สถานที่ดังกล่าวอยู่ ณ แห่งหนตำบลใด อำเภออะไร จังหวัดอะไรท่านผู้อ่านคงนึกวาดภาพไปต่างๆ นานา ตามความเข้าใจของแต่ละท่าน ผู้เขียนจึงขอถือโอกาสเล่าถึงสถานที่แห่งนี้ให้แก่ท่านผู้อ่านได้ทราบพอสมควรแก่เวลาดังต่อไปนี้คีอ
สถานที่ดังกล่าวนี้เป็นภูเขาลูกหนึ่งมีเทือกยาวติดต่อกัน และมีลูกเล็กบ้างใหญ่บ้างสลับซับซ้อนกันจนถึงฝั่งแม่น้ำโขง สถานที่แห่งนี้ภาษาท้องถิ่น (อีสาน) เรียกว่า "ภูวัว" และมีหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ที่สุด พอได้โคจรบิณฑบาตระยะทางห่างจากที่อยู่ประมาณ ๗ กม. หมู่บ้านดังกล่าวมีชื่อว่า บ้านดอนเสียด ตำบลบ้านต้อง อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย
สำหรับหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เมื่อได้เดินทางไปถึง ท่านก็ได้ปักกลดบำเพ็ญภาวนาติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายเดือน และมีโอกาสทำสมาธิได้เต็มที่ เพราะครั้งนั้นท่านได้ธุดงค์ไปเพียงองค์เดียว ท่านจึงไม่มีความกังวลใดๆ ทั้งสิ้นเกี่ยวกับ เรื่องของคนอื่น มีหน้าที่บำเพ็ญสมณธรรม เพี่อความหลุดพ้น ซึ่งเป็นจุดหมายที่ได้ตั้งใจเอาไว้
หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านเป็นผู้เสียสละ เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ ในการออกปฏิบัติธรรมจริงๆ ท่านยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่งชีวิต เพี่อแลกเปลี่ยนเอาคุณธรรม ท่านมีอุดมคติอยู่ว่า "ไม่ดีไห้ตาย ไม่ตายให้ดี" อันนี้เป็นปณิธานอันเด็ดเดี่ยวของท่าน เพราะสมัยนั้นภูวัวเต็มไปด้วยสัตว์ร้ายนานาชนิด เช่น ช้าง เสือ หมี และสัตว์อื่นๆ อีกมากมาย
ถ้าไม่เสียสละจริงๆจะไม่มีความสามารถอยู่ได้เลย บางครั้งเวลาออกบิณฑบาต ยังเห็นรอยเสือขีดข่วนต้นไม้ตามสายทางที่ผ่านไป มีทั้งใหม่และเก่า บางครั้งน้ำยังขุ่นๆ อยู่ก็มี "ยิ่งพอตกตอนกลางคืนเสียง เสือมันร้องคำรามน่าหวาดหวั่น" พอมันร้องแต่ละที ในป่าอัน แสนสงบวิเวกดูประหนึ่งว่า สะเทือนสะท้านหวั่นไหว ไปทั้ง อาณาเขตภูเขาลูกนั้น บางคืนมีทั้งช้างและเสือ คืนไหนที่ไม่ได้ ยินเสียงสิงห์สาราสัตว์ต่างๆ นั้นเป็นไม่มี จึงนับว่าเอาชีวิตไปเสี่ยงต่ออันตรายจริงๆ
พอเขียนมาถึงตอนนี้ จึงทำไห้ผู้เขียนนึกถึงปัญหาข้อหนึ่ง ซึ่งมีผู้ถามมานานแล้วว่า จำเป็นอย่างไรการฝึกสมาธิจิต หรือการปฏิบัติธรรม จึงจะต้องเลือกสถานที่ เพราะการกระทำ ความดีทำที่ไหนก็น่าจะได้ ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอเวลาแวะตรงนี้สักนิดหนึ่ง ขอพาท่านผู้อ่านศึกษาภูมิประเทศแห่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญต่อการปฏิบัติ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระกรรมูฐาน ท่านชอบไปภาวนากันนั้นเป็นจำนวนมาก แต่ก่อนผู้เขียนก็เคยสนใจเหมือนกันว่า ทำไมครูบาอาจารย์ที่สำคัญๆ สายหลวงปู่มั่น จึงต้องไปภาวนาที่ภูวัวกันเป็นส่วนมาก
