พระวิสุทธิญาณเถร (34) บำเพ็ญธรรมในแดนกะเหรี่ยง

(34) บำเพ็ญธรรมในแดนกะเหรี่ยง

พอออกพรรษาปี พ.ศ. ๒๕๐๓ นี้แล้ว หลวงปู่สมชายก็ได้ ปรารภกับหมู่คณะพระเณรว่าอยากจะไปหาสถานที่บำเพ็ญทางภาคใต้สักระยะหนึ่ง จึงได้บอกลาญาติโยมชาวบ้านที่นั่น แล้วก็พากันออกเดินทางไปขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟ มีชาวบ้านติดตามไปส่งกันเป็นจำนวนมาก ได้นั่งรถไฟไปลงที่หัวลำโพง ต่อจากนั้นก็นั่งรถยนต์ไปลงที่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

เมื่อเดินทางไปถึงอำเภอหัวหินแล้ว ก็ได้เข้าไปพักที่ วัดราชายตนะบรรพต ซึ่งมี ท่านพระอาจารย์ฉลวย เป็นเจ้าอาวาส แต่ไม่ได้อยู่ที่วัดล่างได้พากันขึ้นไปอยู่บนหลังเขา ซึ่งมีอีกวัดหนึ่งตั้งอยู่บนนั้นมีความสงบสงัดดีมากได้พักอยู่ประมาณ ๒-๓ เดีอน หลวงปู่สมชายก็ได้พาหมู่คณะเข้าไปหาสถานที่วิเวกลึกเข้าไปในป่าอีก ได้เดินบุกป่าฝ่าดงเข้าไปถึงข้างในดงดิบ ซึ่งเป็นป่าดงดิบจริงๆ เขาเรียกว่าทุ่งกะสังและเลยเข้าไปอีกเรียกว่าไร่สุดใจ ไทรเอน ห้วยสัตว์น้อย ห้วยสัตว์ใหญ่

พอเดินไปถึงห้วยสัตว์ใหญ่ก็ได้พบกับค่าย ตชด.มีเจ้าหน้าที่ประมาณ ๕ นาย ซึ่งมาคอยดูแลรักษาป่าอยู่ที่นี่ เรียกว่า ค่ายห้วยสัตว์ใหญ่ หลวงปู่กะว่าจะเดินทางเข้าข้างในต่อไปอีกเรี่อยๆ แต่พวก ตชด. เขาขอร้องไม่ให้เข้าไปเพราะว่าเป็นเขตแดนของพม่า เกรงว่าจะ ไม่ปลอดภัยอาจจะเป็นอันตรายได้ พวก ตชด. เขาเห็นหลวงปู่ พาพระเณรเข้าไปบำเพ็ญภาวนาในป่านั้น พวกเขาพากันดีใจ เป็นการใหญ่

พวก ตชด. ก็ได้พากันช่วยจัดหาสถานที่ให้พัก ช่วยทำที่บำเพ็ญให้ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากค่ายของพวกเขามากนัก พวก ตชด1 เขาได้หุงข้าวมาถวายวันละ ๑ จาน เขาจะถวายมากกว่านั้นก็ไม่ได้ เพราะเสบียงของเขามีจำกัด บรรดาสามเณรที่ติดตามไปด้วยจึงต้องช่วยกันหาอาหาร ประเภทผัก และยอดไม้มาเสริมทุกวัน เช่น ผักกูดมูเซอ มะละกอป่า บางวันก็เอาหยวกกล้วยป่า เอามาต้มให้สุกแล้วก็ถวายพระฉันได้ฉันกันพอมีชีวิตอยู่ปฏิบัติธรรมไปวันหนึ่งๆ เท่านั้น แต่ก็อยู่กันได้ถึง ๔ เดีอน

