้าจิตไม่ดีแล้วการแสดงออกทั้ง ๒ คือ กายและวาจา ไม่ดีแน่ เช่น จิตโกรธอย่างนี้ การแสดง กาย และวาจา ออกมา มันก็มองชัดอยู่แล้วว่า ไม่ดี มนุษย์ทั้งหลายเห็นก็คงว่าไม่ดี ไม่ชอบ ไม่อยากแอบไม่อยากเข้าใกล้ ในเมื่อคนนี้กำลังโกรธหรือแสดงบทบาทที่ว่าโกรธอยู่ ก็ไม่อยากแอบเลยทีเดียว อยากจะหลบหนีให้ห่าง ก็เพราะว่าการแสดงออกไม่ดี ที่นี้ อันไม่ดี ตัวต้นมันมาจากจิต จิตมันไม่ดี ตัวจิตมันโกรธ มันจึงได้แสดงออกมาภายนอกได้เห็นประจักษ์ อันนี้ก็หมายความว่ามันไม่ดี เพราะฉะนั้นหากในเมื่อจิตของเราไม่ดีแล้ว กายและวาจา จะไปไม่ได้ เพราะว่าจิตเป็นตัวบังคับการใหญ่ เป็นผู้สั่งการเพราะฉะนั้น ดีหรือไม่ดี มันก็อยู่จิตแหละตัวสำคัญ ถ้าเราปรับปรุงหรือบำรุงจิตของเราหรืออบรมจิตของเราให้ดีแล้ว กายและวาจา ของเราดีแน่ เพราะฉะนั้น เหมาะสมเหลือเกินพวกเรามาที่นี่ มุ่งหวังที่มาอบรมจิตของตัวเองให้ดี แต่อุบายวิธี การอบรมจิตของตัวเองให้ดีนี้ก็สำคัญที่สุดคือการได้ยินได้ฟังบ่อย ๆ การได้รู้ได้เห็นหมู่คณะประพฤติ เช่น ดุจในสมัยที่อาตมาเข้าไปอยู่สำนักของท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร นี้อาตมาเห็นผล เพราะได้ดูการเคลื่อนไหวของท่านอาจารย์ใหญ่มั่นการลุกเหินเดินนั่งพูดจา กิริยาพาที ส่วนภายนอกมันประจักษ์เพราะหูเราฟังได้ ตาเรามองเห็นได้ แต่ส่วนจิตใจของท่านไม่มีอะไรที่จะเข้าไปมองได้ แต่ก็มองถึงส่วนแสดงออกทางการกายและวาจา ที่แสดงให้เราเห็นให้เราได้ยิน แต่ส่วนนี้มันก็มาจากใจ คล้ายกันกับว่าถึงแม้เราจะมองส่วนภายนอกมันก็ทำให้มองเข้าไปถึงใจได้ เพราะใจของทานดี ใจของท่านปราศจากอาสวะกิเลส ๆ ไม่ได้กระตุ้นใจ คือ ความรู้สึกทางด้านใจของท่านให้เป็นไปตามระบบของกิเลสได้ หมายความว่ากิเลสตัณหานี้ไม่มีทางที่จะบังคับจิตของท่านอาจารย์ มั่นให้เป็นไปตามรูปของมันได้ ทานอาจารย์ มั่น มีกระแสจิตเป็นไปตามธรรมมีธรรมเป็นสิ่งนำพา ญัติเข้าสู่ธรรมตลอดเวลา เพราะฉะนั้น การแสดงออกทางร่างกายและวาจาของท่าน จึงเป็นไปตามรูปเดียวกันคือว่ามีธรรมเครื่องเป็นอยู่ตลอด อาตมาได้เห็นแล้วก็พยายามดำเนินตัวของเองให้เป็นไปตามรูปของท่าน ถึงแม้ว่าจะไม่มีความสามารถกระทำได้ดี ละเอียดละออทุกอย่าง ยังน่าภูมิใจเพราะว่าเราได้เห็นถึงแม้ว่าไม่ได้เห็นพระอรยเจ้าในยุคสมัยพุทธกาลก็ตาม เห็นท่านอาจารย์ใหญ่มั่น