เท่าที่เคยสังเกตดูสถานที่บางแห่ง พอไปถึงเรายังไม่ได้ นั่งสมาธิภาวนาอะไรเลย แต่ใจก็เกิดความสงบแปลกๆ เหมือนๆ จะเป็นสมาธิ แสดงให้เห็นว่าสถานที่อย่างนั้นมันชวนให้ขยัน ภาวนา จึงทำให้นึกถึงคำสอนของพรุะพุทธเจ้าบทหนึ่งที่มีอยู่ในโอวาทปาฏิโมกข์ว่า "ปนตญจ สยนาสน อธิจิตเต จอาโยโค" ซึ่งมีความหมายว่า "อยู่ในสถานที่นั่ง ที่นอนอันสงัด เหมาะแก่การประกอบเอื้อเฟื้อในอธิจิต"
ภูวัวก็เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งซึ่งเหมาะแก่การฝึกจิต เพราะสิ่งแวดล้อมหลายอย่างเอื้ออำนวย เช่น มีลักษณะเป็นป่า เขา ทิวทัศน์สวยงาม น้ำดี อากาศดีพอสมควร ฤดูร้อนกลางวัน อาจจะร้อนจัดไม่สบาย ก็หลบเข้าไปภาวนาในถ้ำได้ และยังมี ลานหินกว้างใหญ่สะดวกแก่การเดินจงกรมและนั่งสมาธิ เวลา เปลี่ยนอิริยาบถมีโขดหินสวยๆ หลายแห่ง เหมาะแก่การไปนั่ง ภาวนาในบางโอกาส มองทิวทัศน์ไปข้างๆ จะเห็นผาสูงชัน ประดับไปด้วยหมู่ไม้ และภูเขาสลับซับซ้อนกัน
ทำให้เกิดความ เพลิดเพลินแก่ผู้รักความสงบยิ่งนัก ในขณะนั้นอาจจะมองเห็น สมบัติในโลกทุกอย่างไม่มีความหมายในชีวิตเท่ากับความสงบ ความสงบ ความสลดสังเวช ความว้าเหว่วังเวง ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้ ที่เห็นว่าตัวเองจะต้องพลัดพรากจากของรักของเจริญใจฉันใด เวลาไปธุดงค์ในป่าองค์เดียวสิ่งแวดล้อมไปด้วยอันตรายรอบด้าน ก็เหมีอนกันฉันนั้น การระลึกถึงความตายย่อมมีอยู่ตลอดเวลา
นี้หมายถึงสถานที่ซึ่งจะช่วยอบรมจิต คนเราถ้าใจแข็งกระด้าง ไม่รู้จักสลด จะเข้าใจธรรมะได้ยาก เพราะธรรมะ เป็นของละเอียดอ่อนของจิตใจ ถ้าจิตละเอียดมากก็เข้าใจ ธรรมะได้มาก ละเอียดน้อยก็เข้าใจธรรมะได้น้อย ฉะนั้นถ้าผู้ อ่านพิจารณาไปด้วยก็จะเข้าใจได้ทันทีว่า "สถานที่นั้นมีความ สำคัญอย่างไรต่อการฝึกจิต"
หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เคยเล่าให้ศิษยานุศิษย์ฟังว่า ท่านได้คุณธรรมและได้กำลังใจจากสถานที่แห่งนี้เป็นส่วนมาก (หมายถึงภูวัว) จึงทำให้ท่านมีความมั่นคงในพระศาสนา ยอมมอบกายถวายชีวิตอุทิศแด่ พระรัตนตรัย ด้วยการปฏิบัติ บูชา และยังได้ชักชวนผู้ที่ยังไม่เลื่อมใสศรัทธา ให้รู้จักคุณค่า ประโยชน์ของธรรมะด้วยวิธีการต่างๆ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีที่ ท่านทำให้เกิดศรัทธาปสาทะต่อพระศาสนานั้น จุดสำคัญที่สุด ก็ได้แก่การฝึกทำสมาธิภาวนา ให้จิตใจมีความสงบ คือ "สงบจากบาป" เมื่อผู้ปฏิบัติได้ดื่มรสชาติของความสงบ ก็จัก มีความซาบซึ้งในธรรมะ และรู้จักคุณค่าประโยชน์ของพระ ศาสนา ฉะนั้น หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านจึงพยายามชักจูง เพี่อนสหธรรมิก ให้เห็นคุณค่าของการปฏิบัติภาวนา ท่านจึงได้ นำพาเพื่อนสหธรรมิก ออกธุดงค์กรรมฐานในป่าเป็นประจำทุก ปีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง เพื่อหมู่คณะจะมีโอกาสได้สัมผัสกับ ความสงบวิเวกบ้าง