ต่อจากนั้นหลวงปู่ท่านให้พระ เณรกลับออกมาพักรอที่หัวหิน สำหรับตัวหลวงปู่ได้แยกไปตามลำพัง เดินทางต่อเข้าไปในป่าลึก เข้าไปจนถึงเขตอำเภอปราณบุรี ต่อเข้าไปจนถึงเมืองมะริด หรือเมืองทวาย ประเทศพม่า ในแถบนั้นส่วนใหญ่เป็นชาวกะเหรี่ยงอาศัยอยู่ หลวงปู่จึงได้พักบำเพ็ญอยู่กับพวกกะเหรี่ยง ได้ไปพักบำเพ็ญอยู่ที่บ้านป่าแดง บ้านป่าดี และบ้านป่าละอู พักอยู่เป็นระยะเวลานานพอสมควรแล้วก็ได้เดินทางต่อ

ชาวกะเหรี่ยง ก็เป็นชาวป่าอีกเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ตามป่าพวกเขาไม่เคยเห็นพระไม่รู้จักพระ นับถีอภูตผีปีศาจสืบทอดมาจากบรรพบุรุษของ พวกเขา เนื่องจากยังไม่เคยมีพระเข้าไปอบรมสั่งสอน พวกเขา จึงยังไม่รู้จักพระรัตนตรัยว่าเป็นสรณะ เป็นที่พึ่งอันประเส่ริฐ

หลวงปู่สมชายเข้าไปอยู่กับพวกกะเหรี่ยงในครั้ง นั้นแทบเอาชีวิตไม่รอดบางครั้งไม่ได้ฉันอาหารเป็นเดือนๆ บางครั้งก็ฉันผักป่าหรือยอดไม้ใบไม้ ให้พอประทังชีวิตอยู่ได้เท่านั้น จนกว่าจะทำความเข้าใจกับพวกกะเหรี่ยงได้ ก็เล่นเอาสังขารร่างกายแทบแย่ เพราะพูดภาษาฟังกันไม่รู้เรี่องแต่พอรู้เรี่องกันบ้างแล้ว

หลวงปู่ก็พยายามแนะนำให้พวกเขา หันมานับถือพระรัตนตรัยเป็นสรณะที่พึ่งอันประเสริฐ แทนการ นับถือภูตผีปีศาจนั้น เมี่อทำความเข้าใจกันได้บ้างแล้วหัวหน้ากะเหรี่ยงเขาก็เป็นผู้นำลูกบ้านของพวกเขา มาให้การอุปถัมภ์บำรุงอย่างดี รู้จักทำบุญให้ทาน รู้จักหาอาหารมาใส่บาตรถวายพระ ในขณะนั้นก็ยังฟังภาษากันรู้เรื่องบ้าง ไม่รู้เรื่องบ้าง บางครั้งบอกอย่างหนึ่งเขาก็ไปทำอีกอย่างหนึ่ง

หลวงปู่ยังเคยเล่าเรื่องตลกที่ท่านได้ประสบมาสมัยที่ อยู่กับพวกกะเหรี่ยงให้พระเณรฟัง มีอยู่วันหนึ่งภายหลังจาก พวกกะเหรี่ยงได้นำอาหารมาถวายหลวงปู่ พอหลวงปู่ฉันจังหัน เสร็จจึงเรียกพวกกะเหรี่ยงมาบอกว่า "พวกญาติโยมทั้งหลาย วันพรุ่งนี้ถ้าจะมาให้เอาจอบเอาเสียมเอามีดมาด้วยคนละอัน มาช่วยกันทำทางเดินจงกรมให้อาตมาหน่อยนะ''

พวกกะเหรี่ยงพอได้ยินหลวงปู่สมชายพูดจบลงแล้ว จึงได้พากันเดิน ทางกลับบ้านกันโดยเร็วไม่รอช้า ครู่ใหญ่ต่อมาพวกกะเหรี่ยง ทั้งหมดนั้นก็เดินทางกลับมาพร้อมข้าวของติดมือมากันด้วย หลวงปู่มองเห็นแต่ไกล ท่านก็นึกดีใจว่า "เออ.. พวกกะเหรี่ยงนี้ดีจริง บอกให้มาทำวันพรุ่งนี้ กลับมาทำให้ในวันนี้ ถ้าอย่างนั้นวันนี้เราคงได้เดินทางเดินจงกรมใหม่แน่ ๆ

แต่พอพวกเขาเข้ามาถึงหน้าหลวงปู่แล้ว เขาก็พากันเอาอาหารที่ เขาถือมานั้นวางไว้ตรงหน้าท่านมากมายก่ายกองเต็มไปหมด แล้วเขาก็นั่งรอให้หลวงปู่ฉันของเขาอีก