ภูริทัตตเถร ที่ท่านเป็นอริยบุคคล ในยุคสมัยนี้ ซึ่งอาตมาเกิดมาทัน ได้เห็นการแสดงออกภายนอกทางกาย และวาจา ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามองด้วยตาและได้ฟังด้วยหู พิจารณาแล้วว่าท่านแสดงออกทุกิริยาอาการทุกบทบาท มีอะไรเป็นสิ่งนำพากันแน่ สรุปแล้วก็มีธรรมเป็นสิ่งนำพาตลอดเวลา กิเลสไม่มีทางที่จะนำพาไปได้เพราะฉะนั้น เป็นเหตุให้ปลื้มใจ มีความปีติในใจเป็นอย่างมาก สำหรับที่ได้ไปเห็น ที่พูดก็อยากจะให้เข้าใจว่า สำหรับพวกเราแสดงหาครูบาอาจารย์และผู้ประพฤติธรรมที่ดีแล้วเพราะเราจะได้เห็นตัวอย่างจากผู้ประพฤติธรรมทั้งหลาย ว่าผู้ประพฤติธรรมทั้งหลายมีมารยาทการแสดงออกอย่างไรบ้าง เรียกว่าผู้ประพฤติธรรม และพระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ก็ดี ผู้ประพฤติธรรม ท่านมีบทบาทแสดงออกอย่างไรบ้างทางกาย ทางวาจา และจิตใจ เราก็ได้พิจารณา สรุปได้ความว่าการแสดงออกของผู้ประพฤติธรรมคืออย่างนี้ เราก็จะได้ดำเนินตัวของตัวเราให้เป็นไปตามรูปของท่าน นี่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เราผู้มุ่งหวังที่จะอบรม กาย วาจา และจิตตัวเองให้ดี เราก็ควรที่จะไปมาหาสู่หมู่คณะผู้ประพฤติธรรมเสมอ นี่ดีแล้วถูกต้องแล้ว และบรรดาพวกท่านทั้งหลายมีมานี้ เป็นสิ่งที่น่าภูมิใจ ขอให้พวกเราจงพยายามกระทำให้เสมอไปเถิดทีนี้ส่วนอุบายวิธีที่จะเราดำเนินให้ดีนั้นก็ต้องหาเหตุผลต่าง ๆ มาช่วยกระตุ้นและเตือนตัวเอง คือ เหตุผลนั้นในเบื้องแรกเราก็ต้องหาอุบายวิธี สร้างสติด้วยการทำสมาธิ เช่น การนั่งทำสมาธิกำหนดลมหายใจเข้า-ออก ที่ปลายจมูกใช้บริกรรมภาวนาประกอบ หาใจเข้าพุทธ หายใจออก โธ พุทโธ ๆ ๆ ด้วยอุบายวิธีที่กระทำก็ต้องการอยากจะให้ลองสติว่ามีความสามารถปกครองความรู้สึกของตัวเอง ให้อยู่ในอำนาจของสติ คือที่เรากำหนดบังคัมนี้หรือไม่อยู่ที่จุดเราตั้งไว้ที่ปลายจมูกหรือไม่ เราก็กำหนดใหม่ พุทโธ ๆ ถ้าจิตของเราหากไปเกาะอารมณ์สัญญาภายนอกด้วยการเผลอไปเราตั้งใหม่ ให้ทำอย่างนี้เสมอไป ถ้ามันเหนื่อยเราก็นอนตะแคงขวา เอามือขวาซ้อนไปที่แก้มเอามือซ้ายวางราบไปตามตัว แล้วก็กำหนดอย่างเดิมนั่นแหละ ที่ปลายจมูกพุทโธ ๆ อยู่เรื่อย แต่ไม่ออกเสียงนะ พุทโธ ๆ เรื่อยไป มันหลับก็หลับไป ตื่นขึ้นมาก็พุทโธ ๆ ใหม่ มันเหนื่อยเราเดินจงกรม อย่างที่อธิบายสู่กันฟัง