พระวิสุทธิญาณเถร (14) อาคันตุกะมาเยือน

(14) อาคันตุกะมาเยือน

อาคันตุกะผู้มาเยือนในคืนนั้นเป็นอาคันตุกะหน้าใหม่ และ ได้ยินเสียงดัง ...สวบ.. ๆ.. ๆ.. มาแต่ไกล ดูเหมือนว่าจะบ่ายหน้าไปทางกลดของพระบัว พระบัวซึ่งอยู่ภายในกลดพอได้ยินเสียงดัง สวบ ๆ ๆ ของอาคันตุกะที่จะมาเยือน ยังไม่ทันเห็นหน้าตากันและกันเลย พระบัวก็นึกวาดภาพไปต่าง ๆ นานา และวาดภาพขึ้นมาให้เป็นเสือ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญจึงทำให้ตัวเองแทบช็อค และ แทบเป็นลมไปให้ได้


หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย มองเห็นว่าสถานการณ์ไม่ปกติ เกรงว่าพระใหม่จะช็อคหรือจะเป็นลมไป ท่านจึงออกจากกลดเดินข้ามคลองมาร้องเรียกหลวงปู่มุลว่า "หลวงปู่ๆ เป็นอย่างไรเล่า"..หลวงปู่มุลตอบว่า "เสียงอะไรก็ไมู่ร้ดังสวบๆ อยู่ทางด้านนี้ไม่หยุดเลย" พอพระบัวได้ยินเสียงหลวงปู่มุล และหลวงปู่สมชายพูดคุยกันแล้ว ก็ได้ออกจากมุ้งกลดมาทันที

พอมาถึงก็พูดว่า .."กระผมเกือบช็อคตายให้ได้ครับท่านอาจารย์".. หลวงปู่สมชายพูดขึ้นว่า .."จะเอาอย่างไรดี นี่บำเพ็ญให้ภาวนาไปเถิด ไม่มีอะไรนั่นมันเสียงเม่นต่างหากไม่ใช่เสือ".. "..อะไรก็ตามผมก็กลัวทั้งนั้น. "พระบัวตอบ " ท่านอาจารย์อย่าหนีกระผมก็แล้วกันคืนนี้ "

ด้วยการขอร้องของพระบัว หลวงปู่สมชาย หลวงปู่มุล และพระบัว ก็พากันข้าม คลองไปเอากลดและอัฎฐะบริขารของหลวงปู่สมชายกลับมาฝั่งนี้ และหลวงปู่สมชายก็ได้กางกลดอยู่ในระหว่างทางผ่านของสัตว์พอดี สำหรับพระบัวและหลวงปู่มุลอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวามือของท่าน

อาคันตุกะผู้มาเยือนในลำดับต่อไปนั้นมีลักษณะแปลกกว่าครั้งแรก นอกจากมีเสียงดัง สวบๆ แล้วยังไม่พอ ยังมีเสียงครางอยู่ในลำคอเพิ่มขึ้นอีก เหมือนจังหวะที่แมวมันหายใจดังอยู่ในลำคอ แต่เสียงที่ได้ยินนี้ดังกว่าเสียงแมวหลายสิบเท่า สำหรับหลวงปู่สมชายนั้นท่านทราบดีว่า ..นี่คือ เสียงเสือแน่นอนโดยไม่ต้องสงสัย และอยู่ไม่ห่างจากกลดของท่านนัก..

ในขณะที่ท่านกำลังภาวนา จ้องฟังเสียงเสือมันหายใจอยู่นั้น ว่าจะมีอะไรเกิดขึ้น หลวงปู่มุลก็ได้ไอออกมาด้วยเสียงอันดัง และยังไม่ทันจะขาดเสียงไอ เสียงใหม่ก็เข้ามาแทนที่คล้ายๆ กับเสียงวัตถุหนักๆ ตกลงถูกกับพื้นดิน ทางฝั่งตรงข้ามกับเสียงหายใจนั้น แผ่นดินแทบสะเทือน

หลวงปู่มุลจึงกราบเรียนถามหลวงปู่สมชายขึ้นมาว่า "..มีอะไรเกิดขึ้นทรือครับท่านอาจารย์ "" ไม่ทราบเหมือน กันครับว่าอะไรกระโดดข้ามกลดผม' หลวงป่สมชายตอบ ทันใดนั้นพระบัวก็พรวดพราดออกมาจากมุ้งกลดพร้อมด้วยไฟฉายในมือ จึงพากันฉายไฟไปดูบริเวณรอบๆ ที่มีเสียงนั้น ปรากฏว่าพบรอยเท้าเกอรอยมหึมาขนาดคีบเขี่องๆ อยู่ข้างกลดของหลวงปู่สมชาย พระบัวเห็นดังนั้นแทบจะไม่ภาวนาเอาเสียเลย