หลวงปู่เห็นการกระทำซึ่งเขาก็ทำด้วยความจริงใจ และทำด้วยความซื่อนั่นเอง หลวงปู่จึงได้บอกให้พวกกะเหรี่ยงเหล่านั้นนั่งทานกันเองจนหมดเรียบร้อย สำหรับตัวหลวงปู่ก็ได้ แต่นั่งยิ้มถึงความซื่อของพวกกะเหรี่ยงอยู่องค์เดียว

หลวงปู่สมชายได้พักบำเพ็ญอยู่กับพวกกะเหรี่ยงได้ประมาณ ๔ เดือน ท่านจึงได้เดินทางกลับออกมาหาหมู่คณะ พระเณรที่ได้เดินทางแยกออกมารออยู่ก่อนแล้ว รวมเวลาที่เข้าไปอยู่ที่หัวหิน ปราณบุรี มะริด ทวาย เป็นเวลา ๘ เดือนเศษ

เมี่อได้ออกมารวมกันครบหมดแล้ว จึงได้ปรึกษากันว่าจะเดิน ทางลงไปทางใต้ต่อไปเรี่อยๆ หรือว่าจะเดินทางกลับเมืองอีสานดี ก็ได้รับคำแนะนำจากท่านพระอาจารย์ทิวา อาภากโร ว่า ''หลวงปู่น่าจะลองไปทางภาคตะวันออกดูบ้าง โดยเฉพาะ ที่จังหวัดจันทบุรี มีสถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญสมณธรรมที่สงบวิเวกหลายแห่ง และชาวจันทบุรีก็มีความเลื่อมใสในพระพทธศานา มีความเข้าใจต่อระเบียบข้อปฏิบัติของพระกรรมฐานเป็นอย่างดี

เนื่องจากพระกรรมฐานสาย หลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร หลายองค์เคยได้ผ่านมาเผยแพร่หลักธรรมไว้ก่อนแล้ว หลายต่อหลายองค์ด้วยกัน เช่น หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี (ท่านเจ้าคุณพระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฎ์) หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ท่านพ่อลี ธมมธโร (ท่านเจ้าคุณ พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์) หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ และหลวงปู่มหาบัว ญาณสมปนโน (ท่านเจ้าคุณ พระราชวิสุทธิญาณโสภณ) เป็นต้น"


หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย เมื่อได้รับคำแนะนำดังนั้น ก็ได้ตัดสินใจเดินทางมาจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรจำนวน ๑๐ รูป เมี่อปี พ. ศ. ๒๕๐๔ และได้มุ่งตรงไปที่วัดเขาน้อยสามผาน ตำบลสองพี่น้อง อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เพราะว่าเป็นสำนักปฏิบัติที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่ง

สถานที่แห่งนี้เหมาะสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมเป็นอย่างยิ่งมี ความร่มรื่นสวยงามตามธรรมชาติ อีกทั้งความสงบวิเวกก็ดีมาก จึงเหมาะแก่การเจริญสมณธรรมยิ่งนัก หมู่บ้านโคจรบิณฑบาต ก็อยู่ไม่ไกล พอไปมาได้สะดวก นับว่าเป็นสถานที่สัปปายะอีก แห่งหนึ่ง ซึ่งควรแก่การบำเพ็ญกรรมฐาน

แต่พอได้ติดต่อสอบถามหัวหน้าสำนักแล้ว ปรากฏว่ากุฏิที่พักมีจำกัด พระภิกษุสามเณรได้เข้าอยู่ครบตามจำนวนหมดแล้ว และจะรับได้อีกไม่เกิน ๕ องค์เท่านั้น ถ้ามากกว่า ๕ องค์แล้ว ก็จะไม่สะดวกต่อการบำเพ็ญเท่าที่ควร คณะของ หลวงปู่สมชายมี ด้วยกันทั้งหมด ๑๐ องค์ และไม่ประสงค์ที่จะแยกกันจำพรรษาอีกด้วย จึงต้องพิจารณาหาที่จำพรรษาแห่งใหม่ต่อไป