พอไปถึงทางเดินกรม ทางที่เราจะเดินยาวประมาณ ซัก ๒๕ ก้าว หรือว่ามันยาวสูนเข้ามาก็ได้ ถ้ามันสั้นมักยาวออกไปก็ได้ ตามแต่สถานที่หรือตามแต่ถนัด เสร็จเสร็จแล้วยืนตรง ประณม พุทโธ ธัมโม สังโฆ ๆ ๆ เสร็จก็วางมือลงไป เอามือซ้ายวางก่อน เอามือขวาวางเกาะหลังมือ เกินก้าวขาขวา เดินก้าวขาขวาไป พุท ก้าวขาซ้ายไป โธ พุทโธ ๆ อย่าช้านักอย่าเร็วนักพอถึงจุดทางโน้นเสร็จยืนนิดหน่อย เวียนขวาก็หันทางขวา ให้ตรงมาถึงทางเดินจงกรม ยืนนิดหน่อยก็ก้าวลง พุทโธ ๆ จนไปถึงทางโน้น เวียนทำอย่างนี้เสมอ โดยอุบายวิธีก็ต้องการอยากจะให้จิตของเรานี้ อยู่ในอำนาของตัวบังคับตัวส่งเสมือน เมื่อเราเหนื่อยแล้วเราก็ยืน หลับตาก็ได้ลืมตาก็ได้ ทำมือเหมือน ๆ กันเดินจงกรม และก็กำหนด พุทโธ ๆ เรื่อยไป อยู่อย่างนั้น หรือหากในเมื่อเราทำงานทำการก็ดีหรืออ่านหนังสือก็ดี คุ้มให้รู้อยู่ในงาน อย่าไปทำให้เป็น ก็ขอให้มีสติ คุมรับรู้อยู่ในงาน อย่าไปทำให้เป็น ๒ หน้า เช่นงานอันนี้ต้องให้สมบูรณ์เต็มสมบูรณ์เลย ไม่ให้มีแบ่งส่วนไปทางไหนเลย แต่ใจไปคิดอันนู้น ไปเอาต้องให้สมบูรณ์คือว่าให้เต็มสมบูรณ์เลย ไม่ให้แบ่งส่วนไปทางไนเลยให้ทำอย่างนี้ แล้วก็พุทโธ ๆ อยู่ โดยวิธีแล้วก็ต้องการจะให้สติสัมปชัญญะนี้สมบูรณ์ เพื่อหาอุบายวิธี ที่จะมาห้องกันจิตของเรา ไม่ให้รั่วไหลเป็นไปตามรูปของสื่อกระทบ คือเหตุการณ์ โดยจุดประสงค์ของเรา ขอให้ตั้งใจเอาไว้อย่างนี้ ที่นี้ต่อจากนั้นไป หากในเมื่อเราไป ณ สาถนที่ใด เราก็พยายามฝึก การลุกขึ้นมันเผลอตัวไหม การนั่งลงเผลอตัวไหม การลุกขึ้นทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับ เพศ วัย ฐานะ การนั่งลงจะทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมกับ เพศ วัย ฐานะ เราก็พยายามดูครูบาอาจารย์และหมู่คณะผู้ประพฤติธรรม ลุกอยางไร นั่งอย่างไร ซึ่งตัวอย่างทีดีที่สุดนั่นแหละ เราก็พยายามใกล้ตัวของเราให้เป็นไปตามรูปนั้นเสมอ ให้จนชิน ให้จนชำนาญ อาศัยสติสัมปชัญญะ ตัวประคองจิตให้อยู่ในอำนาจของมันนี่ให้ไวที่สุด เอามาจับมาแต่งตรงนี้ ตลอดการหยิบของ การวางของ อะไรต่ออะไรต่าง ๆ ตลอดมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ก็บังคับให้เกิดมีความรู้สึกให้มันชัดในสมอง ว่าอันนี้ควร ดีหรือไม่ดี มันไม่ได้ก็รีบพยายามเข้าไปแก้ไขอะไรเหล่านี้พยายามฝึกและบังคับตัวเองอย่างนี้เสมอไป