พอรุ่งเช้าได้อรุณวันใหม่ จึงได้พากันลาดตระเวนหารายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง จงทราบแน่นอนว่าเป็นเสือแม่ลูกอ่อนตกคอกอยู่ใกล้ๆ นั่นเอง และได้พาลูกหลบหนีไปแล้ว หลวงปู่สมชายจึงได้พาหลวงปู่มุลและพระบัวย้ายที่พักไปปักกลดอยู่ อีกด้านหนึ่งและได้พักบำเพ็ญต่อมาอีกระยะหนึ่ง จนสมควรแก่เวลาแล้ว จึงได้พากันกลับออกมาจากสถานที่แห่งนั้นและหาสถานที่ภาวนาแห่งใหม่ต่อไป

เรี่องที่เล่ามานี้ก็มีบางท่านเข้าใจผิดอยู่มาก ซึ่งเข้าใจว่าหลวงปู่สมชายกลัวเสือ แล้วได้ทิ้งกลดเผ่นหนีเข้าป่า โดยทิ้งให้หลวงปู่ฝั้นยืนสู้เสืออยู่แต่องค์เดียว ลูกศิษย์วิ่งหนีเอาตัวรอด อันนี้ไม่ใช่ความจริงเลย ข้าพเจ้าขอรับรองร้อยเปอร์เซ็นต์ว่านิสัยอย่างที่ว่านั้น หลวงปู่สมชายทำไม่ได้เด็ดขาด

ความจริงก็เป็นอย่างที่เล่ามาแล้วนั้น ก็อาจจะมีบางครั้งหลวงปู่ฝั้นท่านมองเห็นว่าพระภิกษุ สามเณร มีความตึงเครียดต่อการปฏิบัติและเครียดต่อการงาน หลวงปู่ ฝั้นท่านอาจจะนำเรื่องขำขันมา เล่าเพื่อคลายอารมณ์ก็เป็นได้ก็เลยนำเรี่องในอดีตมาเล่าสู่ฟังว่า สมัยหนึ่งเคยออกบำเพ็ญที่ภูวัวกับหลวงปู่สมชาย บางท่านกลัวเสือถึงขนาดวิ่งเผ่นหนี

บางท่านบางคนฟังไม่เข้าใจความหมายก็เลยพูดต่อปีกต่อหางออกไปว่า หลวงปู่สมชายกลัวเสือถึงขนาดทิ้งกลดวิ่งหนีหลวงปู่ฝั้น ก็เลยเล่าต่อกันไปเรื่อยๆ เล่ามาก เข้า ก็เลยเสริมเติมเอาเองบ้างเป็นลำดับไป ถึงขนาดบางคนว่าเดินไปเจอเสือในระหว่างทาง พอเสือโผล่ออกมาเจอเข้าพอดี หลวงปู่สมชายก็ได้ทิ้งกลดเผ่นหนีทันที

การเขียนแบบยกเมฆโดยส่วนมากมักจะเข้าทำนองนี้ทั้งนั้น ที่ข้าพเจ้าเขียนขึ้นนี้ได้บันทึกจากปากคำของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย โดยตรง สำหรับผู้ที่รู้เห็นเหตุการณ์ด้วยกันกับหลวงป่สมชายก็เพิ่งจะมรณภาพไป คือ หลวงปู่มุล ธมมวีโร สมัยเมื่อหลวงปู่มุลยังมีชีวิตอยู่ ก็ได้มีผู้สงสัยในเรี่องนี้ แล้วมากราบเรียนถามท่าน หลวงปู่ท่านก็ได้เมตตาชี้แจงให้กระจ่างแจ้งไปทุกราย

สำหรับเรี่องชีวประวัติของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ไม่ได้มีเพียงเท่านี้ ยังมีอีกมากมายหลายอย่างซึ่งบางคนยังไม่เข้าใจ หรือเข้าใจไม่ถูกต้องกับความเป็นจริง แต่ก็ถือว่าเป็นเรี่องธรรมดาของมนุษย์ปุถุชน จะให้เข้าใจประวัติความเป็นมาของคนอี่น โดยถูกต้องหมดทุกอย่างนั้นเป็นไปไม่ได้