ท่านจึงดำริในใจว่า "..ภายในจังหวัดจันทบุรีนี้ ถ้าเราจะไปเสาะแสวงหาสำนักต่าง ๆ เพื่อจำพรรษาก็ยังไม่ ทราบว่าจะพอมีสำนักใดที่จะจำพรรษากันทั้งหมดนี้ได้ เนื่องจากไม่เคยมา จึงไม่รู้จักมักคุ้นกับใครเลย ถ้าจะเดินทางกลับเมืองอีสาน เวลาก็เหลือน้อยเต็มที เกรงว่าจะไปไม่ทันเข้าพรรษา ประกอบกับทั้งค่าโดยสารในการเดินทางก็หมดลงพอดี.."

ในขณะที่กำลังกังวลใจอยู่นั้น ก็ได้มี ญาติโยมจำนวน ๒ คน เดินเข้ามาในที่พัก พอมาถึงก็พากันนั่งลงกราบ ๓ ครั้ง เป็นการแสดงความเคารพตามธรรมเนียมของชาวพุทธ เมี่อนั่ง ลงในที่อันสมควรแก่ตนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

หลวงปู่จึงได้เริ่มเรื่องสนทนาสอบถาม ได้ทราบชื่อว่า ชื่อ นายจอม แพทย์- ประทุม และนายเฉลิม ทวีธรรมหลวงปู่สมชายจึงถามต่อไป ว่า " ที่โยมเดินทางมานี้มีธุระอะไรบ้าง" นายจอม แพทย์- ประทุม กราบเรียนว่า "..พวกกระผมมาหานิมนต์พระไปจำ พรรษาที่วัดเนินดินแดง " " วัดอยู่ที่ไหน " "วัดของพวก กระผมอยู่ในเขตตำบลทุ่งเบญจา อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี " นายจอม แพทย์ประทุม ได้เล่าต่อไปอีกว่า " พวกกระผมเป็นตัวแทนของชาวบ้านเนินดินแดงและบ้านบึงบอน เมื่อวานนี้พวกกระผมได้ไปหานิมนต์พระภิกษุสามเณรตามวัดต่าง ๆ หลายวัด มีวัดเขาแก้ว และวัดจันทนาราม เป็นต้น

แต่ก็ไม่มีพระภิกษุสามเณรองค์ใดประสงค์จะไปจำพรรษาในป่าเลยแม้แต่องค์เดียว เนื่องจากท่านต้องการ จะอยู่ศึกษาเล่าเรียนทางด้านพระปริยัติธรรมกัน พวกกระ ผมก็ร้สึกเห็นใจท่าน จากที่หวังแห่งสุดท้ายได้แก่ที่ วัดจันทนาราม ก็ได้ทราบว่าคณะของพระคุณเจ้ายังไม่ได้ทีพักจำพรรษา พวกกระผมรู้สึกดีไจเป็นอย่างยิ่ง

จึงได้รีบพากันมา และขอถือโอกาสกราบอาราธนาพระคณเจ้าไปจำพรรษาที่วัดเนินดินแดง เพื่อโปรดพวกญาติโยมในป่าด้วยครับผม "หลวงปู่งจึงถามต่อไปว่า "พวกโยมมีความประสงค์ ต้องการนิมนต์กี่องค์ " " แล้วแต่พระคุณเจ้าจะเห็น สมควรพอแบ่งไปได้เท่าไร แต่อย่างน้อยก็สัก ๔-๕ องค์ก็ยังดี ""

คณะของอาตมามีด้วยกันทั้งพระภิกษุสามเณรรวม ๑๐ องค์ และก็ไม่มีความประสงค์ที่จะแยกกันจำพรรษา ต้องการที่จะอยู่จำพรรษาในสำนักเดียวกันทั้งหมด.." เมื่อนายจอมได้ฟังดังนั้นก็ลังเล ทั้งสองจึงหันหน้าเข้าปรึกษากันว่า " เราจะทำอย่างไรดี ถ้าเรารับไปหมดทั้งสิบองค์ก็ไม่ทราบ ว่าหมู่คณะจะเห็นด้วยหรือไม่ เกรงว่าจะให้การอุปถัมภ์บำรุงได้ไม่ดีเท่าที่ควร เพราะประชาชนชาวบ้านยังมี จำนวนน้อย "