ทีนี้เมื่อเหตุการณ์มันเกิดปรากฏขึ้น เช่น เขาด่าเรา ๆ จะทำอย่างไร เราก็ต้องพยายามใช้อำนาจตัวนี้ ตัวที่เราสร้างขึ้นมาบังคับไว้ก่อน คือว่ากรุต้นไว้ก่อนอย่างให้เป็นไปตามเหตุการณ์ แล้วถึงใช้บทวิจารณ์เพื่อหาเหตุผลมาแก้ให้เป็น เราเป็นลูกศิษย์ของครูบาอาจารย์ เมื่อเขาด่าเรามา เราค่าเขาตอบ ความเสียหายจะเท่าไร มันเสียหายถึงครูบาอาจารย์และศาสนาด้วย มันเสียหายไปจนกระทั่ง คุณเตี่ย คุณพ่อคุณแม่ หรือชาติโคตรตระกูลของเราด้วย มันไม่เฉพาะเราคนเดียว เพราะฉะนั้น ไม่สมควรที่เราจะต้องตอบเข้าด้วยกิริยาแบบนี้ นี่เป็นอย่างนั้น ถ้าเรามีช่องทางที่จะแก้ไขได้หรือเรามองเห็นวาพอที่จะแก้ไขได้ แต่ในเมื่อจิตของเราสงบแล้ว ไม่โกรธ ไม่เป็นไปตามรูปของเหตุการณ์แล้ว เราก็หาวิธีพูดให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ถ้าเราไม่มีช่องทางที่จะพูด ก็เฉย นิ่งเสียดีกว่า เพราะพระพุทธเจ้าผู้พระบิดาพระองค์ทำแบบนั้น และก็สอนพวกเราอย่างนั้น ที่นี้เมื่อมีเหตุการณ์อย่างอื่น เราก็พยายามหัดคิดอย่างนี้เสมอ เพื่อจะเอาเหตุผลต่าง ๆ มาเพื่อบังคับจิตหรือประคองจิตของเรา ให้อยู่ในคำที่เรียกว่าปกติ นี้เสมอ ไม่ให้เป็นไปในทางที่บาป สิ่งใดที่มันปรากฏขึ้น จะชวนให้เราดีใจ เช่น เขาชมเรา ปรากฏจิตใจมัน ฟู ลอยขึ้นมา แล้วก็หาเหตุผลมาให้ โลกนี้ก็แค่นี้เอง มันมีสรรเสริญกับนินทาคู่กันอยู่ ถ้าเราหลงในทางสรรเสริญแล้ว นินทางเราก็ไม่ต้องการเมื่อนินทามันเกิดขึ้นมาแล้วมันก็เศร้าหมองอะไรเหล่านี้เป็นต้น เราก็หาเหตุผลเตือนอยู่เสมอ เพราะเหตุนั้น เหตุการณ์ใดที่ปรากฏ ที่เราได้ประสบมันกำลังเผชิญกันอยู่ เราก็พยายามน้อมนึกถึงพระพุทธเจ้าผู้พระบิดา พระองค์เป็นอัจฉริยะมนุษย์ ท่านเป็นผู้ดีจริง ถึงขนาดท่านเป็นลูกชายใหญ่ของกษัตริย์ ถ้าเรามองดูแล้วในยุคสมัยโน้น
ปกครองแบบราชาธิไตยมีอำนาจยิ่งใหญ่มากแต่ในหลักพระพุทธเจ้าสัพพัญญูพุทธองค์นี้ที่พวกเราได้ทราบ
ถึงแม้จะมีเหตุการณ์รุนแรง ซึ่งไม่สมควรที่พระองค์จะต้อง หรือพูดกันง่าย
ๆมองดูตามเหตุการณ์ที่ปรากฏแล้ว ไม่น่าพระองค์จะยับยั้งได้เลยแต่พระองค์ก็หาวิธียับยั้งตัวเองโดยวิธีที่แนะนำให้นี้พระองค์ก็สามารถที่รู้เท่ากับสิ่งที่ได้ประสพอยู่นั้นจนถี่ถ้วนและละเอียดละออ
จนมองเห็นว่า อันนี้มันเป็นกฎธรรมดาของโลก หรือสภาพของโลก มันก็มีอยู่แค่นั้น