ฉะนั้นผู้เขียนจึงขอออกความเห็นสักนิดหนึ่งว่า หาก ท่านผู้อ่านต้องการความเป็นธรรมโดยไม่อาศัยอคติเป็นพื้นฐานแล้ว ถ้าสงสัยอะไรเกี่ยวกับชีวประวัติความเป็นมาของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็ควรไปกราบเรียนถามท่านได้ เพราะท่านยังมีชีวิตอยู่ อย่าอมเอาความสงสัยไว้ในใจ บางทีอาจจะเกิดโทษได้ คือเป็นบาปโดยไม่รู้ตัว

ที่พูดนี้ก็เนื่องมาจากมีบางท่านไปถามข้าพเจ้าว่าไหนว่าหลวงปู่สมชาย เคยอยู่กับหลวงปู่ฝั้น แต่ผมอ่านชีวประวัติของหลวงปู่ฝั้นแล้ว ไม่เห็นกล่าวถึงหลวงปู่สมชายเลย ว่าได้จำพรรษากับหลวงปู่ฝั้นในปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ ข้าพเจ้าจึงตอบว่า เรี่องนี้เคยพูดอยู่แล้วว่าการเขียนชีวประวัติของคนอื่น ไม่ว่าใครๆ ทั้งนั้น จะไม่มีใครสามารถเขียนราย ละเอียดถูกต้องหมดทุกแง่ทุกมุมได้

เรื่องชีวประวัติของหลวงปู่ฝั้นก็เหมือนกัน ถึงแม้ว่าไม่ถูกต้องหรือสมบูรณ์หมดทุกอย่างก็ตาม การที่สามารถรวบรวมข้อมูลตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งเกี่ยว กับหลวงปู่นั้นนำมาลงตีพิมพ์เป็นเล่มได้ถึงขนาดนั้น มิใช่ของ ง่ายนักคณะผ้จัดทำจะต้องใช้ความเพียรพยายามเป็นอย่างมากในการเสาะแสวงหาข้อมูล เพราะผ้ที่ทำงานเพี่อส่วนรวมนั้นต้องเป็นผู้เสียสละคือเสียสละเวลาอันมีค่าของตนแล้วยังใม่พอ แถมยังเสียสละทุนทรัพย์เพื่ออำนวยความสะดวกในระหว่างการปฏิบัติงานอีกด้วย

เมื่อนึกถึงเหตุผลหลายๆ อย่างแล้วจึงเห็นว่าควรแก่ การยกย่องสรรเสริญและอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง ข้าพเจ้าจึงพูด ต่อไปว่าเท่าที่ได้ฟังมา หลวงปู่สมชายไม่เฉพาะแต่จะจำพรรษา อย่างเดียวก็หาไม่ ในระหว่างที่อยู่กับหลวงปู่ฝั้นนั้น หลวงปู่ สมชายยังได้ปฏิบัติหน้าที่ของท่านอย่างสมบูรณ์ไม่บกพร่อง ทั้งภายในและภายนอกอีกด้วย

ภายนอกได้แก่ การอุปถัมภ์อุปัฏฐากครูบาอาจารย์ ท่านก็ได้ทำเป็นอาจิณวัตรเว้นเสียแต่อาพาธ นอกจากนั้นก็ยังมี ส่วนร่วมในการก่อสร้างกุฏิของพระภิกษุสามเณร และผู้ปฏิบัติ ธรรม หรีอเมื่อมีกิจการงานอะไรเกิดขึ้นภายในวัด หลวงปู่ สมชายจะต้องมีส่วนร่วมกระทำด้วยแทบทุกอย่าง

นอกเหนือ ไปกว่านั้น การสร้างสระน้ำบนภูพาน ที่วัดถ้ำขาม อำเภอ พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร และการสร้างพระพุทธูรูปที่ ถ้าพระบนภูวัว อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย หลวงปู่ สมชายก็มีส่วนช่วยสร้างเกือบจะทุกแห่ง ที่เล่ามาเป็นเพียงบาง ส่วนที่ท่านได้มีความเกี่ยวข้องกัน เท่าที่ผู้เขียนได้ฟังมาไม่เพียง เท่านี้ยังมีอีกมาก แต่ผู้เขียนไม่สามารถนำมาเล่าสู่ฟังให้หมด ในเวลาอันสั้นนี้ได้