พอปรึกษากันอยู่พักหนึ่งทั้งสองจึงมีความเห็นพ้องต้องกันว่า ต้องกลับไปปรึกษาหมู่คณะดูก่อน ได้ความว่าอย่างไร วันพรุ่งนี้จึงจะมากราบเรียนให้พระคุณเจ้าทราบ เมื่อ ตกลงกันเรียบร้อยแล้วก็ได้พากันกราบลาหลวงปู่สมชายเดินทางกลับ

พอนายจอม แพทย์ประทุม และนายเฉลิม ทวีธรรม เดินทางกลับมาถึงบ้านก็รีบปรึกษาหารือกันทันที ปรากฏว่าทุกคนไม่ขัดข้อง ยินดีให้เป็นไปตามความประสงค์ของหลวงปู่สมชายและพระภิกษุสามเณรทุกอย่าง หลังจากได้ตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็จัดการเตรียมรถไปรับหลวงปู่สมชายพร้อม ด้วยพระภิกษุสามเณร ซึ่งได้รออยู่ที่วัดเขาน้อยสามผาน

แต่วัน นี้คณะที่ไปรับไม่ได้พบหลวงปู่ เนื่องจากท่านได้เดินทางไปธุระที่ ปากน้ำแขมหนู อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี และ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาจึงได้รับเอาพระภิกษุสามเณรคณะ ของหลวงปู่สมชายที่ยังเหลืออยู่นั้น เดินทางล่วงหน้ามาก่อน เพี่อจะได้มาจัดเตรียมสถานที่ไว้คอยหลวงปู่

บรรดาพระภิกษุสามเณรเมี่อทราบจุดประสงค์ดังนั้น ก็ได้พากันจัดบริขารลงไปใส่รถ พอเรียบร้อยแล้วรถจิ๊บวิลลี่(จิ๊บกลาง) ของนายหริ ก็ได้นำพระภิกษุสามเณรออกเดินทางจากวัดเขาน้อยสามผาน มุ่งหน้าสู่ วัดเนินดินแดงทันที วิ่งไปตามเส้นทางอันขรุขระทุรกันดาร เพราะสมัยนั้นการคมนายัง ไม่สะดวกเหมือนอย่างปัจจุบันนี้ จากวัดเขาน้อยสามผานจน กว่าจะมาถึงวัดเนินดินแดงได้ ก็เสียเวลาไปหลายชั่วโมง ทั้งๆ ที่ ระยะทางก็ห่างกันไม่มากนัก ประมาณ ๓๐ กม.เท่านั้น

เมี่อรถจิ๊บวิลลี่ได้พาคณะพระภิกษุสามเณรมาถึงวัด เนินดินแดงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว วันรุ่งขึ้นพระภิกษุสามเณรก็ได้ ช่วยกันจัดเตรียมสถานที่รอรับหลวงปู่สมชาย ส่วนคณะญาติโยมมี นายจอมแพทย์ประทุม นายเยื้อน รุ่งเรืองศรี นายบุญชู วงศ์สวาท นายแสวง คณะศาสตร์ พร้อมด้วยญาติโยมอีกหลายคนก็ได้จัดรถลากซุงของ นายบุญชู วงศ์ส วาท ไปรับหลวงปู่ที่วัดเขาน้อยสามพรานซึ่งเป็นรอบที่สาม เมื่อกลับมาถึงวัดเนินดินแดงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว วันรุ่งขึ้นก็เป็นวันเข้าพรรษาพอดี

เนื่องจากระยะเวลากระชั้นชิดมาก บรรดาญาติโยม จึงไม่สามารถจัดสถานที่พักให้เพียงพอกับจำนวนพระภิกษุสามเณรได้ พระภิกษุสามเณรจึงต้องพักรวมกันอยู่กุฏิละหลายๆองค์ จนกว่าจะจัดที่พักให้เรียบร้อยได้ก็เสียเวลาไปหลายวัน