รู้เท่าวาระนั้นทั้งหมด จิตของพระองค์ ไม่แสดงต่อแม้แต่นิดเดียว เรียกว่าปรกติอยู่ซึ่งผู้พระบิดาบรมครูของพวกเรา
พระองค์ก็หาเหตุผลมาแก้ไขจิตของพระองค์ให้ปรกติต่อสิ่งกระทบทั้งด้านดีและด้านชั่วเขาชมเชยหรือสรรเสริญหรือตำหนิเหล่านี้เป็นต้น
พระองค์ก็มีอุบายวิธีแก้ไข จนเป็นปรกติอยู่ตลอดเวลาพวกเราก็สมควรต้องนึกถึงอุบายวิธีพระองค์ดำเนินซึ่งผู้พระบิดาของเราแล้วควรที่จะอายพระองค์บ้างว่าเราผู้ถวายตัวเป็นลูกของพระพุทธเจ้านี้
เหตุการณ์อันนี้ปรากฏขึ้นเมื่อเป็นไปตามรูปของเหตุการณ์นี้ เขาชวนให้เราทะเลาะกัน
ก็ดีเหล่านี้เป็นต้น เราก็ควรจะน้อมนึกถึงพระองค์ว่า ผู้พระบิดาของพวกเรา
พระองค์ดีจริงเป็นอัจฉริยะมนุษย์ซึ่งตามความเป็นมา ของพระองค์แล้ว่าพระองค์ไม่ได้ใช้วาทะรุนแรงตอบบุคคลที่มีวาทะที่รุนแรงต่อพระองค์บุคคลที่มาสรรเสริมญเยินยอพระองค์พระองค์ก็ไม่ยิ่งหยอง
พระองค์ก็ปกติอยู่เช่นกัน เพราะฉะนั้นผู้พระบิดา ของพวกเราเป็นอย่างนี้สมควรแล้วหรือที่เราผุ้ถวายตัวของเราให้เป็นลูกของพระพุทธเจ้า
ทท่จะมาแสดงบทบาทต่อเหตุการณ์อันที่รุนแรงอย่างนี้ให้เป็นไปตามรูปของเหตุการณ์
อันนี้เป็นเพียงแค่กฎธรรมดาของโลกเท่านั้น เราก็ควรจะหาอุบายวิธีมายับยั้งจิตแล้วก็น้อมนึกถึงพระพุทธเจ้า
อีกว่าเมื่อหากเราปล่อยให้กิริยาอาการเป็นไปตามรูปของเหตุการณ์แล้วผลเสียไม่เฉพาะเราเสียเนื่องไปถึงพระบิดาของเราคือพระพุทธเจ้าผุ้บรมครูและเสียถึงครูบาอาจารย์ของเราด้วยเสียถึงหมู่คณะผู้ประพฤติธรรมร่วมกันด้วย
เสียถึงชาติโคตรตระกูลของเราด้วย ความเสียหายมันเนื่องกันไป ไมมีที่สิ้นสุดเพราะกันเหมือนลูกโซ่เราต้องหาอุบายวิธีมาห้ามปรามจิตของเราใหอยุ่ในคำที่เรียกว่าปรติ
ไม่หวั่นไหวเป็นไปตามเหตุการณ์ที่ปรากฎที่กระทบอยู่เมื่อพวกเราเห็นสาวกหรือลูกชายลูกหญิงของพระพุทธเจ้ากระทำได้อย่างนี้พวกเราก็เรียนกว่าผู้บรรลุนิติภาวะในทางะรรมเป้นผู้มีกำลังของธรรมที่สร้างขึ้นมาสมบูรณ์
ไว้ดีแล้วไม่ปล่อยให้จิตของเรารุนแรงเป็นไปตามเหตุการณ์ เราต้องเป็นเราเองมีอิสระในตัวอาศัยเหตุการณ์เป็นสิ่งนำพาเข้าสู่ระบบของมันอยู่ตลอดเวลา
ดีชั่วชั่วดีก็เป็นอันว่าเป็นไปตามรูปของมันอยู่ตลอดเวลาแปรว่าเราไม่ได้เป็นตัวของเราเองอาศัยเหตุกาณ์นำพาทุกสิ่งทุกอย่างดีชั่ว
