(11) จำพรรษาที่วัดอรัญญวาส พ.ศ. ๒๔๙๒
หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านได้พักบำเพ็ญอยู่ที่ภูวัว เห็นว่าได้รับผลดีทางด้านจิตใจเพิ่มขึ้น เป็นลำดับได้รับความรู้ความเข้าใจในพระศาสนาเพิ่มขึ้นอย่างแปลกประหลาดมหัศจรรย์ ความสุข ความสงบ ความรู้ความเห็นในสิ่งต่างๆ ก็เกิดขึ้นอย่างไม่เคยได้รับมาก่อนเลย ท่านจึงได้ ปักหลักบำเพ็ญอยู่ ณ ที่ภูวัวนั้น จนตลอดฤดูร้อน
เมื่อถึงฤดูกาลพรรษา ปีพุทธศักราช ๒๔๙๒ ท่านก็ได้ออกจากที่บำเพ็ญในป่าลงมาจำพรรษาอยู่ที่ วัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย วัดแห่งนี้ หลวงปู่เสาร์ กนตสีโล เป็นผู้สร้างไว้ พอออกพรรษาในปีนั้น หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็ได้รีบเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร และอยู่ฟังธรรมะจากหลวงปู่มั่นเป็นเวลาพอสมควรแล้ว ท่านก็ได้กราบ ลาออกหาสถานที่บำเพ็ญภาวนาต่อไป ท่านได้ปฏิบัติอยู่อย่าง นี้ตลอดมา แต่การไปภาวนาตามสถานที่ต่างๆ ของท่านนั้น ท่านไม่ได้ไปเองตามชอบใจ คีอ ท่านไปตามคำสั่งของครูบาอาจารย์
ในเมื่อครูบาอาจารย์สั่งให้ไปภาวนาที่ไหน ก็ไปที่นั่น ท่านจะให้อยู่กี่วันกี่เดือน ก็แล้วแต่ครูบาอาจารย์จะสั่ง เมื่ออยู่ครบตามกำหนดที่ท่านสั่งแล้ว ก็เดินทางกลับเข้าไปหาครูบาอาจารย์ ท่านปฏิบัติอยู่อย่างนี้เสมอมา ผู้ปฏิบัติท่านถีอกันมาก เรื่องการเคารพครูบาอาจารย์ ถ้าใครฝืนคำสั่งครูบาอาจารย์ โดยส่วนมากมักปฏิบัติไม่เป็นไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่อยู่ในสำนักครูบาอาจารย์ที่ทรงคุณธรรม อย่างสำนักหลวงปู่มั่น เป็นต้น
บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายจะให้ความเคารพนับถือเป็นพิเศษ ใครจะฝ่าฝืนไม่ได้เป็นอันขาด แม้แต่ความรู้สึกภายในยังต้องระมัดระวังไม่ให้คิดไปตำหนิติโทษท่านเป็นอันขาดเพราะ กลัวจะเป็นบาป และจะเป็นอุปสรรคในการบำเพ็ญ คีอจะเจริญสมณธรรมไม่ขึ้น
ครูบาอาจารย์ เคยเล่าถึงสามเณรองค์หนึ่ง ซึ่งเคยอยู่ในสานักหลวงปู่มั่น เป็นเณรหัวดื้อว่ายากสอนยาก ครูบาอาจารย์จะว่ากล่าวสั่งสอนอะไรก็ไม่ค่อยเชื่อฟัง หลวงปู่มั่นจึง ได้พูดเตีอนสติขึ้นว่า ระวังนะ...เณร...การฝืนคูรบาอาจารย์ไม่ไช่ของดีมันเป็นบาปถ้าฝืนมาก ๆเข้าอาจจะเป็นบ้าได้
หลวงปู่มั่นท่านพูดไม่กี่นาที สามเณรองค์นั้นก็ได้เสียสติวิปลาสทันที พอหลวงปู่มั่นสั่งว่า "ถ้าอยากหายให้หาดอกไม้มาขอขมา" เมี่อสามเณรปฏิบัติตาม ก็ได้หายจากการเป็นบ้าทันที เรี่องนี้หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ท่านก็ได้เห็นเหตุการณ์ในขณะนั้นด้วย