ส่วนด้านภายในของหลวงปู่สมชายนั้น ได้แก่การ ปฏิบัติสมาธิจิต การเดินจงกรม นั่งสมาธิภาวนา ถึงแม้ว่าท่าน จะต้องปฏิบัติงานภายนอกช่วยครูบาอาจารย์ในบางครั้งจน แทบไม่มีเวลาว่างเลยก็ตาม แต่ท่านก็ได้ดำเนินการปฏิบัติสมาธิ จิตของท่านตลอดโดยไม่ท้อถอยหรือบกพร่อง

จึงนับว่าท่านมี ความทรหดอดทนซึ่งหาได้ยากองค์หนึ่ง ที่เล่ามานี้บางท่านที่ ยังไม่ ซึ้งในความเป็นอยู่ของกันและกัน ก็อาจสงสัยหรือคัดค้าน ว่าสรรเสริญเยินยอกันเกินไป เพราะการทำงานก็เป็นเรื่อง ธรรมดา พวกนักก่อสร้างทั้งหลายเขาทำกันทุกวัน แต่ไม่เห็นมี ใครเอามาอวดอ้างกันว่าเก่ง หรือเป็นเลิศในความอดทน

ข้าพเจ้าเซึ่อเหลือเกินว่า ถ้าผู้ที่มีความยุติธรรมอยู่ในใจ เมื่อได้เห็นการปฏิบัติงานของท่านแล้ว ก็ต้องยอมรับว่าท่าน มีความอดทนจริงๆ แม้แต่ในปัจจุบันนี้อายุของท่านจะล่วงเลยถึง ๗๒ ปีแล้วก็ตาม แต่การปฏิบัติศาสนกิจของท่านมีอยู่เป็น ประจำทุกวันมิได้ขาด แทบจะไม่มีเวลาว่างเว้นเลยแม้แต่วันเดียว

เมี่อข้าพเจ้าได้เห็นการปฏิบัติงานของท่านแล้วก็น่าเห็นใจและน่าเหน็ดเหนี่ อยแทนท่าน สมกับที่ท่านได้ตั้งอุดมการณ์เอาไว้ว่า อยู่ต้องมีประโยชน์ ถ้าไม่มีประโยชน์ไม่ต้องอยู่ คือหมายความว่าถ้าท่านอยู่ ณ สถานที่ใดแล้ว ต้องทำประโยชน์ ให้กับสถานที่แห่งนั้นได้ ถ้าทำประโยชน์ไม่ได้ก็ไม่ต้องอยู่ ณ สถานที่นั้น

ทุกวันนี้ท่านจึงยอมเสียสละทุกสิ่งทุกอย่าง เพื่อจรรโลงพระพุทธศาสนา เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ฉะนั้นถ้าจะคัดค้าน ต้องพิจารณาให้รอบคอบโดยมุ่งประโยชน์ส่วนรวม และต้อง ถูกต้องตามหลักของผู้ทรงคุณธรรม เพราะการพิจารณาให้เป็น ธรรมะจะต้องศึกษาให้เข้าใจในเหตุผลของกันและกันโตยถ่องแท้เสียก่อนจึงจะไม่ เสียภูมิของนักปราชญ์

ความจริงแล้ว พวกนักก่อสร้างซึ่งเป็นฆราวาสนั้น ก็เป็นของธรรมดา ตามความรู้สึกของคนทั่วไปก็เห็นว่าการก่อสร้างไม่ใช่ของแปลก มันเป็นอาชีพของเขา และพวกเขาเหล่านั้นก็มีฤทธิ์ที่จะนำอาหารมาชดเชยกับพลังงานที่หมดไปได้ตลอดเวลา คือ หิวขึ้นมาเมื่อไร ก็รับประทานได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง

สำหรับพระกรรมฐานนั้น ท่านฉันจังหันเพียงวันละมื้อเดียวเท่านั้น แต่ต้องทำงานตลอดวัน หิวขึ้นมาเมื่อไรก็ต้องฉันน้ำเข้าไปแทน รอจนกว่าจะถึงวันใหม่ จึงมีโอกาสแก้มือกับความหิวได้ อันนี้แหละเป็นสิ่งที่น่าคิด หรือใครยังไม่สิ้นสงสัยก็ทดลองดูได้ คือทดลองรับประทานอาหารมื้อเดียวอย่างพระกรรมฐานและต้องทำงานตลอดวัน มันจะเป็นอย่างไรเราก็จะซึ้งใจเอง ฉะนั้นการคัดค้านก่อนพิสูจน์ความจริง จึงผิดหลัก ของปัญญาชนเป็นอย่างยิ่ง