ชั่วดีเป็นไปตามรูปของเหตุการณ์ตลอดเวลา อันนี้เรียกว่าผู้ไม่มีอิสระในตัวผู้เป็นธาตุของกิเลสตัณหา
เป็นทาสของอารมณ์แต่หากในเมื่อพวกเราผู้สร้างกำลังส่วนนี้สกัดกั้นไม่ให้จิตของเราเป็นไปตามรูปเหตุอันนั้นได้แล้วเราเป็นตัวของเราของเรามีอิสสระในตัวของเราสามารถพูดได้ว่าเรเป็นไท
ไม่ใช่ทาสหรือจะเปล่งอุทานออกมาดัง ๆ ได้ว่า ชิตังเม ชิตังเม เราผู้ชนะ
คือ ชนะอะไร ชนะเหตุการณ์และอารมณ์อันที่ จะทำให้เราเสียหายเป็นไปเพื่อความสกปรกเดินตอสายใยของภพชาติ
หรือสืบต่อภพของจิต เราก็สามารถจะเปล่งอุทานว่า ชิตังเม เราผู้ชนะในเหตุการณ์อันนี้ได้แล้วจิตของเราไม่ต่อภพได้แล้ว
ไม่ได้เป็นไปตามรูป ของเหตุการณ์แล้ว เราชนะแล้วเราสามารถเปล่งอุทานออมาได้
สมกับว่าเราเป็นลูกของพระพุทธเจ้าเป็นลูกศิษย์ของครูบาอาจารย์ เป็นผู้มุ่งดี
หวังดี เมื่อเราทำได้อย่างนี้นั้น ที่สุดแล้วแดนอมตมนฤพานผู้พระบิดา และพระอริยชนที่ทานไปอยู่
เราจะเข้า ไปอยู่ในแดนอันนั้นได้แน่นอน ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วไม่มีโอกาสจะไปได้
เพระแดนอันนี้ไม่ยอมรับบุคคลที่ตกอยู่ใต้อำนาจของอารมณ์ หรือกิเลสหรือตกอยู่ใต้อำนาจของเหตุการณ์
บุคคลที่มไมีอิสสระในตัวปล่อยให้เหตุการณ์และอารมณ์นำพาให้เป็นไปตามรูปของเหตุการณ์และอารมณ์อยู่ตลอดวเลานั้นไมสมความีท่จะต้องเข้าไปสู่แดนอันนี้เพราะมิใช่ผู้บรรลุนิติภาวะในทางธรรม
เป็นคนอ่อนที่สุดในทางธรรม นี้เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นพวกเราผู้เป็นสาวกสาวิกาของพระพุทธเจ้าผู้มุ่งดีผู้หวังดี
จงพยายามหาอุบายวิธี ทำสมาธิจิตให้เป็นไปตามรูปดังกล่าว แล้วเอากำลังส่วนนี้มาช่วยดังกล่าว
แล้วพวกเราจะได้ดำเนินก้าวเข้าไปสู่ความหมดจด เป็นผู้มีอิสระในตัว เป็นผู้ที่เรียกว่าเป็นตัวของตัวเอง
ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของกิเลสตัณหา ไม่ให้ติดต่อภพ เป็นไปตามสายใยของภพ และหลงในภาพของมโนภาพของกิเลส
หรือ ตัณหาที่มันสร้างขึ้นมาให้เราหลง พวกเราจะได้รู้เท่าหมดทุกกิริยาอาการ
นี่เป็นอย่างนั้น เพราะฉะนั้นนี่แหละขอฝากเหตุผลอันนี้ให้ไปคิดพิจารณา
หากในเมื่ออุบายวิธีอันนี้ถูกต้องแล้ว ตามหลักลัทธินิยมทางพระพุทธศาสนา
เป็นไปตามสายทางของพระพุทธเจ้า เป็นการเจริญรอยตามยุคลบาทของพระองค์ถูกต้องแล้ว
ก็ขอให้พวกเราจงพยายามดำเนินตามแล้วพวกเราได้มีความสุขความเจริญต่อไป |