"เหตุการณ์อันเป็นตัวอย่างที่เล่ามานี้ ผู้เป็นบัณฑิตอาจตำหนิเอาได้ ผู้เขียนูร้สึกไม่ค่อยสบายใจ เพราะเกรงว่า การใช้ภาษาอาจไม่เหมาะสมกับผู้ทรงคุณธรรมอันประเสริฐ เช่น หลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร ผู้ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของสาธุชนทั่วไปแต่ถึงอย่างไรก็ตาม ถ้าผิดพลาดด้วยประการใดโปรดให้อภัยด้วยเถิด" สำหรับหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย นับแต่ได้อุปสมบทในบวรพุทธศาสนา ท่านก็ได้ตั้งใจศึกษาประพฤติปฏิบัติธรรมตลอดมาโดยลำดับ ไม่เคยลดละประมาทเพื่อต้องการพิสูจน์ความจริงในทางพระศาสนา ท่านได้ขยันหมั่นเพียรในกิจวัตรน้อยใหญ่ทั้งปวง มิได้ย่อท้อ ผลแห่งการปฏิบัติก็ได้เริ่มเกิดขึ้นเป็นลำดับ จึงทำให้ท่านเพลิดเพลินในความรู้ ความเห็น และมีความซาบซึ้งในรสชาติต่างๆ ของธรรมะที่เกิดขึ้นจากการบำเพ็ญเพียรของท่าน
ในระหว่างที่กำลังเพลิดเพลินอยู่กับการปฏิบัติธรรมนั้น เหตุการณ์ที่สั่นสะเทือนแก่ผู้ปฏิบัติก็เกิดขึ้น คือ ข่าวการ มรณภาพของหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ ขณะนั้นหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ยังเป็นนวกภิกษุ มีอายุพรรษาได้เพียง ๔ พรรษาเท่านั้น
เมื่อหลวงปู่มั่น ภูริทตตเถร ผู้เปรียบเสมีอนร่มโพธิ์ร่มไทร และเปรียบเสมือนตวงประทีปของคณะศิษยานุศิษย์ ได้สิ้นสุดลง ความเศร้าสลดรันทดใจได้เกิดขึ้นแก่บรรดาคณะศิษยานุศิษย์ในขณะนั้นอย่างหาที่เปรียบมิได้ หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ซึ่งก็อยู่ในฐานะเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่นองค์หนึ่งก็พลอยได้ รับความกระทบกระเทือนจากเหตุการณ์ครั้งนี้เช่นเดียวกับลูกศิษย์องค์อี่นๆ
เพราะว่าสมัยหลวงปู่มั่น ท่านยังมีชีวิตอยู่ คณะศิษย์ทั้งหลายก็ได้ถือเอาสำนักหลวงปู่มั่น เป็นจุดรวมในการศึกษาและอบรมกรรมฐานภาคปฏิบัติ ฉะนั้นบรรดาลูกศิษย์ทั้ง หลายก็ได้รับความอบอุ่นและมีกำลังใจเพราะมีที่พึ่ง แต่ในเมื่อขาดที่พึ่ง ความว้าเหว่วังเวง ความเศร้าสลดย่อมเกิดขึ้นเป็น ธรรมดาสำหรับผู้ที่ยังเป็นปุถุชน
หลังจากเหตุการณ์ได้ผ่านพ้นไปแล้ว หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ในระหว่างเป็นนวกภิกษนั้น ท่านก็ได้เข้าไปอาศัยอยู่ตามสำนักครูบาอาจารย์ต่างๆ ที่เป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่มั่น ซึ่งเป็นรุ่นพี่ ๆ ตลอดมาจนอายุพรรษาเข้าขั้นเถรภูมิ เมื่อเป็นว่า เป็นนิสัยมุตตกะได้แล้ว ท่านจึงออกบำเพ็ญภาวนาเองตามลำพังตามสถานที่ต่างๆ สมควรแก่โอกาส ส่วนสำนักของครูบาอาจารย์ ที่ท่านหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ได้เคยไปศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่ด้วยในสมัยนั้นก็มีอยู่หลายแห่ง เท่าที่ผู้เขียนพอจะจดจำได้จากท่าน เคยเล่าสู่ฟัง ก็มีดังนี้ -
๑. หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ๒. หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ๓. หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ๔. หลวงปู่กงมา จิรปุญโญ ๕. หลวงปู่สีลา อิสสโร ๖. ท่านพระอาจารย์กู่ ธัมมทินโน
และสำนักท่านพระอาจารย์กว่า ตลอดทั้งสำนักครูบาอาจารย์องค์สำคัญ ๆ อีกหลายสำนัก
|