พอเขียนมาถึงตอนนี้ ก็เลยนึกถึงเรื่องในอดีต คือ เคยมีบางคนถามปัญหาผู้เขียนว่ารู้ได้อย่างไร จึงว่าหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย มีความประพฤติดีปฏิบัติชอบ ข้าพเจ้าจึงตอบออกไปทันทีว่า ก็รู้ได้เพราะเราเข้าใจ คือหมายความว่าเราจะรู้ได้ว่าใครเป็นคนดี เราก็ต้องรู้เรื่องของคนดีเสียก่อน ว่าคนดีมีลักษณะอย่างไร อุปมาข้อนี้เหมือนกับการดูพลอย

เพราะตาม ธรรมดาพลอยนั้นมีหลายประเภท และมีหลายราคา ราคามากน้อยต่างกัน หากเราจะถามพ่อค้าพลอยทั้งหลายว่า รู้ได้ อย่างไรว่าหินประเภทไหนเป็นพลอยอะไร เขาจะตอบเราว่าเพราะศึกษาให้เข้าใจ ถ้าเราศึกษาให้เข้าใจก็จะสิ้นสงสัยเองเรื่องของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย ก็อยู่ในลักษณะนั้นเช่นกัน

พูดถึงชีวประวัติของหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย แล้วนับ ว่าเป็นประวัติที่ทรงคุณค่าประโยชน์แก่การศึกษาเป็นอย่างมาก นอกจากจะเป็นเนติแบบฉบับอันดีงามแก่อนุชนรุ่นหลังแล้ว ยัง เป็นคติเตือนใจแก่ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้เป็นอย่างดี ข้าพเจ้า ต้องขออภัยท่านผู้อ่านด้วยที่ไม่สามารถรวบรวมหลักูฐานต่างๆ ได้โดยละเอียด นำมาลงตีพิมพ์เพื่อสนองเจตนาของท่านผู้อ่านให้ทันกับเวลาอันสั้นนี้ได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามการรวบรวมข้อมูลต่างๆ มาโดยสังเขปนี้ เข้าใจว่าจักเป็นแนวทางก้าวไปสู่ ความสาเร็จที่สมบูรณ์แห่งชีวประวัติในอนาคตต่อไป

ความจริงแล้ว การเขียนชีวประวัติของพระกรรมฐานนั้น ค่อนข้างจะลำบากมากเพราะในระหว่างที่ท่านกำลังฝึกฝนอบรมจิตใจใหม่ๆ เพื่อไต่เต้าเข้าโปสู่อันดับที่แน่นอน จนเห็นว่ามีความมั่นคงในพระศาสนา หรือสามารถปกครองจิตใจของตัวเองได้แล้ว ในระหว่างที่ท่านกำลังปีนป่านอันดับนี้แหละ ท่านไม่ชอบอยู่ประจำที่

เมื่ออยู่ ณ ที่ใดเห็นว่าจิตใจเฉื่อยชาจิตไม่สงบ เกียจคร้าน ไม่ขยันต่อการบำเพ็ญภาวนา ท่านก็หา วิธีเปลี่ยนสถานที่อยู่ เพี่อเปลี่ยนบรรยากาศ พอได้สถานที่ที่เหมาะแก่การฝึกจิต ก็เป็นเหตุทำให้เกิดความขยันต่อการทำสมาธิขึ้นมาทันที เพราะว่าสถานที่ก็เป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งมีความ สาคัญต่อการฝึกจิตดังได้กล่าวมาแล้วนั้น

หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย สมัยเมี่อท่านได้บำเพ็ญอยู่ที่ภูวัว ท่านก็มักจะเปลี่ยนสถานที่บำเพ็ญอยู่บ่อยๆ เนื่องจากภูวัว มีสถานที่น่าบำเพ็ญอยู่หลายแห่ง แต่พอใกล้จะถึงฤดูกาลพรรษาท่านก็มักจะลงจากภูวัวเข้าไปอยู่ในสำนักของครูบาอาจารย์ ท่านได้ถือปฏิบัติอยู่อย่างนี้เป็นประจำตลอดม